ส่องเทรนด์นวัตกรรมใหม่สุดล้ำ หนุนไทยก้าวสู่ฮับผู้สูงวัยระดับโลก
สังคมผู้สูงวัย (Aging society) นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่ง Mega Trend โลก โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าในปี 2573 จะมีประชากรสูงอายุมากถึงประมาณ 1.4 พันล้านคน และจะเพิ่มเป็น 2 พันล้านคนในปี 2593 นอกจากนี้ องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ปี 2562 – 2593 ทวีปเอเชียจะมีประชากรสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากที่สุดในโลก

ประเทศไทยมีจำนวนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยถือว่าได้ก้าวเข้าสู่สังคม "สูงวัย" แล้ว ซึ่งหมายความว่า 10% ของประชากรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่ปี 2548 ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคม "สูงวัย" อย่างสมบูรณ์ (Aged Society) โดยคาดว่าจำนวนผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะนับเป็น 20% ของประชากร เมื่อปี 2565
และยังคาดการณ์ว่าในปี 2583 สัดส่วนประชากรสูงวัยจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 31.3 ของประชากรทั้งประเทศ เท่ากับประเทศไทยจะกลายเป็นสังคม "สูงวัยมาก" (Super-Aged Society) จากระดับที่ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงวัยเฉลี่ยต่อประชากรทั้งประเทศในช่วงเวลาดังกล่าวเท่ากับ 17.2% จัดเป็นอันดับ ที่ 5 ของเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ รองจากเกาหลีใต้ สิงคโปร์ ไต้หวัน และมาเก๊า

เตรียมรับสังคมสูงวัย
ก่อนหน้านี้ ภาครัฐบาลได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมที่จะมีสัดส่วนประชากรสูงวัยเพิ่มมากขึ้น โดยได้กำหนดให้ “สังคมสูงอายุ” เป็นวาระแห่งชาติ และได้สานต่อแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ (พ.ศ. 2545 – 2565) เตรียมพร้อมสังคมไทยเข้าสู่ “สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์”
ซึ่งในแผนปฏิบัติการณ์ดังกล่าว ได้มีการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความจำเป็นของการเตรียมการเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ คนวัยทำงานมีความเข้าใจถึงการเตรียมตัวด้านต่าง ๆ เช่น รายได้ สุขภาพ ที่อยู่อาศัย การสร้างสังคมมีทัศนะเชิงบวกต่อผู้สูงอายุ ไม่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระต่อสังคม การจ้างงานผู้สูงอายุเพื่อให้รู้สึกว่าตนมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีรายได้ และสามารถทำประโยชน์ให้กับสังคม ตั้งเป้าให้ผู้สูงอายุงานทำ รวมถึงเน้นให้ลูกหลานกลับมาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ตลอดจนการปรับเปลี่ยนโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นสถานที่พัฒนาผู้สูงอายุในชุมชน การส่งเสริมการออมทั้งแรงงานในระบบและนอกระบบ คนวัยทำงานต้องออมเงินเพื่อใช้ในวัยเกษียณ และการผลิตหรือฝึกอบรมบุคลากรด้านผู้สูงอายุในระดับวิชาชีพอย่างเพียงพอและมีมาตรฐาน
ดังนั้น เมื่อการกำหนดนโยบายมีทิศทางที่ตอบโจทย์สังคมสูงวัย ทำให้ผู้สูงวัยมีโอกาสในการใช้ชีวิตหรือแม้แต่มีงานทำ มีรายได้หลังเกษียณ นั่นจึงทำให้ความต้องการสินค้าและบริการสำหรับคนสูงวัยเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย
โอกาสไทย กลายเป็น ‘ฮับ’ ด้านการดูแลผู้สูงอายุ
ข้อมูลจาก www.salika.com ระบุว่า ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย มีศักยภาพในการสร้างมาตรฐานคุณภาพที่เทียบเท่าสากล และมีธรรมาภิบาลที่ดี การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจจะช่วยผลักดันให้ไทยกลายเป็น ‘ฮับ’ ด้านการดูแลผู้สูงอายุทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ดึงดูดผู้สูงอายุที่ต้องการใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุขให้เข้ามาใช้บริการในประเทศ

