เมียนมาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจริมแม่น้ำเมย

SME Update
21/07/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2379 คน
เมียนมาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจริมแม่น้ำเมย
banner

บรรยากาศการลงทุนที่เมืองเมียวดี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา บริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ตรงข้ามกับ อ.แม่สอด จ.ตาก เต็มไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากกลุ่มนักลงทุนยักษ์ใหญ่จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 7 ราย หลังได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่จากรัฐบาลเมียนมาและชนกลุ่มน้อยเมื่อปี 2561 เป็นระยะเวลา 70 ปี เดินหน้าพัฒนาโครงการไม่ต่ำกว่า 20-30 โครงการ ทั้งสร้างโครงการคอนโดมิเนียม โรงแรมหรู อพาร์ตเมนท์ ศูนย์การค้าครบวงจร ฯลฯ แต่ละโครงการไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บริเวณแถบชานเมืองเมียวดีขยายตัวหลายเท่าตัว

ทั้งนี้ โครงการเมกะโปรเจ็กต์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เมืองเมียวดีมูลค่ารวมกันหลายพันล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564 เพื่อรองรับประชาชนชาวจีนที่เดินทางมาลงทุนและพักอาศัยอยู่ในเมียนมาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการการลงทุนแถบชานเมืองเมียเกิดขึ้นมาภายหลังจากกลุ่มทุนหย่าไถ้ไถ้ ( YATAI INTERNATIONAL HOLDING GROUP) บรรลุข้อตกลงและลงนามในสัญญาเช่าระยะยาวกว่า 70 ปี กับรัฐบาลเมียนมา และกองกำลังพิทักษ์ชายแดน BGF เพื่อลงทุนสร้าง “เมืองใหม่โก๊กโก่” (เขตเศรษฐกิจเมืองใหม่โก๊ะโก่) ตรงข้ามท่าวังแก้ว 23 บ้านห้วยกะโหลก หมู่ 4 ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (มากกว่า 46,500 ล้านบาท) เพื่อให้เมืองใหม่ไชน่าทาวน์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจริมแม่นํ้าเมย นับเป็นโครงการใหญ่สุดของกลุ่มทุนจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยปัจจุบันกลุ่มทุนจากจีนจำนวนมากแห่เข้ามาร่วมลงทุนกับเมียนมาในเขตชนกลุ่มน้อยหลายจุดแล้วตามแนวชายแดนริมแม่น้ำเมย เช่น กลุ่มหย่าไถ่-กลุ่มเฮงเชง-กลุ่มหัวเฮี่ยน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนมหาศาล โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สร้างที่อยู่อาศัย บ้านเรือน ที่พัก โรงแรม อาคารพาณิชย์ ศูนย์การค้า ฯลฯ ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฝั่งเมียนมา จนกลายเป็นเมืองที่จะมีชาวจีนจำนวนนับล้านคนจะเดินทางมาอาศัยอยู่บริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ในช่วงเวลาอีก 2-3 ปี ข้างหน้านี้

 

เมียนมาบูมเศรษฐกิจชายแดนปลุกการค้าแม่สอดคึกคัก

ขณะที่การค้าชายแดนไทย-เมียนมา ซบเซาในช่วงที่ไทยประกาศปิดพรมแดนในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่หลังจากรัฐบาลไฟเขียวให้เปิดจุดผ่านแดนขนส่งสินค้าจำนวน 28 แห่ง 22 จังหวัดทั่วประเทศเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 เพื่อกระตุ้นการค้าชายแดนให้กับมาค้าขายปกติ โดยเฉพาะด่านการค้าถาวร อ.แม่สอด จ.ตาก คึกคักเป็นพิเศษ

เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากกลุ่มทุนจากจีนเข้ามาลงทุนโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่เมืองเมียวดี ทำให้การค้าชายแดนบริเวณนี้กลับมามีชีวิตชีวาเหมือนเดิม ท่ามกลางปฏิบัติตามข้อกำหนดเงื่อนไข และหลักปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามนโนบายรัฐบาล ให้มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าตามท่าเรือ ท่าข้ามริมแม่น้ำเมย ชายแดน อ.แม่สอด จำนวน 21 แห่ง, อ.ท่าสองยาง 6 แห่ง, อ.แม่ระมาด 3 แห่ง, อ.พบพระ 3 แห่ง โดยใน 1 สัปดาห์จะเปิด 5 วัน คือวันจันทร์ ถึงวันศุกร์  และหยุดวันเสาร์-อาทิตย์ ระหว่างเวลา 07.00 น.- 18.00 น. โดยทุกด่านท่าเรือท่าข้ามได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2563

