วิกฤตห่วงโซ่อุปทานคืออะไร? 5 เหตุผลที่ SME ต้องเร่งทำ Digital Transfomation ที่นี่มีคำตอบ

Mega Trends & Business Transformation
14/05/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 6772 คน
วิกฤตห่วงโซ่อุปทานคืออะไร? 5 เหตุผลที่ SME ต้องเร่งทำ Digital Transfomation ที่นี่มีคำตอบ
banner

“ห่วงโซ่อุปทาน” หรือ Supply Chain คือ กระบวนการทั้งหมดในการผลิตสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ ตลอดจนการจัดส่งถึงมือลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้บริโภค


ที่ผ่านมา หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “วิกฤตซัพพลายเชน” เกิดขึ้นในช่วงที่หลายประเทศออกมาตรการเว้นระยะห่าง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้โรงงานหลายแห่งถูกปิด หรือดำเนินการได้เพียงบางส่วน มีผลให้การผลิตสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในช่วงวิกฤต โดยเฉพาะสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ จนกลายเป็นปัญหาที่เรียกว่า Global Supply chain Disruption




ปัญหาวิกฤตห่วงโซ่อุปทานเกิดจากอะไร?


สาเหตุสำคัญของปัญหาวิกฤตห่วงโซ่อุปทานนั้น เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลต้องออกมาตรการคุมการแพร่ระบาดของโควิด จึงต้องออกมาตรการป้องกัน ซึ่งระดับความรุนแรงของปัญหานี้ มีความชัดเจนมาตั้งแต่ปลายปี 2020 กระทั่งการระบาดเริ่มคลี่คลายในช่วงแรก แต่ทว่า ทั่วโลกก็ต้องมาเผชิญกับปัญหาวิกฤต “ด้านการขนส่งระหว่างประเทศ” ที่รุนแรงมากขึ้น จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ไปตกค้างในท่าเรือตั้งแต่เกิดโควิด เมื่อการหมุนเวียนตู้คอนเทนเนอร์ไม่ทันตามความต้องการ ทำให้ต้นทุน ค่าขนส่งสินค้าที่ต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์พุ่งสูงขึ้น



และแม้ว่าหลังจากภาวะโควิดคลี่คลายลงแล้ว แต่ยังมีความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานที่ยังทวีความรุนแรง ทั้งการขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม จากภาวะการลาออกครั้งใหญ่ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ทั่วโลกต้องปรับใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีราคาสูงขึ้น และส่งผลต่อต้นทุนการขนส่ง ตลอดจนปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่ทำให้เกิดแบ่งขั้วแบ่งข้างทางการเมืองระหว่างประเทศ และนำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต ต้นทุนด้านพลังงาน และการเคลื่อนย้ายฐานการผลิตระดับโลก


และอย่างกรณีล่าสุดความขัดแย้งในทะเลแดง ก็นับเป็นความท้าทายที่ส่งผลต่อค่าระวางเรือเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ เพราะทำให้ต้นทุนการขนส่งจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 203.92% ในอัตราค่าระวาง 20 ฟุตตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 (944 ดอลลาร์) ถึงมกราคม 2567 (2,870 ดอลลาร์)



การขนส่งจากอินเดียไปยังสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้น 32.40% ในอัตราค่าขนส่ง 40 ฟุตตั้งแต่เดือนกันยายน 2023 (3,629 ดอลลาร์) ถึงมกราคม 2024 (4,805 ดอลลาร์)


การขนส่งจากสิงคโปร์ไปยังสหรัฐอเมริกา อัตราค่าขนส่งความสูง 20 ฟุตพุ่งสูงขึ้น 331.28% ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 (1,310 ดอลลาร์) ถึงมกราคม 2567 (5,650 ดอลลาร์)


นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ ยังประสบกับระดับความแออัดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งนำไปสู่ความล่าช้าในการขนถ่ายสินค้าและการเคลื่อนย้ายเรือ ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงมกราคม 2567 ท่าเรือแอนต์เวิร์ป ฮัมบูร์ก รอตเตอร์ดัม และอัลเจซิราส มีประสบปัญหาต้องใช้ระยะเวลารอคอยมากกว่าสองเท่า เช่น ท่าเรือฮัมบูร์ก จากโดยเฉลี่ย 2 วันในการรอในเดือนธันวาคม มาเป็นเกือบ 6 วันในเดือนมกราคม, รอตเตอร์ดัม จากน้อยกว่า 1.5 วันโดยเฉลี่ยเป็นเกือบ 3 วันในเดือนมกราคม เป็นต้น




