ในปัจจุบันนี้หลายคนคงจะได้ยินคำว่า
“อาหารใหม่” หรือ Novel Food กันมากขึ้นแล้ว อาหารใหม่นั้นคืออะไร ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายน
พ.ศ. 2559 กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 376 เรื่อง อาหารใหม่ โดยกล่าวว่า
ในปัจจุบันนี้มีการนำวัตถุที่ไม่เคยบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบอาหาร
อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน จึงสมควรมีมาตรการการประเมินความปลอดภัยรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
โดยให้ความหมายของอาหารใหม่ไว้ 3 ข้อ ดังนี้
1.อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร
ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการ ว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี
2.อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร
ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ
ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร
รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ
กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

ตัวอย่างที่ชัดเจนใกล้ตัวเราในเรื่องการผลิตอาหารใหม่ Novel Food คือ แมลง รวมถึงรถด่วน(หนอน) ตั๊กแตน จิ้งหรีด ด้วยที่กลายเป็นแหล่งอาหารใหม่ เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่าแมลงมีประโยชน์หลายด้าน เช่น มีโปรตีนสูง ใกล้เคียงกับโปรตีนที่ได้จากไข่ไก่ 1 ฟอง หรือหมูบด เนื้อไก่ 100 กรัมและเทียบกับเนื้อวัวยังใช้น้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ต้องการใช้ในฟาร์มเลี้ยงวัวอีกด้วย
แมลงมีสารอาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล
และต่อต้านการติดเชื้อจากยีสต์ในระบบทางเดินอาหาร
ดังนั้นธุรกิจการเลี้ยงแมลงเป็นอาหาร จึงถือเป็นอาหารใหม่ที่ประเทศไทยทำได้ไม่แพ้การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยจากต่างประเทศ
และที่สำคัญก่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกด้วย
นอกจากนี้ก็มีตัวอย่างเช่น
เค้กจากแป้งข้าวจ้าว ซึ่งถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ เพราะปกติเค้กจะทำจากแป้งสาลี
ยิ่งตอนนี้เกษตรกรบ้านเราหันมาปลูกข้าวออร์แกนิกกันมากขึ้นหากมาแปรูปเป็นแป้งเพื่อใช้สำหรับทำเค้ก
ยิ่งจะตอบโจทก์ลูกค้าได้ตรงความต้องการหรืออย่างสินค้าประเภทน้ำพริกกะปิผงซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อความสะดวก
หรือส้มตำอบแห้งสำหรับคนไกลบ้าน พวกนี้ก็ถือเป็น อาหารใหม่ได้เช่นกัน
การพิจารณาอาหารใหม่ที่ปลอดภัย
ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจอาหารใหม่ Novel Food จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะผลิตส่งออกหรือจะนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ แต่เนื่องจากอาหารประเภทนี้เป็นของใหม่จึงยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการบริโภค จึงจำเป็นจะต้องผ่านการประเมินความปลอดภัยก่อน
ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องยื่นเอกสารหลักฐาน
เช่น ประวัติการใช้เป็นอาหาร ข้อมูลความปลอดภัย ข้อมูลคุณภาพหรือมาตรฐาน ผลการตรวจวิเคราะห์
วิธีการบริโภคหรือคำแนะนำการบริโภคซึ่งประกอบด้วยหลักฐานทางพิษวิทยาในสัตว์ทดลองหรือในมนุษย์
ทั้งยังต้องมีข้อมูลด้านโภชนาการ รายงานผลการพิจารณาความปลอดภัยจากหน่วยงานสากลหรือต่างประเทศหรือข้อมูลการอนุญาตให้จำหน่ายเป็นอาหารในต่างประเทศเป็นต้น
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะต้องยื่นต่อหน่วยประเมินความเสี่ยงสำนักงานอาหารและยายอมรับก่อน
เพื่อประเมินความเสี่ยงอีกครั้ง จากนั้นผู้ประกอบการก็ต้องนำผลการประเมินและหลักฐานเอกสารที่ได้รับส่งมอบให้สำนักงานอาหารและยา(อย.)เพื่อพิจารณาอนุญาตและการใช้อาหารใหม่ที่ปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป
สำหรับหน่วยประเมินความปลอดภัยของอาหารใหม่ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ
มี 3 หน่วยงาน คือ
1) สำนักงานคุณภาพและ
ความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
2) สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
3) ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทย
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยอาหารใหม่ที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยและอนุญาตโดยส่วนกลาง
ถือเป็นอาหารที่สามารถบริโภคได้เช่นเดียวกันกับอาหารอื่นๆ โดยทั่วไป และมีมาตรการกำกับดูแลก่อนและหลังออกสู่ตลาดตามปกติ กล่าวคือ การพิจารณาอนุญาตก่อนออกสู่ตลาดนั้น จะพิจารณาการใช้ให้เป็นไปตามผลการประเมินความปลอดภัย
และจัดประเภทอาหารตามคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการกำกับดูแลหลังออกสู่ตลาดจะดำเนินการติดตามทั้งสถานที่ผลิต สถานที่นำเข้าอาหาร การสุ่มตรวจสินค้าอาหารและฉลากอาหารเพื่อตรวจสอบดูความสอดคล้องกับ กฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หากพบความไม่สอดคล้องหรือความไม่ปลอดภัยจากการบริโภคอาหารใหม่นั้นจะดำเนินการตามกฎหมายกำหนดภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522
ดังนั้น ธุรกิจอาหารใหม่จึงเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการ SME ของไทยเพราะเพิ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ยังไม่เกิดการผูกขาดอีกทั้งวัตถุดิบของไทยก็สามารถนำมาผลิตป้อนสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศได้เป็นอย่างดี