โดยสถานบริการที่มีคุณภาพจะทำหน้าที่เป็นทั้งเพื่อนและผู้ดูแล ช่วยสร้างความไว้วางใจและความประทับใจให้กับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ การพัฒนาธุรกิจนี้ยังช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศ โดยเฉพาะเมื่อไทยตั้งเป้าเป็นเมดิคัล ฮับ (Medical Hub) ซึ่งมีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อการแพทย์
ทั้งนี้ จากการจัดอันดับของ Medical Tourism Association ในปี 2020-2021 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 17 ด้านการท่องเที่ยวทางการแพทย์ โดยกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวเดินทางมากที่สุดในโลก ขณะที่ภูเก็ตและพัทยาอยู่ในอันดับ 14 และ 15 ตามลำดับ นี่คือโอกาสสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลผู้สูงอายุทั่วโลก

ตลาดสินค้า-บริการสำหรับผู้สูงวัยเติบโตต่อเนื่อง
แน่นอนว่าเมื่อประชากรสูงวัยมากขึ้น แนวโน้มของความต้องการสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงวัยก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปัจจัยหลักที่กลุ่มผู้สูงวัยให้ความสำคัญ คือ การดูแลสุขภาพ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม ให้ความสำคัญกับโภชนาการ และมีความสนใจใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

จากการวิเคราะห์จำนวนจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่า ปี 2566 ตลาดผู้บริโภคกลุ่มสูงวัย หรือ Silver Gen เติบโต 4.4% อาจจะมีมูลค่ามากถึง 2.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 12% ของเศรษฐกิจไทยเลยทีเดียว

ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นโอกาสและความท้าทายของภาคธุรกิจ หากผู้ประกอบการรายได้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของประชากรสูงวัยได้ ย่อมจะช่วยสร้างโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจด้วยโดยเฉพาะตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศ ซึ่งมีการเติบโตเฉลี่ย 6.5%ต่อปีนับจากปี 2565 – 2566 และคาดการณ์ว่าจะเติบโตเนื่องมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าสำหรับในกลุ่มผู้สุงอายุ ดังนั้น ผู้ประกอบควรเร่งยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ พลิกโฉมอุตสาหกรรม
ส่องเทรนด์สินค้าตอบโจทย์ผู้สูงวัย
โดยตัวอย่างการพัฒนาสินค้าสุขภาพดิจิทัลที่จะมาช่วยอำนวยความสะดวกและลดภาระในการดูแลผู้สูงวัย ที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2025 ได้แก่
1. การวิเคราะห์ด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare Analytics) ซึ่งเป็นผลมาจากอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพสร้างข้อมูลจํานวนมหาศาลจากแหล่งต่าง ๆ ดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลนี้อย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการดูแลสุขภาพ และยังให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์แก่แพทย์เพื่อใช้ตัดสินใจวินิจฉัยโรค
นอกจากนี้ ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน เช่น การจัดการพนักงาน และการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพากขึ้นด้วย

ยกตัวอย่าง ปัจจุบัน ในสหรัฐ มี “Shilling” สตาร์ทอัพผู้พัฒนาแพลตฟอร์มสุขภาพดิจิทัล สําหรับการวิเคราะห์อาการ และการวางแผนรวมถึงการใช้ AI เพื่อตรวจสอบ เข้ามาช่วยบุคลากรทางการแพทย์ นอกจากนี้ ยังมีแดชบอร์ดแบบกําหนดเองเพื่อวิเคราะห์การเดินทางของซึ่งช่วยเพิ่มการดูแลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

2. การดูแลสุขภาพบนคลาวด์ (Cloud Healthcare) โดยคลาวด์คอมพิวติ้งในการดูแลสุขภาพช่วยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถจัดการข้อมูลจํานวนมาก เช่น ข้อมูลภาพทางการแพทย์ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีราคาแพง นอกจากนี้ยังช่วยให้เข้าถึงข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยที่เข้ารับการรักษาได้ง่าย ทุกเมื่อที่ต้องการ และสิ่งนี้ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่สําคัญจะไม่สูญหายหรือถูกทําลาย ยิ่งไปกว่านั้นการใช้คลาวด์คอมพิวติ้งยังช่วยอํานวยความสะดวกในการให้บริการการแพทย์ระยะไกล (Telemedicine) ด้วย
ยกตัวอย่าง Aurabox ระบบดูแลสุขภาพบนคลาวด์ เปิดใช้งานการจัดเก็บและการดูภาพทางการแพทย์ จากฝีมือการพัฒนาของสตาร์ทอัพออสเตรเลีย ช่วยให้แพทย์สามารถเข้าถึงประวัติการถ่ายภาพที่สมบูรณ์ของผู้ป่วยได้จากทุกที่ ทั้งยังช่วยแสดงความก้าวหน้าของโรคเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบภาพแบบเคียงข้างกันเพื่อการวินิจฉัยที่ดีขึ้น ด้วยวิธีนี้ สตาร์ทอัพจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยมากขึ้นและปรับปรุงการดูแลร่วมกัน

3. บันทึกสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Health Records : EHR) นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความถูกต้อง การเข้าถึง และการใช้งานข้อมูลผู้ป่วย ซึ่งช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงประวัติทางการแพทย์ที่สมบูรณ์ของผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์ ปรับปรุงการวินิจฉัยการรักษาและการติดตามสภาวะสุขภาพ ช่วยให้การวินิจฉัยและการให้คําแนะนําในการรักษาเกิดความแม่นยํายิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงของข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับการป้อนข้อมูลด้วยตนเอง
“Z-waka” เป็นตัวอย่างสตาร์ทอัพในเมียนมาร์ที่ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ EHR สําหรับคลินิกในสภาพแวดล้อมที่มีทรัพยากรน้อย ซอฟต์แวร์นี้อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์ตามมาตรฐานการดูแลสุขภาพระดับโลก ลดข้อผิดพลาด ทําให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลผู้ป่วยที่สมบูรณ์จะพร้อมใช้งานในที่เดียว เพื่อทางเลือกในการวินิจฉัยและการรักษาที่ดีขึ้น
4. อุปกรณ์สวมใส่ทางการแพทย์ (Medical Wearables) นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่กําลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในด้านสุขภาพดิจิทัล เนื่องจากสะดวกและสามารถใช้ควบคู่กับอุปกรณ์ที่หลากหลายได้ ในบรรดาอุปกรณ์สวมใส่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ สมาร์ทวอทช์ ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยสามารถติดตามตัวชี้วัดสุขภาพต่าง ๆ และรับการแจ้งเตือนได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องตรวจสุขภาพที่สวมใส่ได้ซึ่งจะติดตามสัญญาณชีพและแจ้งเตือนผู้ใช้ในกรณีที่มีความผิดปกติ วิธีแก้ปัญหาเหล่านี้เหมาะอย่างยิ่งสําหรับผู้สูงวัยที่มีอาการป่วยเรื้อรัง อุปกรณ์ดังกล่าวช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์สามารถเข้าไปแทรกแซงได้ก่อนที่อาการของผู้ป่วยจะแย่ลงอย่างมาก

ยกตัวอย่าง เช่น InHandPlus สตาร์ทอัปของเกาหลีใต้ ที่ได้ออกแบบสมาร์ทวอทช์และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ใช้ AI สําหรับการจัดการยา สมาร์ทวอทช์นี้จะรวบรวมข้อมูลผู้ป่วย โดยมี AI วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น ยาที่ผู้ป่วยรับประทานและเวลาในการบริโภค มีให้สําหรับผู้ป่วย แพทย์ และผู้ดูแล เป็นต้น
5.การตรวจสอบผู้ป่วยระยะไกล (Remote Patient Monitoring : RPM) ช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพสามารถตรวจสอบสถานะสุขภาพของผู้ป่วยได้ โดยไม่ต้องไปเยี่ยมสถานพยาบาล ช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สําหรับบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือมีความคล่องตัวจํากัด มีความสะดวกในการรับคําปรึกษาด้านสุขภาพที่บ้าน ช่วยลดความจําเป็นในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ยกตัวอย่าง เช่น Telos Health Solutions สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการดูแลสุขภาพสําหรับการตรวจสอบผู้ป่วยทางไกล ทําให้เวิร์กโฟลว์ของหน่วยงานด้านสุขภาพที่บ้านเป็นไปโดยอัตโนมัติ โดยใช้ประโยชน์จากการอัปเดตที่รายงานโดยผู้ป่วย ตารางการเยี่ยมชมและจุดข้อมูลอื่น ๆ ด้วยวิธีนี้ ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพจะทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานะผู้ป่วยและความพร้อมในการชม นอกจากนี้โซลูชันของสตาร์ทอัพยังอํานวยความสะดวกในการเชื่อมต่อวิดีโอและเสียงผ่านแอปพลิเคชันมือถือและเว็บเพื่อการตรวจสอบระยะไกลที่มีประสิทธิภาพด้วย

ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดผู้สูงวัยที่มีขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูงได้กลายเป็นขุมทรัพย์แห่งโอกาสสำหรับผู้ประกอบการที่รู้จัดดึงนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา สร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างไม่หยุดยั้ง
อ้างอิง :