การโจมตีของกลุ่มฮูตีที่กำลังดำเนินอยู่ได้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของคลองสุเอซในการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่การเคลื่อนไหวไปทางตะวันออกไปจนถึงทางตะวันตก ในความเป็นจริง การโจมตีของฮูตีเมื่อเร็ว ๆ นี้ขัดขวางการค้าโลกถึง 12% ส่งผลให้เรือ 129 ลำที่บรรทุกสินค้ามูลค่า 16.7 พันล้านดอลลาร์ติดปัญหาอยู่


ซึ่งผู้ประกอบการทั่วโลก ที่จะเป็นผู้นำด้านห่วงโซ่อุปทาน จะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับทั้งภูมิทัศน์ทางธุรกิจและการเมืองรอบช่องทางการค้าหลัก เช่น คลองสุเอซ เพื่อให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างแท้จริง และควรเตรียมพร้อมวางแผน ตลอดจนทรานสฟอร์มธุรกิจเพื่อให้พร้อมกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว




เหตุผลว่า ทำไม SME ต้องเร่ง Transformation


การทรานสฟอร์ม ห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain นับว่ามีความสำคัญต่อองค์กรภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SME ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง ที่มีจำนวนมากกว่า 2 ล้านราย เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยสรุปเหตุผลสำคัญที่ SME ต้องเร่ง Transformation ห่วงโซ่อุปทาน คือ 5 เหตุผลหลัก ดังนี้



1. ลดค่าใช้จ่าย

การ Transform ห่วงโซ่อุปทาน ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการผลิต การขนส่ง การจัดเก็บสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มกำไร หรือเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ


2. คุณภาพและความเชื่อถือ

ในธุรกิจเอสเอ็มอี นั้น ห่วงโซ่อุปทาน นับได้ว่าเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด ที่จะช่วยให้สามารถควบคุมและรักษาคุณภาพของสินค้าหรือบริการ ให้มีมาตรฐานสูง ส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจและเชื่อถือในสินค้าหรือบริการของธุรกิจมากขึ้นตามไปด้วย



3. ความเร็วในการตอบสนองต่อตลาด

สำหรับ SME ที่สามารถพัฒนาระบบ ห่วงโซ่อุปทาน ที่เชื่อถือได้ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงและสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันและเข้าถึงลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น


4. ความเสถียรและความยืดหยุ่น

การ ที่มีความยืดหยุ่นช่วยให้สามารถจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้ง่ายขึ้น และลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจอีกด้วย




5. การบรรลุเป้าหมายระยะยาว

ช่วยให้สามารถวางแผนและดำเนินงานในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและปรับปรุงแนวทางการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้ ทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมไปถึงเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรมากยิ่งขึ้นอีกด้วย


การจัดการห่วงโซ่อุปทาน

แนวทางในการ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Management (SCM) จะหมายความรวมถึงกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อให้การทำธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับสินค้า และเพิ่มความได้เปรียบการแข่งขันในตลาด โดยกระบวนการนี้จะเริ่มตั้งแต่ก่อนผลิตสินค้าจนกระทั่งนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยเสริมการ Transforms ทุกกระบวนการ ดังนี้


• กระบวนการจัดซื้อ (Procurement)

• กระบวนการผลิต (Manufacturing)

• กระบวนการจัดเก็บ (Storage)

• เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

• การจัดจำหน่าย (Distribution)

• การขนส่ง (Transportation) ให้ถึงมือผู้บริโภค

โดยองค์ประกอบของ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ประกอบด้วย 3 กลุ่มใหญ่ ๆ นั่นก็คือ


Upstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของผู้ผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบเพื่อส่งต่อไปยังผู้ผลิต โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก คือ ซัพพลายเออร์ (Supplier) ในการจัดซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน




Internal Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานภายในของกระบวนการผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนปัจจัยการผลิต (Input) ให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการ (Output) โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก คือผู้ผลิต (Manufacturer)


Downstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดส่งหรือขนส่งสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคที่เป็นปลายทางสุดท้าย


5 กระบวนการ SUPPLY CHAIN MANAGEMENT

การ Transforms เพื่อจัดการห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ใน 5 กระบวนการต่อไปนี้


1. การวางแผน (Planning)

กระบวนการวางแผนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด มักจะเริ่มต้นด้วยการวางแผนเพื่อให้ตรงกับอุปทานของลูกค้าและความต้องการในการผลิต บริษัทต้องคาดการณ์ความต้องการในอนาคตของลูกค้า (Forecast) และดำเนินการตามนั้น


2. การจัดหา (Sourcing)

กระบวนการจัดหาที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ เป็นอย่างมาก การจัดหาเกี่ยวข้องกับการทำงานร่วมกับผู้ขายเพื่อจัดหาวัตถุดิบที่จำเป็นตลอดกระบวนการผลิต บริษัทอาจสามารถวางแผนและทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์เพื่อจัดหาสินค้าล่วงหน้าได้

