Post COVID-19 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะไปต่ออย่างไร

SME in Focus
26/06/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2208 คน
Post COVID-19 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะไปต่ออย่างไร
banner

ก่อนวิกฤติโควิด-19 อุตสาหกรรมค้าปลีกของฟิลิปปินส์ ถือเป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่งหนึ่งของประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยส่งเสริมหลายอย่างทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ของของประชากรสูงขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้นรวมถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง โดย IGD บริษัทวิจัยด้านการค้าปลีกอาหารเคยคาดการณ์ว่า ตลาดค้าปลีกฟิลิปปินส์จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 157 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย และจะขยายตัวประมาณร้อยละ 10 ต่อปี

อย่างไรก็ดี วิกฤตโควิด-19 กำลังทำให้ภาคค้าปลีกฟิลิปปินส์ที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมาต้องสะดุดลง โดยหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์และมาตรการกักกันชุมชนที่เข้มงวด ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคค้าปลีก โดยผู้ประกอบการหลายรายต้องหยุดกิจการชั่วคราว หรือบางรายต้องปิดกิจการถาวร ทำให้พนักงาน/แรงงานตกงานจำนวนหลายล้านคนทั่วประเทศ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ปัจจุบันรัฐบาลได้ทยอยปลดมาตรการล็อกดาวน์ทำให้ธุรกิจค้าปลีกต่างๆ กลับมาดำเนินการได้ เกิดการหมุนเวียนการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในฟิลิปปินส์ แต่ธุรกิจค้าปลีกต้องเผชิญกับความท้าทายในการฟื้นตัว เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่จำกัด รวมถึงความไม่เชื่อมั่นในสถานการณ์การแพร่ระบาด ทำให้ผู้บริโภคมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย และใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็นอย่างรัดกุม

ขณะที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ โดยการใช้มาตรการ General Community Quarantine (GCQ) ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ซึ่งถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ในฟิลิปปินส์จะยังไม่สามารถควบคุมได้และยังพบตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่รัฐบาลจำเป็นต้องผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อเปิดทางให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้และลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐบาลได้ระงับการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจมาเป็นเวลากว่า 2 เดือน ส่งผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงเป็นวงกว้างในมิติของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของฟิลิปปินส์ ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่จะทำให้ภาคธุรกิจกลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้ง เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจเช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก ที่เริ่มเข้าสู่การคลายล็อกดาวน์เพื่อฟูเศรษฐกิจเช่นกัน

เป็นที่น่าจับตาว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ซึ่งกำลังชั่งน้ำหนักในการพิจารณาเรื่องการขึ้นภาษีนำเข้า เพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลในช่วงวิกฤติโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มรายได้เข้าคลังมากถึง 2.45 แสนล้านเปโซ ซึ่งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื่อโควิด-19 ทำให้รัฐบาลฟิลิปปินส์จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการรับมือและเยียวยาผลกระทบต่อประชาชนและเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศ

ทั้งนี้หากฟิลิปปินส์ตัดสินใจขึ้นภาษีนำเข้า คาดว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบและเสียประโยชน์จะกลับกลายเป็นประชาชนชาวฟิลิปปินส์และธุรกิจในประเทศเอง เนื่องจากผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าขั้นสุดท้ายที่จำเป็นสำหรับการอุปโภคและบริโภค และจะส่งผลต่อเนื่องทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย ในขณะที่ธุรกิจต้องแบกรับต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้น


ขณะเดียวกันหากฟิลิปปินส์ปรับขึ้นภาษีนำเข้า จะเป็นการเพิ่มแรงกดดันสำคัญและอาจเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติม ที่จะกระทบต่อภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยในอนาคต โดยฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 5 ในภูมิภาคอาเซียน ในปี 2562 มูลค่าการค้ารวมของไทยกับฟิลิปปินส์อยู่ที่ 10,143 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.10 ของการค้าไทยไปทั่วโลก

โดยไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์มีมูลค่า 6,919 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันไทยมีการนำเข้าจากฟิลิปปินส์ มูลค่า 3,224 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมาไทยได้เปรียบดุลการค้าฟิลิปปินส์มาโดยตลอด สำหรับในปี 2563 (มกราคม – มีนาคม) ไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์มูลค่า 1,565 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้า 5 อันดับที่ไทยส่งออกไปยังฟิลิปปินส์มากที่สุด ได้แก่ กลุ่มสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และผลิตภัณฑ์พลาสติก


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


วิเคราะห์เศรษฐกิจ 6 ชาติอาเซียนจากปัจจัย COVID-19

Post COVID-19 เวียดนามฐานผลิตสำคัญของโลก


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
167 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
361 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
281 | 20/03/2024
Post COVID-19 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะไปต่ออย่างไร