มองภาพ “แอปฯ เรียกรถ” จากบริบทของประเทศไทย

SME in Focus
24/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4822 คน
มองภาพ “แอปฯ เรียกรถ” จากบริบทของประเทศไทย
banner

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการขนส่งและคมนาคมยังคงจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนทั่วไป เพราะไม่ว่าจะเรียน ทำงาน หรือกิจกรรมอะไรก็ตาม เราต่างต้องอาศัยการเดินทางเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ซึ่งหากเป็นเมื่อก่อนผู้บริโภคทั่วไปคงอาจจะเลือกซื้อรถยนต์เดินทางด้วยตนเอง หรือเลือกใช้รถสาธารณะประจำทาง ด้วยเหตุผลที่ว่า ราคาสบายกระเป๋า แต่ปัจจุบันกลับไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่มีกำลังซื้อลดลง ไม่เพียงพอต่อการครอบครองรถยนต์ และรถสาธารณะประจำทางก็ยังไม่ตอบโจทย์เท่าไหร่ การเรียกใช้บริการยานพาหนะผ่านแอปพลิเคชั่นจึงช่วยเข้ามามีบทบาทตรงนี้มากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ทำความเข้าใจกับ Ride-Hailing

บริการ Ride-Hailing เป็นบริการยานพาหนะผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างผู้ให้บริการขับขี่ยานพาหนะและผู้โดยสาร โดยเน้นความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย และยกระดับการคมนาคมให้ตอบโจทย์การเดินทางภายในสังคมเมืองที่เดินทางลำบาก มาจากการที่ประชากรขยายเพิ่มขึ้นจนรองรับไม่ทัน หากจะอธิบายถึงบริการ Ride-Hailing ให้เข้าใจได้ง่ายและกระชับก็คือ แอปพลิเคชั่นเรียกรถ นั่นเอง ปัจจุบันมูลค่าของอุตสาหกรรมบริการยานพาหนะผ่านแอปพลิเคชั่น Ride-Hailing ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนมีผู้ใช้งานสูงถึง 34.5 ล้านคน และมูลค่าโดยรวมของตลาดสูงถึง 21,000 ล้านบาท อัตราการเติบโตเฉลี่ย 6-10% ต่อปี โดยประเทศไทยติด 1 ในกลุ่มประเทศ Top 5 ที่นิยมใช้งานแอปพลิเคชั่น Ride-Hailing มากที่สุด

 

ผู้ขับขี่และผู้โดยสารของ Ride-Hailing ในไทยคือใคร?

ผู้ให้บริการขับขี่รถยนต์ผ่านแอปพลิเคชั่นกว่า 60% เป็นผู้ที่ว่างงาน ไม่ได้หารายได้จากทางอื่น รวมถึงวัยเกษียณ (นับว่าเป็นอีกก้าวสำหรับการเข้าสู่ยุคการจ้างงานผู้สูงวัย) นอกนั้นเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้จากช่องทางอื่นแล้วหารายได้จากการเป็นผู้ขับขี่ผ่านทาง Ride-Hailing เพิ่มเติม

ส่วนผู้โดยสารของ Ride-Hailing มีประมาณ 6.8 ล้านคนต่อเดือน สัดส่วนเพศที่เลือกใช้บริการคร่าวๆ 65% เป็นผู้หญิง และนอกนั้นเป็นเพศชาย นอกจากนี้ประชากรกว่า 54% ที่เลือกใช้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 20-49 ปี ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุประมาณ 30-39 ปี มีหลากหลายอาชีพ เหตุผลส่วนใหญ่ที่เลือกใช้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชั่น เนื่องจากกระบวนการให้บริการ และความสะดวกสบายต่อการเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชั่น

 

