สร้างมูลค่าเพิ่ม ‘สับปะรด’ ด้วยR&D

SME in Focus
15/01/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 5722 คน
สร้างมูลค่าเพิ่ม ‘สับปะรด’ ด้วยR&D
banner
‘สับปะรด’ ผลไม้หน้าตาบ้านๆ ที่เราคุ้นเคยกันดี โดยทั่วไปเราใช้ประโยชน์จากสับปะรด คือ เป็นอาหาร ทั้งแบบสดและแปรรูป อาทิ สับปะรดกระป๋อง สับปะรดอบแห้ง สับปะรดกวน และน้ำสับปะรด ข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอาหารแปรรูป ปี 2560 ไทยมีผลผลิตสับปะรดในประเทศจากข้อมูล ประมาณ  2 ล้านตัน ใช้บริโภคภายในประเทศราว 3 แสนตัน/ปี ขณะที่การส่งออก ในปี 2560 ประมาณ  5.9 แสนตัน  มูลค่าการส่งออกประมาณ 24,000 ล้านบาท มีตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนเธอร์แลนด์ และ ออสเตรเลีย ขณะที่มีคู่แข่งที่สำคัญในกลุ่มสับปะรดแปรรูป คือ  ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่ผลิตสับปะรดมากเป็นอันดับ 4 ของโลก (2 ล้านตัน/ปี) รองจาก ฟิลิปปินส์ คอสตาริก้า และ บราซิล ขณะที่ภาวะตลาดในปัจจุบันของภาคส่งออกสับปะรดกำลังเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง ปัจจัยด้านค่าเงินบาทที่ผันผวน และ การกีดกันจากตลาดอเมริกา  ทำให้นิยามสั้นๆของอุตสาหกรรมสับปะรดในขณะนี้  คือ  ‘ไม่เป็น สับปะรด’

เนื่องจากข้อมูลในข้างต้น ไทยผลิตสับปะรดได้ ประมาณ 2 ล้านตัน เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ แต่ที่ปลูกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด มีการบริโภคในประเทศประมาณ 3 แสนตัน มีการส่งออกตีตัวเลขกลมๆประมาณ 6 แสนตัน ผลคือ ยังมีส่วนที่โอเวอร์ซัพพลายอยู่ถึง 1.1ล้านตัน นี่จึงเป็นอุปสรรคของอุตสาหกรรมสับปะรดไทยในปัจจุบัน คือการไม่จำกัดผลผลิต ขณะที่การแปรรูปยังมีดีมานด์ที่ไม่มากพอ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

ข้อมูลของสถาบันอาหารที่มีรายงาน ตัวเลขโรงงานแปรรูปสับปะรดในประเทศไทย มีโรงงานแปรูปทั้งหมด 75 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานขนาดขนาดใหญ่ 19  โรงงาน ที่เหลือเป็น SMEs ที่เน้นการผลิตสับปะรดกระป๋องและ By-product ที่เป็นน้ำสับปะรดเข้มข้น โดยในกลุ่มโรงงานที่เป็น SMEs จะเน้นการขายวัตถุดิบขั้นต้นเช่นการส่งต่อให้โรงงานแปรรูปขนาดใหญ่หรือตลาดต่างประเทศเพื่อแปรรูปให้เป็นน้ำผลไม้ที่มีรสชาติถูกใจผู้บริโภค ขณะที่อีกส่วนเน้นการแปรรูปแบบง่ายๆ อาทิ สับปะรดกวน สับปะรดตากแห้ง เน้นการทำตลาดในประเทศเป็นหลัก

