7 เมกะเทรนด์ที่ธุรกิจควรจับตา ‘เมื่ออนาคตกำลังไล่ล่าคุณ’

SME in Focus
14/01/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 24224 คน
7 เมกะเทรนด์ที่ธุรกิจควรจับตา ‘เมื่ออนาคตกำลังไล่ล่าคุณ’
banner

Mega Trend นับเป็นคำยอดฮิตที่ถูกกล่าวถึงเสมอ

ในการวิเคราะห์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจากความหมายที่แท้จริงคือมาจะคำว่า Trendsซึ่งก็คือการคาดการณ์ถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยวิเคราะห์จากสภาพสังคมโลกและพฤติกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น วิถีชีวิตคนในสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบในทุกด้านต่อโลก ไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในด้านที่ดีหรือตรงกันข้าม สิ่งนี้เรียกว่า Mega Trend’ เช่น ภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดเมกะเทรนด์ เรื่องความยั่งยืนในการประกอบธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลก (Sustainability) และวิกฤต Climate Change หรือจำนวนประชากรที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดเมกะเทรนด์ด้านอาหารที่ยั่งยืน (Future Food) เมกะเทรนด์ด้านการขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization)

ดังนั้นพอจะสรุปได้ว่า Trends คือความเปลี่ยนแปลงในช่วงขณะหนึ่ง และเป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่ Mega Trends หรือผลกระทบอันเป็นวงกว้างที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันหรือในอนาคต ด้วยเหตุนี้สำหรับธุรกิจจึงต้องรู้ทัน Trends ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและยังต้องมีแผนรับมือ Mega Trend ในอนาคตด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะยิ่งใกล้ตัวมากขึ้นทุกขณะ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของสังคม สภาพเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้เราจึงได้มีการรวบรวม 7 Mega Trend ที่จะมีผลต่อชีวิตและการดำเนินธุรกิจในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน


Mega Trend ที่ธุรกิจควรจับตา

1. Growing Sustainability การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ผลกำไรไม่ได้แสดงถึงความสำเร็จของทุกองค์กรอีกต่อไป จากความตื่นตัวในปัญหาด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานผิดกฎหมาย สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัย และชีวอนามัย หรือสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องคำนึงถึงแนวทางการจัดการอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นเรื่อง CSR, Carbon Footprint, Green Supply Chain, Circular Economy, Bio technology ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือในทุกระดับภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

Sustainability หรือความยั่งยืน เป็นเทรนด์ของโลกมานานพอดูแล้ว ด้วยความเสื่อมโทรมลงอย่างมากของสิ่งแวดล้อม และความจำเป็นของธุรกิจกับวิถีชีวิตที่ต้องวิวัฒน์ไป ทั้งจะยิ่งมีความเข้มข้นมากขึ้นทุกขณะ และเรียกได้เป็น Mega Trends ที่ทุกธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ อันเนื่องจากทุกมิติของโลกยุคใหม่จะต้องมีการเชื่อมโยงเรื่องความยั่งยืนเข้าไปด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งมิติด้านความยั่งยืนนี้เป็นเทรนด์ที่สามารถเกี่ยวโยงได้ในอีกหลากหลายเทรนด์ เช่น อาหารยั่งยืน, New business Model, Technology & Innovation เป็นต้น

ขณะเดียวกันในด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม (Ethical Business Operation) สาเหตุหรือแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดแนวโน้มนี้ มาจากสังคมต้องการความมั่นใจว่าสินค้าและบริการที่จะซื้อหานั้น มีความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค (Social Trust) ไม่ผ่านเอารัดเอาเปรียบ (Fairness) ทุกรูปแบบ มาจากการดำเนินธุรกิจที่มีจริยธรรม (Good Governance) และตรวจสอบได้ หากแนวโน้มนี้เป็นการเรียกร้องจากผู้บริโภคโดยตรง จะยิ่งเป็นปฏิกิริยาเร่งให้ผู้ประกอบการมีการแสดงออก และเรียกร้องถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมที่เข้มแข็งมากขึ้น