Ride-Hailing กับ ปัญหาขาดกฎหมายรองรับ

ปัญหาหลักของ Ride-Hailing (ซึ่งถูกควบคุมดูแลภายใต้บริษัทเอกชนส่วนใหญ่) ที่กำลังทำให้นักลงทุนรายใหญ่ไปจนถึงรายย่อยยังคงกังวลใจมีเพียงไม่กี่ประการ หลักๆ คือภายในประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องขาดกฎหมายรองรับ ทำให้ยังคงเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่ว่า การให้บริการยานพาหนะผ่านแอปพลิเคชั่นแบบ Ride-Hailing สามารถทำได้หรือไม่ เพราะยังไม่มีกฎหมายและมาตรการของภาครัฐมารองรับเหมือนกับกลุ่มผู้ให้บริการขับรถแท็กซี่

ในขณะที่หลากหลายประเทศ รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านต่างมีกฎหมายรับรองเรียบร้อยแล้ว ประชาชนกว่า 77.24% จึงกล่าวว่า ควรมีการแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้มีมาตรการและหน่วยงานมาคอยกำกับดูแลส่วนหนึ่ง เช่น มาตรฐานความปลอดภัย, มาตรฐานผู้ขับขี่และรถยนต์, มาตรฐานการให้บริการและเทคโนโลยี, การกำหนดราคา และผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ฯลฯ

*สำหรับผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายและมาตรการเพิ่มเติม : https://conc.tbs.tu.ac.th/userfiles/files/TU_Ride-hailing_Report.pdf*

 

การแข่งขันในตลาดบริการ Ride-Hailing ที่น่าจับตามอง

ปัจจุบันนี้ยังมีผู้ให้บริการแอปเรียกรถ หรือ Ride-Hailing ไม่มากนัก โดยการแข่งขันศึกชิงเจ้าตลาดต่างรุกกันอยู่ระหว่าง 2 ค่ายใหญ่ ได้แก่ Grab ผู้ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน ที่เข้าซื้อกิจการ Uber ไปเมื่อไม่นาน กับ Go-Jek ผู้ให้บริการที่เติบโตไว เน้นราคาถูก ตีตลาดด้วยการปรับราคาค่าบริการต่ำกว่า Grab 10-30% โดยยอดดาวน์โหลดรวมของแอปพลิเคชั่นทั้งคู่ยังถือว่า ห่างกันไม่มากนัก

ทาง GRAB เฉพาะผู้ใช้งานที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มียอดสูงถึง 125 ล้านบัญชี ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานในประเทศไทยสูงที่สุด ส่วน Go-Jek (รู้จักในชื่อ GET ก่อนหน้านี้) ที่พึ่งเข้าไทยเมื่อไม่นานนี้ เพียงแค่อินโดนีเซียประเทศเดียวก็มียอดดาวน์โหลดสูงถึง 108 ล้านบัญชี มีผู้สนับสนุนเบื้องหลังเป็นองค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง Google, Tencent Holdings และ JD.com ตามมาติดๆ ขนาดนี้ คงต้องลุ้นกันต่อไปว่า Grab จะครองเป็นเจ้าตลาดได้ตลอดไปหรือไม่ และจะมีผู้ให้บริการรายใดเข้ามาแข่งขันในตลาดประเทศไทยเพิ่มอีก

ถึงแม้ว่า ณ เวลานี้จะยังไม่มีกฎหมายและมาตรการรองรับในประเทศไทย แต่ก็ได้มีการออกมายืนยันจากทางกรมขนส่งแล้วว่า บริการเหล่านี้ไม่ผิดกฎหมาย อีกทั้งได้เริ่มมีการวางแนวทางร่างกฎหมายและมาตรการต่างๆ รองรับไว้แล้ว เชื่อว่าในอนาคตอันใกล้เราคงจะได้เห็นบริการ Ride-Hailing กลายเป็นธุรกิจที่เติบโตได้ไกลและแข่งขันกันอย่างสนุก ระหว่างภายในตลาดธุรกิจเดียวกันและธุรกิจขนส่ง-คมนาคมแบบอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


จับกระแส Express Delivery และช่องว่างในห่วงโซ่อุปทาน 

SMEs ต้องเตรียมพร้อมรับมือการขนส่งสินค้าช่วงโควิด-19 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
181 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
393 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1343 | 01/04/2024
มองภาพ “แอปฯ เรียกรถ” จากบริบทของประเทศไทย