Phishing รู้ทัน ป้องกันได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อ

SME Update
22/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4751 คน
Phishing รู้ทัน ป้องกันได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อ
banner

ปัจจุบันการโจมตีข้อมูลในโลกไซเบอร์มีความรุนแรงมากขึ้น และหนึ่งที่สามารถพบเจอบ่อยคือ Phishing (ฟิชชิ่ง) คือ การหลอกลวงรูปแบบหนึ่งผ่านการส่งอีเมล โดยมีเจตนาให้ได้มาซึ่งล็อกอิน และรหัสผ่านของเหยื่อ Phishing จะเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า Fishing (ฟิชชิ่ง) ที่แปลว่า การตกปลา แต่ในที่นี้ Phishing จะเป็นการตกเอาข้อมูลของเหยื่อนั่นเอง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


หลักการของฟิชชิ่ง คือ ใช้การส่งอีเมลไปหาบุคคลเป้าหมาย (เหยื่อ) โดยเนื้อหาของอีเมลจะเป็นการหลอกลวงในสิ่งที่เหยื่อมีความคุ้นเคย เช่น หลอกเอาข้อมูลล็อกอินและรหัสผ่านเข้าสู่ระบบบัตรเครดิต หรืออินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง หรือ Facebook (เฟซบุ๊ก) ซึ่งเนื้อหามักจะหลอกลวงในสิ่งที่ทำให้เหยื่อเกิดจินตนาการคล้อยตาม เช่น หลอกว่า “บัญชีธนาคารของคุณมีการจ่ายเงินซื้อของไปเป็นจำนวนเงิน 2 หมื่นบาท และหากคุณไม่ได้ทำรายการซื้อนี้ ให้คลิกเพื่อเข้าไปแก้ไขข้อมูล”

แน่นอนว่า โดยในเนื้ออีเมลจะใส่ URL เว็บไซต์ปลอม ซึ่งมีหน้าตาคล้ายๆ ของสถาบันการเงิน แล้วมีช่องให้กรอกล็อกอินและรหัสผ่าน เมื่อเหยื่อหลงเชื่อกรอกข้อมูลเข้าไป หน้าเว็บไซต์ปลอมก็จะแสดงผล เช่น “ระบบขัดข้อง ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ในเวลานี้” หรือแจ้งว่า “รหัสผ่านไม่ถูกต้อง”

ซึ่งในขณะเดียวกันแฮกเกอร์ก็ได้เก็บข้อมูลล็อกอินและรหัสผ่านที่เหยื่อกรอกไปแล้ว เพื่อนำไปใช้ในการล็อกอินเข้าระบบจริงต่อไป เพื่อเข้าไปทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือนำไปซื้อของในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

การหลอกลวงทางอีเมลจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณควรจะรู้เท่าทันกลลวง เพื่อช่วยในการป้องกันตัวเองและองค์กรที่คุณทำงานอยู่จากภัยร้ายทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีข้อสังเกตและป้องกันได้ดังนี้

 

8 ข้อสังเกตุและวิธีป้องกันการตกเป็นเหยื่อ Phishing หรือ อีเมลหลอกลวง

1. อย่าไว้ใจชื่อผู้ส่งที่แสดงในอีเมลเสียทีเดียว เหตุเพราะชื่อผู้ส่งที่แสดงอยู่ในอีเมลอาจไม่ได้บอกถึงผู้ส่งที่แท้จริงเสมอไป คุณต้องแน่ใจว่าชื่อของ Email address นั้นถูกต้อง เพื่อยืนยันผู้ส่งเมลที่แท้จริง

2. ห้ามคลิกเด็ดขาด ลองวางเมาส์ไปชี้ใกล้ๆ กับข้อความที่อยู่ในอีเมลโดยไม่มีการคลิกใดๆ หากตัวอักษร ที่เม้าส์ชี้อยู่ปรากฎขึ้นมา ดูแล้วไม่ตรงกับคำอธิบาย อย่าคลิกเด็ดขาด และติดต่อทางสถาบันการเงินเพื่อแจ้งให้ทราบ

3. ตรวจสอบคำที่สะกดผิด ผู้ไม่หวังดีนั้นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการสะกดคำให้เป็นไปตามหลักไวยากรณ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ส่งโดยทั่วไป

4. อีเมลมีคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวหรือไม่ บริษัททั่วๆ ไปนั้นมักจะไม่ถามถึงข้อมูลส่วนตัวในอีเมล หรือคลิกลิงค์ หรือกรอกประวัติส่วนตัว รหัสผ่าน ถ้าเจออย่ากรอกเป็นเด็ดขาด

5. ระวังอีเมลเร่งด่วน อีเมลหลอกลวงเหล่านี้พยายามที่จะทำให้เรื่องราวดูรีบเร่ง ราวกับมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ตัวอย่างเช่น เพื่อนตกทุกข์ได้ยาก ต้องการเงินด่วนเป็นต้น หรือองค์กรขอบริจาคที่ดูไม่น่าเชื่อถือ ถ้าคุณบ้าจี้โอนเงินไป หายจ๋อยแน่นอน แถมอาจถูกแฮกรหัสผ่าน

6. พิจารณาคำลงท้ายของอีเมล โดยอีเมลทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะมีคำลงท้ายที่เต็มรูปแบบใต้เนื้อความของอีเมล แต่ถ้าไม่มีแน่นอนว่าเข้าข่ายล่อเหยื่อ ดูไม่น่าเชื่อถือ

7. ไฟล์แนบต้องระมัดระวัง ผู้ไม่หวังดีชอบใช้วิธีหลอกคุณด้วยสิ่งที่แนบมา ทำให้เราอยากรู้ว่ามีอะไรอย่างใจจดจ่อ ชื่อของไฟล์อาจจะยาวเป็นพิเศษ ไอคอนของไฟล์อาจจะเป็นของปลอม เช่น คุณเห็นไอคอน Microsoft Excel แต่พอเปิดไฟล์ขึ้นมา อาจจะไม่ใช่อย่างที่คุณคิด หากคลิกเท่ากับคุณตกเป็นเหยื่อขโมยข้อมูล

8. วิเคราะห์ แยกแยะ มีสติ อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น หากบางอย่างดูผิดปกติไปจากเดิม จะเป็นการดีกว่าถ้าเราปลอดภัยจากกลลวงแทนที่จะต้องมาเสียใจในภายหลัง หากคุณเห็นอะไรที่ผิดปกติ เช่น การติดต่อจากธนาคารที่แนบลิงค์มา ซึ่งปกติธนาคารจะไม่แนบลิงค์หรือขอข้อมูลลูกค้าทางอีเมล ดังนั้นอย่าเชื่อจนกว่าจะพิสูจน์โดยการสอบถามจากธนาคารโดยตรง


หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ให้ท่านผู้อ่าน ได้เท่าทันกลโกงทางออนไลน์ในรูปแบบอีเมลหลอกลวงที่ปัจจุบันแพร่หลายอย่างมาก และเกิดความเสียหายมากมาย และจำไว้เสมอ อย่ามือไว คลิกง่าย แยกแยะ มีสติและหากพลาดรีบติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขโดยด่วน 


ชาร์จมือถือในที่สาธารณะ ไม่ปลอดภัย 

ตั้งรหัสผ่านอย่างไร ให้เจาะยากสุดๆ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
5 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
5 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
7 | 11/04/2025
Phishing รู้ทัน ป้องกันได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อ