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมต่าง ๆ จะมีข้อกำหนดในการจัดหาที่แตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญคือ การสร้างความมั่นใจว่า วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตตรงตามข้อกำหนดในการผลิตสินค้า และราคาที่จ่ายสำหรับสินค้านั้นเป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้



3. การผลิต (Manufacturing)

เป็นสิ่งสำคัญในทุกธุรกิจ กระบวนการผลิตนั้นซับซ้อนมากสำหรับทุกบริษัท เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่เชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน หากบริษัทไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการผลิตให้เสร็จสิ้นได้ตามกำหนด จะเพิ่มต้นทุนการผลิตและเสียเวลาในการทำงานของหน่วยงานอื่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการทรานสฟอร์มนำระบบอัตโนมัติมาใช้

4. การจัดส่ง (Delivering and logistics)

การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับธุรกิจ เรื่องของภาพลักษณ์ของแบรนด์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และมีผลต่อความคาดหวังของลูกค้าได้ โดยผู้ประกอบการเองมีกระบวนการจัดการที่โปร่งใสและน่าเชื่อถือได้ สามารถตรวจสอบการส่งมอบสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย



ซึ่งการ Transforms จะเป็นส่วนที่สำคัญที่ช่วยในการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการขนส่งของระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) ได้ เช่น การใช้ซอฟต์แวร์ด้านการบริหารจัดการซัพพลายเชน ในการวางกลยุทธ์และวิธีการจัดส่งสินค้า การหาเส้นทางที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการ เป็นต้น


5. ระบบคืนสินค้า (Returning)

กระบวนการจัดการซัพพลายเชนจะสิ้นสุดลงได้ ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบสินค้าหรือการคืนสินค้าที่ไม่ได้ตามข้อตกลง หรือเกิดความเสียหาย กระบวนการส่งคืน (Returning) นี้ มักเรียกว่าการขนส่งแบบย้อนกลับ และบริษัทต้องมั่นใจว่ามีความสามารถในการรับสินค้าที่ส่งคืนและกำหนดเงินคืนสำหรับการส่งคืนที่ได้รับอย่างถูกต้อง ไม่ว่าบริษัทจะดำเนินการเรียกคืนผลิตภัณฑ์หรือลูกค้าไม่พอใจกับผลิตภัณฑ์ ธุรกรรมกับลูกค้าจะต้องได้รับการแก้ไข ซึ่งเรื่องนี้มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม และหากสามารถ Transforms ให้มีประสิทธิภาพ จะมีผลช่วยให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้



การ Transforms เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตห่วงโซ่อุปทาน สามารถทำได้หลายแนวทาง โดยเฉพาะการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งผู้ประกอบการจำต้องศึกษาและเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างโอกาสในการทำกำไรให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เปิด 7 นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยส่งธุรกิจ SME ไทย ให้พร้อมพัฒนาสู่เวทีโลก

เปิด 7 นวัตกรรมใหม่ ตัวช่วยส่งธุรกิจ SME ไทย ให้พร้อมพัฒนาสู่เวทีโลก

ค้นพบ 7 นวัตกรรมใหม่ที่กำลังปฏิวัติโลกธุรกิจ พร้อมวิธีประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน เหมาะสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงContent…
pin
9 | 16/03/2025
5 เทคโนโลยี AgriTech ที่เข้ามา Transforms วงการเกษตรไทยสู่ยุคดิจิทัล

5 เทคโนโลยี AgriTech ที่เข้ามา Transforms วงการเกษตรไทยสู่ยุคดิจิทัล

เทคโนโลยีกำลังปฏิวัติทุกอุตสาหกรรม ส่งผลให้ "ภาคเกษตร" ไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำไร่ทำนาแบบดั้งเดิมอีกต่อไป การเกษตรสมัยใหม่กำลังก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ…
pin
51 | 23/12/2024
แนะไอเดีย 8 โมเดลธุรกิจน่าสนใจ โอกาส SME นำไปต่อยอดจากเทรนด์นวัตกรรม รถยนต์ไฟฟ้า (EV)

แนะไอเดีย 8 โมเดลธุรกิจน่าสนใจ โอกาส SME นำไปต่อยอดจากเทรนด์นวัตกรรม รถยนต์ไฟฟ้า (EV)

ในช่วงปีที่ผ่านมา การเข้ามาของนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เปรียบเสมือนการปฏิวัติวงการขนส่ง ทั้งในเรื่องของรถยนต์นั่ง รถโดยสาร รถขนส่งมวลชน…
pin
53 | 22/12/2024
วิกฤตห่วงโซ่อุปทานคืออะไร? 5 เหตุผลที่ SME ต้องเร่งทำ Digital Transfomation ที่นี่มีคำตอบ