ผ่าโมเดล “โรงไฟฟ้าชุมชน” 7 หมื่นล้าน

SME in Focus
19/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4135 คน
ผ่าโมเดล “โรงไฟฟ้าชุมชน” 7 หมื่นล้าน
banner

นโยบายพลังงานชุมชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก มิติใหม่นโยบายด้านพลังงานที่กระทรวงพลังงานกำลังเร่งขับเคลื่อนมีผลในทางปฏิบัติเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ขณะที่นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นำทีมเดินสายโรดโชว์ในพื้นที่หลายจังหวัด เพื่อชี้แจงแนวนโยบายดังกล่าว กระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้กำกับดูแลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ได้ผนึกกำลังกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจชุมชน ปลูกพืชพลังงานสำหรับป้อนให้กับโรงไฟฟ้า เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้จากธุรกิจพลังงานให้ท้องถิ่น ชุมชน หนุนเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องอีกทางหนึ่ง    

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


รูปแบบการดำเนินการโครงการนี้ รัฐบาลมุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือในลักษณะ 3 ประสาน ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ โดยกระทรวงพลังงานจะกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563

ทั้งนี้คาดว่านโยบายนี้จะได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการ และชุมชนท้องถิ่น โดยมีการยื่นคำขอจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนตามเป้าหมายที่วางไว้

ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย จากที่ได้มอบหมายให้ กฟภ.จัดทำแนวทางการดำเนินการโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ล่าสุดได้กำหนดแนวทางเบื้องต้นแล้ว วัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมลำของรายได้ประชาชน แก้ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสนับสนุนให้เกิดการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม

แนวทางการส่งเสริม จะส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าในรูปแบบกระจายศูนย์ หรือ Distributed Generation : DG ส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ที่มีศักยภาพในชุมชน อาทิ เศษไม้ ชานอ้อย แกลบ ซังข้าวโพด น้ำมันจากพืชและสัตว์ น้ำมันจากขยะพลาสติก เป็นต้น

โดยได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการส่งเสริมการตั้งโรงไฟฟ้าชุมชน ในชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ ตามศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟภ. อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าชุมชนควรมีขนาดเหมาะสมกับปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ เพื่อรองรับการจัดทำระบบโครงการไฟฟ้าขนาดเล็ก(Micro Grid) ในอนาคต

แนวทางการดำเนินการ กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในพื้นที่ชุมชนซึ่งใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ และชีวมวล โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน

 

สร้างรายได้กระจายสู่เศรษฐกิจฐานราก

โดยได้วางแนวทางในการดำเนินโครงการ 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย

1. ภาคการเพาะปลูก จะให้มีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตรโดยให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นสมาชิก เพื่อทำหน้าที่จัดหาพื้นที่ หรือขอใช้พื้นที่ของรัฐปลูกพืชพลังงาน เช่น ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน การช่วยเหลือสมาชิกจัดหาต้นกล้าพืชพลังงาน เผยแพร่องค์ความรู้ การส่งเสริมการเพาะปลูกพืชพลังงานทางเลือก การปลูกพืชพลังงานเพื่อจำหน่ายให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อบริหารจัดการเชื้อเพลิงในชุมชนให้แก่โรงไฟฟ้า

2. ในส่วนของการจัดหาเชื้อเพลิง จะจัดตั้งบริษัท ชุมชนประชารัฐ จำกัด ขึ้นในแต่ละชุมชน ผู้ถือหุ้นแยกเป็น ภาคชุมชน โดยวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตร ถือหุ้น 40% ภาคเอกชนถือหุ้น 60% โดยบริษัทเป็นผู้ลงทุนเครื่องจักรและยานพาหนะเพื่อจัดหาเชื้อเพลิง รับซื้อพืชพลังงานจากสมาชิกเพื่อแปรรูป ขนส่ง และจำหน่ายให้กับโรงไฟฟ้า ให้ความรู้และส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน พืชปศุสัตว์

3.ภ าคการผลิตไฟฟ้า จะมีการจัดตั้งบริษัทในรูปแบบ บริษัท ไฟฟ้าประชารัฐ จำกัด แต่ละชุมชนเช่นเดียวกัน โดยรัฐ(รัฐวิสาหกิจพลังงาน) จะถือหุ้น 40% และเอกชนกับชุมชนถือหุ้น 60% ทำหน้าที่จัดเตรียมเอกชนยื่นขอขายไฟฟ้า ลงนามในสัญญาขายไฟฟ้า(PPA) และทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จัดหาแหล่งเงินทุน เทคโนโลยี แผนการจัดหาเชื้อเพลิง บริหารโครงการและคัดเลือกเทคโนโลยี ขออนุญาตต่างๆ เกี่ยวกับกิจการโรงไฟฟ้า


ขณะเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการแย่งเชื้อเพลิงของแต่ละชุมชน ที่มีโรงไฟฟ้าและการนำเข้าเชื้อเพลิงชีวมวลต้นทุนต่ำจากต่างประเทศ กระทบราคาขายเชื้อเพลิงชีวมวล ชีวภาพในชุมชน จะจัดทำแผนการจัดหาเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าชุมชนมีความมั่นคงในการจัดหาวัตถุดิบป้องโรงไฟฟ้า จะดำเนินการภายใต้ระบบพันธะสัญญา หรือ Contract Farming ด้วยการกำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำเป็นหลักประกันด้านรายได้ให้กับชุมชน การรับซื้อเชื้อเพลิงตามราคาตลาดแต่ไม่ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำที่ภาครัฐกำหนด เน้นซื้อเชื้อเพลิงจากชุมชน และรับซื้อจากพื้นที่อื่นมาเสริมตามสัดส่วนที่รัฐกำหนด

ในการนี้กระทรวงพลังงานตั้งเป้าให้โรงไฟฟ้าชุมชนเกิดขึ้นทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้กระจายสู่เศรษฐกิจฐานราก ขณะเดียวกันถ้า กฟภ.สามารถรับซื้อไฟฟ้าได้ตามแผนที่ 700 เมกะวัตต์ จะเกิดการลงทุนใหม่โรงไฟฟ้าชุมชนเป็นวงเงินรวมสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


โรงไฟฟ้าชุมชน สร้างความมั่นคงให้เกษตรกร

โรงไฟฟ้าชุมชนกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
141 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
711 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
547 | 10/04/2024
ผ่าโมเดล “โรงไฟฟ้าชุมชน” 7 หมื่นล้าน