2. Technology Advancement การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของทุกคน รวมทั้งการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กร จากกระแส Digitization ดังนั้นการนำเทคโนโลยีอันชาญฉลาดเข้ามาใช้ เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น Artificial Intelligence, RFID, Cloud Computing, 3D Printing, การทำให้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) รวมทั้งความสามารถของ Quantum Computing ที่ประมวลผลเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ในปัจจุบัน 100 ล้านเท่า ที่อาจจะได้เห็นในอีกไม่กี่ปีนี้

ยังมีประเด็นเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security, Big Data Blockchain, การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนาย (Predictive Data Analytics), โซลูชันที่ไร้สัมผัสและไร้แรงเสียดทาน (Touchless & Frictionless Solutions) และเทคโนโลยี 5G การจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นยุคที่มนุษยชาติกำลังก้าวเข้าสู่การเพิ่มขึ้นของวิวัฒนาการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อน

นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ เช่น Sharing Economy โดยการแบ่งปันทรัพยากรผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนบทบาทจากผู้บริโภคมาเป็นผู้ส่งมอบ การใช้ Social Media ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคไร้ขีดจำกัด และรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรขยายออกไปได้อย่างกว้างขวางและไร้พรมแดน ทำให้มองว่าเศรษฐกิจในอีก 10 ปีข้างหน้า จะถูกขับเคลื่อนจากแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างสมบูรณ์

3. Urbanization ความเป็นเมือง สังคมเมืองคือลูกค้า เมืองใหญ่ในประเทศต่างๆ ที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จะขับเคลื่อนความก้าวหน้าในอนาคต โดย KPMG International Cooperation คาดการณ์จำนวนการเติบโตของผู้มีรายได้ระดับปานกลางในแต่ละทวีปในปี 2030 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการเติบโตของจำนวนผู้มีรายได้ปานกลางในเอเชียมีโอกาสเติบโตขึ้นสูง โดยจากจำนวน 525 ล้านคนในปี 2009 สามารถทะยานขึ้นสูงถึง 3,228 ล้านคนในปี 2030 ลำดับถัดมาคือทวีปแอฟริกาจาก 181 ล้านคนในปี 2009 เพิ่มเป็น 313 ล้านคนในปี 2030 ซึ่งอาจไม่สูงเท่าจำนวนผู้มีรายได้ปานกลางในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป

แนวคิดสังคมเมืองเป็นลูกค้านี้ ทําให้มุมมองของโมเดลธุรกิจต่างไปจากเดิม เช่น จาก B2B, B2C จะกลายเป็นแบบใหม่เป็น B2U (Business to Urban) โดยสร้างความเจริญให้กับเมืองเพื่อดึงดูดคนเข้ามาอาศัย มีการประเมินว่าโลกจะมาจากชุมชนเมือง การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยสูงถึง 50%ของการบริโภคทั้งหมด ประชากรผิวสีจากแอฟริกาจะมีบทบาทในเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ประชากรอาศัยอยู่ในเมืองเพิ่มขึ้นเป็น 66% เมื่อโครงสร้างประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง ก็จะมีธุรกิจมากมายเพื่อรองรับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริการ สุขภาพ อาหารที่สะอาด ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของ Urbanization

การขยายตัวของเมืองและสัดส่วนประชากรที่ย้ายมาอาศัยแถบชานเมืองเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้โครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะขยายตัวตาม เพื่อรองรับการดำเนินชีวิต ไม่เว้นแม้แต่สถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ และที่พักอาศัย จนส่งผลต่อการลงทุนสร้างระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นกว่า 50% เพื่อเชื่อมชานเมืองโดยรอบให้เข้าถึงใจกลางของเมืองอย่างง่ายดายและไร้ข้อจำกัด แนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูเมืองถูกนำกลับมาพูดใหม่อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เช่น แนวคิดเมืองอัดแน่น (Compact City) แนวคิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และแนวคิดการสร้างความสมดุลระหว่างแหล่งงานและที่อยู่อาศัย (Job and Housing Balance)