ถึงตรงนี้ เราคงได้คำตอบในเบื้องต้นแล้วว่า ขีดความสามารถของอุตสาหกรรมสับปะรดที่เริ่มโรยราลง ไม่เพียงเพราะผลผลิตที่โอเวอร์ซัพพลาย ตลาดในต่างประเทศแข่งขันรุนแรง ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมแปรรูปในประเทศส่วนใหญ่ยังเป็น SMEs ที่เน้นขาย By-product เป็นหลัก ขณะที่การแปรรูปก็เป็นแปรรูปในรูปแบบซ้ำๆ ทั้งบางช่วงยังเกิดปัญหาการขาดแคลนผลผลิต เนื่องจากสับปะรดในพื้นที่ขาดช่วง และปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทำให้ช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการแปรรูปสับปะรดมีทิศทางที่ดิ่งเหวมาตลอด โดยภาคการส่งออกในปี 2560 ที่ผ่านมามีการขยายตัวในอัตราติดลบที่ -10 %

อย่างไรก็ตามภายใต้การ ส่งเสริมด้านนวัตกรรมและงานวิจัย เพื่อหาทางออกให้อุตสาหกรรมสับปะรด โดยมีแกนนำหลัก อาทิ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสถาบันอาหาร ที่พยายามหาทางออกให้อุตสาหกรรมสับปะรดในการแปรรูปที่นอกเหนือจากอาหาร ซึ่งมีตัวอย่าง อาทิเช่น

สารสกัดโบรมีเลน ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ได้มาจากการสกัดส่วนต่าง ๆ ของสับปะรด  มีคุณสมบัติสามารถย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุล จัดเป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัย และได้รับการอนุญาตให้ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารได้ เช่น ผงหมักเนื้อในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และผลิตอาหารสัตว์สารช่วยย่อยโปรตีน ลดความขุ่นของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์  ไวน์ และน้ำผลไม้ และมีการนำโบรมีเลนไปใช้เป็นอาหารเสริมมากขึ้น

นอกจากนี้ โบรมีเลนยังถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของน้ำยาแช่หนังเพื่อทำให้หนังเรียบและนุ่มในอุตสาหกรรมการฟอกหนัง และใช้เป็นส่วนประกอบของยาช่วยย่อยและยาลดการอักเสบบางชนิดในอุตสาหกรรมการผลิตยาอีกด้วย โดยปัจจุบันประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกโบรมีเลนรายใหญ่ของโลก ซึ่งนำใช้ในทางการแพทย์

สับปะรด

เส้นใยสับปะรด คือ ส่วนของเซลลูโลสที่ได้มาจากใบของสับปะรดโดยทั่วไปนิยมนำมาทำกระดาษซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูงและมีความเหนียวแน่นในตัวสูงเนื่องจากใยสับปะรดมีองค์ประกอบของเซลลูโลสสูง จึงสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสันหนังสือ และเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้

นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาทำเป็นเส้นด้ายถักทอและตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ผ้าม่าน ผ้าคลุมเตียง หมอนอิง เสื้อคลุมอาบน้ำ เสื้อสูท และผ้าคลุมไหล่ โดยสามารถนำไปผสมกับเส้นใยชนิดอื่น เช่น ฝ้าย เรยอน และโพลิเอสเทอร์  ล่าสุดมีการวิจัยและพัฒนาใยสับปะรดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น แผ่นฉนวนกันความร้อน ฉนวนกันเสียง เป็นส่วนเสริมแรงในพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ และ แผ่น nonwoven สำหรับเพาะปลูกพืช

เห็นได้ชัดว่าแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสับปะรด ที่นอกเหนือจากการแปรรูปขั้นต้น การสร้างคุณค่าใหม่ๆ โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยังมีความเป็นไปได้อีกมาก ด้วยเหตุนี้ การปรับเปลี่ยนจากองค์ความรู้และงานวิจัย นำไปสู่การพัฒนาในเชิงพาณิชย์ จะเป็นแนวทางที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมสับปะรดที่กำลังประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาดในปัจจุบัน แต่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถสร้างคุณค่างานวิจัยและองค์ความรู้เรื่องสับปะรถ ที่ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมาย ให้สามารถลงหิ้งมาสู่ห้างได้เสียที

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
174 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
390 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1316 | 01/04/2024
สร้างมูลค่าเพิ่ม ‘สับปะรด’ ด้วยR&D