ในช่วงที่ล็อกดาวน์พรมแดนที่ผ่านมา นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก ยอมรับว่า ผู้ประกอบการการทั้ง 2 ฝั่งไทย-เมียนมา รวมทั้งประชาชนผู้บริโภคได้รับความเดือดร้อน เช่นสินค้าราคาแพง และเกิดภาวะขาดแคลน ทั้งยังไม่มีรายได้ แต่หลังจากเปิดท่าขนส่งสินค้าแล้วจะทำให้ประชาชนทั้ง 2 ฝั่งมีการค้าขายปกติก่อให้เกิดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 10-20 ล้านบาทต่อวัน อีกทั้งยังจะยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทั้งสองประเทศที่ดีและจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามมาด้วย

“หลังจากการค้าบริเวณตะเข็บชายแดนจังหวัดจะคึกคักเป็นพิเศษ เนื่องจากกลุ่มทุนจากจีนแห่ลงทุนบริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ซึ่งจะส่งผลทำให้การค้าชายแดนไทยเป็นไปในทิศทางที่ดี เพราะเมียนมาจะนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยมากยิ่งขึ้น ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคทั้งชาวจีนที่จะย้ายมาอาศัยอยู่บริเวณชายแดนจำนวนนับล้านคน เช่นเดียวกับกับการลงทุนและการท่องเที่ยวพลอยจะได้รับอาสิงส์ด้วย”

 

เอกชนแม่สอดเร่งผลักดันเขตเศรษฐกิจพิเศษคู่ขนานเมืองเมียวดี

นับตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลประกาศให้จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (แม่สอด) แต่การเดินหน้าพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวยังไม่รุดหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากมีปัญหาทางเทคนิคหลายด้าน ทำให้การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตากเป็นไปอย่างเชื้องช้าเมื่อเทียบกับเมืองเมียวดี ทั้งที่ประเทศไทยมีศักยภาพทุกด้าน ทำให้กลุ่มนักลงทุนจีนหันหน้าไปลงทุนในเมียนมาแทน เพราะทุกอย่างเอื้ออำนวย ด้วยเหตุนี้ภาคเอกชนจังหวัดแม่สอดพยายามผลักดันให้รัฐบาลเร่งพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับเมืองเมียวดีดึงดูดนักลงทุนจากจีนและต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทย เพราะตลอด 10 ปีที่ผ่านมาไทยพยายามจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตากแต่ไม่เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม เพราะติดขัดเรื่องปัญหาเรื่องกฎหมาย

อย่างไรก็ตามเขตเศรษฐกิจพิเศษมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมไม่เกินสิ้นปีนี้หรือปีหน้า หลังจาก พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเดินหน้าผลักดัน อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรเชื่อมต่อกับ จ.เมียวดี สหภาพเมียนมา บนเส้นทางระเบียงสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก โครงการพัฒนาระบบคมนาคม แนวทางการพัฒนาทางหลวงหมายเลข 12 (East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมและการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงและรองรับยุทธศาสตร์ เขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก–ตะวันตก ทำให้ด่านพรมแดนแม่สอด-เมียวดี มีมูลค่าการค้าชายแดนนับแสนล้านบาทต่อปี มีนักธุรกิจเดินทางมาลงทุนอย่างต่อเนื่อง อ.แม่สอด จึงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพพร้อมรองรับการลุงทุนทั้งภาคพาณิชยกรรม-ภาคอุตสาหกรรม-ภาคเกษตร-เกษตรอุตสาหกรรม-การค้า-และการท่องเที่ยว ฯลฯ

ทั้งนี้ประกอบกับรัฐบาลได้ประกาศให้จังหวัดตาก เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษตากไปแล้ว รวมทั้งมีการจัดตั้งสำนักงานอาคารเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก (แม่สอด) โดยมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้มาตั้งสำนักงาน และยังมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานรองรับไว้มากมาย เช่น สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2, อาคารที่พักสำนักและระบบรันเวย์สนามบินนานาชาติแม่สอดหลังใหม่, โครงการปรับปรุงระบบไฟฟ้าและประปา, โครงการด่านพราแดน 2, ระบบสื่อสารและเทคโนโลยี  ฯลฯ แต่ที่ผ่านมาการขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพิเศษตากล่าช้ามาก เพราะมีอุปสรรคและปัญหามากมาย ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว

ปัจจุบัน “แม่สอด” เติบโตบก้าวกระโดดกลายเป็น “ขุมทอง” ของนักลงทุน เปรียบเสมือนประตูหน้าด่านสำคัญบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก–ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) มีมูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมาปีละแสนล้านบาท


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ลงทุนเมียนมาต้องรู้! กฎหมายกำกับดูแลเขตอุตสาหกรรมฉบับใหม่

จับตา! กลุ่มทุนค้าปลีกไทยรุกตลาดอาเซียน


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1275 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1642 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1910 | 25/01/2024
เมียนมาเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจริมแม่น้ำเมย