4. Industry 5.0 คนทำงานร่วมกับ AI ภายใต้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) เกิดเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างนาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี Internet of Things  และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตลอดจนเทคโนโลยีเกิดใหม่อีกมากมาย จะกำหนดพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเรา จากการสร้างเครื่องจักรเพื่อผ่อนแรงทุ่นแรง ผลิตให้มากที่สุด เราจะเข้าสู่ยุคที่เครื่องจักรและหุ่นยนต์สื่อสารกันเอง และสร้างระบบการผลิตที่ไม่ต้องพึ่งแรงงานมนุษย์ เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติจะผลิตสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มในคราวเดียวหรือ Mass Customization ในแบบที่ Mass Production ทำไม่ได้ เครื่องจักรจะสร้างเครื่องจักรด้วยกันเอง และเป็นไปได้ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีจำนวนหุ่นยนต์มากกว่าคนเสียอีก หรือแรงงานคนยุคต่อไปคือการทำงานร่วมกับ AI นั่นเอง

ทุกกิจกรรมและความเคลื่อนไหวบนโลกออฟไลน์จะถูกแปรเป็นข้อมูลดิจิทัล ภาพเสมือนจริงจากเทคโนโลยี Virtual Reality จะทับซ้อนกับความเป็นจริงจนแทบแยกกันไม่ออก คนที่จัดการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้าได้เหนือชั้นกว่า จะเป็นฝ่ายได้เปรียบในสมรภูมิทางการค้า ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติจะทำให้การขนส่งเดินทางและระบบโลจิสติกส์เป็นไปอย่างสะดวกราบรื่น

5. Health and wellness ข้อมูลในปี 2562 โลกมีประชากรสูงอายุมากกว่า 900 ล้านคน (จากข้อมูลในปี 2562) ขณะที่ Aging Society หรือสังคมสูงอายุก็เป็นอีกเทรนด์ที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญ ที่สำคัญมีการประเมินว่าจำนวนประชากรในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจมีจำนวนถึง 8.5 พันล้านคนในปี 2030 และผู้คนจะมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น อันเป็นผลจากการให้ความสำคัญด้านสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีการให้ความสําคัญกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่ลึกซึ้งมากขึ้น โดยคํานึงถึงมุมมอง 3 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ สุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี จะต้องมีครบทั้ง 3 ด้านนี้แนวโน้มนี้จะทําให้เกิดการพัฒนาด้านวิทยาการทางการแพทย์และสุขภาพต่างๆ ใน อนาคต เช่น Nutraceutical, E-Health/M-Health, Health Kiosks, Cybernetics, Healthcare Tourism, Wonder Drugs, Non-Invasive Surgery, Gene Therapy, Robo-doctors ฯลฯ

ขณะที่ภัยคุกคามจากการอุบัติใหม่ของโรค ก็เป็นอีกเทรนด์โลกที่คาดว่าจะเกี่ยวพันกับเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคน ทำให้เทรนด์นี้จะมีการแตกแขนงในได้ในหลายมิติ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพรวมที่ขยายวงกว้างมาก

6. Social trend & future society แนวโน้มกลุ่มสังคมซึ่งในอนาคตนั้น คนในสังคมจะถูกแบ่งกลุ่มและจัดประเภทออกเป็นส่วนๆ ที่มีชื่อเรียกแปลกๆ มากมาย ตามลักษณะของกลุ่มทางประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ วัฒนธรรม การใช้เทคโนโลยี และสังคม ถูกขับเคลื่อนจากคอนเทนต์เพิ่มขึ้น การติดต่อสื่อสารและการรวมกลุ่มของคนมีความเฉพาะมากขึ้น และเกิดการแชร์ข้อมูลระหว่างกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตามมีการประเมินว่าคนรุ่นใหม่ในอนาคต จะมีความเป็น ‘ปัจเจกบุคคลแม้แต่ทุกวันในที่ทำงานบนท้องถนนและบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของชีวิตสมัยใหม่ที่ทำให้ตนเองแตกต่างจากผู้อื่น ผู้คนและองค์กรต่างคาดหวังในผลิตภัณฑ์บริการและโซลูชันที่เหมาะ และด้วยวิธีนี้ความเป็นปัจเจกนิยมทำให้การสร้างแบรนด์เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของการขายและการตลาดสมัยใหม่

สังเกตจากพฤติกรรมของ Gen Z ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะเป็นผู้บริโภคกลุ่มหลักในอนาคต ที่นิยมการแบ่งปันการใช้ทรัพยากร (Sharing economy) การใช้รถ เช่น UBER, ที่พักอาศัย เช่น airbnb แม้กระทั่ง Fitness center ก็มีการแบ่งกันใช้ ทําให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าบางอย่างเป็นของตัวเองน้อยลง ธุรกิจบางประเภทมีความจำเป็นในการลงทุนน้อยลง และคนรุ่นใหม่ยังให้ความสําคัญกับสุขภาพมากขึ้น ใส่ใจรูปร่างและให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย ด้วยเหตุนี้การศึกษาและทำความเข้าใจ Gen Z คือการทำความเข้าใจลูกค้าในอนาคต

7. การเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานโลก (Micro Supply Chain) สาเหตุหรือแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดแนวโน้มนี้ มาจากความก้าวหน้าของเครือข่ายดิจิทัล (Digital Network) ที่ทำให้การสื่อสารและการขนส่งทั่วโลกไร้รอยต่อ (Borderless Logistics) รวมถึงความพยายามในการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด (Resource Utilization) ทำให้เกิดรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่สามารถจัดหาสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือปริมาณเท่าใดบนโลกใบนี้ได้โดยง่าย การผลิตในอนาคตจะสามารถปรับเปลี่ยนสายการผลิตได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการของลูกค้า และสามารถผลิต small lot หาวัตถุดิบได้จากซัพพลายเออร์ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่จะมาขัดขวางการเกิดรูปแบบการดำเนินธุรกิจนี้ คือการที่ระบบขนส่งเติบโตไม่ทันกับความก้าวหน้าของเครือข่ายดิจิทัล

แรงขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดแนวโน้มนี้มาจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ (Economic Uncertainty) ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุน (Cost Efficiency) การผลิตหน่วยเล็กๆ (Small Lot) ทำให้ธุรกิจมีการปรับการจ้างงานตามคำสั่งการผลิต หรือเรียกใช้แรงงานตามความต้องการในแต่ละช่วงเวลา ทำให้ระบบการจ้างงานมีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ หรือสามารถรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่คาดคิด

จาก 7 Mega trend ที่ทางเราสรุปให้เหล่านี้จะเห็นว่า ทั้งหมดมีการเชื่อมโยงกันในแง่มุมต่างๆ เช่นมิติด้านความยั่งยืน อาจยังเกี่ยวโยงด้านเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่เรื่องซัพพลายเชน ด้วยเหตุนี้ Mega Trends จึงเป็นเพียงการประเมินในภาพกว้าง และสิ่งที่จะเกิดขึ้นและมีผลต่อเศรษฐกิจ การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและอุตสาหกรรม การเตรียมพร้อมกับแนวโน้มดังกล่าวเป็นการตั้งรับ ซึ่งก็ต้องดำเนินการเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลง

ขณะเดียวกันก็ยังมีปัจจัยด้านความไม่แน่นอน ความผันผวน และความซับซ้อนคลุมเครือ หรือที่คนในวงการธุรกิจรู้จักคำศัพท์นี้ดี คือ VUCA World ซึ่งเหตุการณ์การระบาดของ COVID-19 ก็เป็นตัวชี้ชัดที่ดีว่า โลกในอนาคตอาจต้องเผชิญโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือโรคที่เคยเกิดขึ้นแล้วกลับมาระบาดซ้ำอีก หรือจะเป็นเรื่อง Climate Change ที่คาดว่าจะเป็นผลกระทบอย่างใหญ่หลวงของประชาคมโลก

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าทั้ง Trends และ Mega Trend จึงเป็นการตั้งสมมติฐานวิเคราะห์อนาคต จากการสังเกต จดจำ ประมวลผลจากข้อมูล เพื่อกำหนดเหตุการณ์ในอนาคต แต่คงไม่สามารถการันตีได้ว่า ช่วงเวลาก่อนสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นจะมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาส่งผลให้เกิดเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปสู่จุดใด ดังนั้นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งของธุรกิจ เตรียมแผนตั้งรับอย่างเหมาะสมและกระชับ ปรับเปลี่ยนได้ จะเป็นแนวทางที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในขณะนี่   

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.spu.ac.th/

https://www.iok2u.com/

https://web.tcdc.or.th/






Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
133 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
685 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
543 | 10/04/2024
7 เมกะเทรนด์ที่ธุรกิจควรจับตา ‘เมื่ออนาคตกำลังไล่ล่าคุณ’