จัดจ้าน! ด้านอินโนเวชัน ‘กรุ๊ป เมกเกอร์’ ผลิตหุ่นยนต์สัญชาติไทยเพื่องานอุตสาหกรรม

SME in Focus
14/11/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3210 คน
จัดจ้าน! ด้านอินโนเวชัน ‘กรุ๊ป เมกเกอร์’ ผลิตหุ่นยนต์สัญชาติไทยเพื่องานอุตสาหกรรม
banner

ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมบ้านเรามีการนำ Automation มาใช้ในโรงงานมากขึ้น แต่การจะทำให้หุ่นยนต์สัญชาติไทย ได้รับการยอมรับ - วางใจในเทคโนโลยีจากผู้ประกอบการไม่ใช่เรื่องง่าย จุดประเด็นอันน่าสนใจว่า คุณธนวรรธน์ โชติศิริ FOUNDER & CEO บจ. กรุ๊ป เมกเกอร์ ทำอย่างไรให้หุ่นยนต์ไทยประดิษฐ์พิชิตใจภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการนำเทคโนโลยีมาสร้างประโยชน์ให้กับกิจการ จนเป็นที่รู้จัก - ครองใจผู้ประกอบการทั้งในเมืองไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


Passion..ตอบคำถาม โตขึ้นอยากเป็นอะไร

คุณธนวรรธน์ โชติศิริ FOUNDER & CEO บจ. กรุ๊ป เมกเกอร์ เผยว่า ตนเองมีความสนใจด้านหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่เด็กๆ สมัยเรียนมัธยมมักหาโอกาสไปชมการแข่งขันเกี่ยวกับหุ่นยนต์อยู่เรื่อยๆ ก่อนจะตัดสินใจเข้าแข่งขันแล้วได้รับตำแหน่งแชมป์ เป็นที่มาให้เลือกเรียนระดับอุดมศึกษาในสาขา ​วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (สหวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติวิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อการออกแบบและสร้าง - ผลิตชิ้นส่วน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพื่อศึกษาด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์โดยเฉพาะเพื่อการแข่งขันหุ่นยนต์แบบเต็มตัว

หลังจากไปได้แข่งขันหุ่นยนต์ อาจารย์และเพื่อนๆ เห็นว่ามีศักยภาพทางด้านนี้ จึงเกิดโปรเจกต์ร่วมกันสร้างโรบอทครั้งแรก โดยเป็นโรงภาพยนตร์ 4 มิติ ประเทศมาเลเซีย 

“ขณะเรียนปี 1 ได้มีโอกาสทำโปรเจกต์โรงภาพยนตร์ 4ซึ่งจริงๆ ก็คือหุ่นยนต์ชนิดหนึ่ง ที่นั่งเก้าอี้มีเอฟเฟกต์พิเศษเคลื่อนไหวสอดคล้องกับเนื้อเรื่องของหนัง ช่วยให้ผู้ชมเพลิดเพลินไปกับความสมจริง 


ยังเรียนอยู่ ก็ทำธุรกิจควบคู่กันได้

FOUNDER & CEO บจ. กรุ๊ป เมกเกอร์ กล่าวว่า การได้ทำโปรเจกต์โรงหนัง 4ช่วยให้มีทุนจำนวนเยอะพอสมควร หลังจากนั้นได้รับทำโปรเจกต์อื่นๆ เรื่อยมา โดยส่วนใหญ่จะเป็นการรับงานอีกทอดหนึ่งจากบริษัทที่ไปประมูลงานได้ 

เนื่องด้วยลักษณะงานหุ่นยนต์ที่ต้องใช้ทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทำงานสอดประสานกัน ซึ่งตามโรงงานต้องใช้หลายคนมาช่วยในการออกแบบ แต่ตนเองและทีมอยู่ในสายแมคคาทรอนิกส์ทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมดว่าต้องทำอย่างไรจึงจะออกแบบเพื่อใช้งานร่วมกันได้ โดยใช้คนในการทำงานจำนวนน้อยกว่า

ปี 2016 งานเริ่มเยอะขึ้น จนต้องมีกลุ่มเพื่อนๆ มาช่วย จึงเป็นเหตุผลให้ตนเองตัดสินใจจัดตั้ง บจ. กรุ๊ป เมกเกอร์ ขึ้นมา ซึ่งเริ่มแรกบริษัทรับงานประเภท Project Based เป็นส่วนใหญ่ 

โดยปัจจุบันบริษัทมีพนักงานจำนวน 20 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิศวกรออกแบบ โดยบจ. กรุ๊ป เมกเกอร์มีเครื่องจักรผลิตสินค้าเองทั้งหมด ซึ่งโปรเจกต์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 45 - 60 วัน 


ประยุกต์แนวคิด นำมาผลิตเป็นสินค้า 

คุณธนวรรธน์ เล่าว่า ปัจจุบันบริษัทมีสินค้า 3 ส่วน ได้แก่ 1. RFID (Radio Frequency Identification) 2. ROBOT AGV 3. SMART IoT โดยการผลิตสินค้ามีจุดเริ่มต้นมาจาก ก่อนการจัดตั้งบริษัท อาจารย์ที่ปรึกษาที่มหาวิทยาลัยได้มีการทำวิจัยเรื่องการทำระบบ RFID บริษัทจึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนำมาปรับเปลี่ยนให้เป็นสินค้า ผลิตเป็นรูปแบบเชิงพาณิชย์เพื่อนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับโรงงานต่างๆ ในการพัฒนาโรบอทเพิ่มเติมด้วย 


RFID คืออะไร?

ในเรื่องนี้ คุณธนวรรธน์ ให้ความรู้ว่า RFID จะทำงานเหมือนกับตัวบาร์โค้ดที่เราต้องการระบุข้อมูลว่าสินค้าตัวนั้นคืออะไร โดยที่ไม่ต้องมานั่งคีย์ข้อมูลเอง แต่ตัว RFID ที่ผลิต จะเป็นการอ่านค่าแบบระยะไกล ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ซึ่งอ่านค่าได้จากระยะ 5 -10 เมตร โดยในโรงงานอุตสาหกรรมจะนำใช้มาเป็นเครื่องป้องกันความผิดพลาดของพนักงาน เนื่องจากเครื่องจักร 1 เครื่อง ผลิตหลายโมเดลและมีขั้นตอนหลากหลาย 

บริษัทผลิต RFID โดยจะนำไปติดที่ถาดชิ้นงาน เพื่อให้ทราบว่าสินค้าที่ผลิตใช่โมเดลเดียวกันหรือเปล่า ที่จะมาเข้าเครื่องจักรนี้ หากเป็นโมเดลเดียวกันก็จะอนุญาตให้เครื่องทำงาน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒจาให้ระบบ UHF สามารถอยู่ใกล้กับความชื้นได้ซึ่งสำคัญมากในการอ่านค่า


ถัดมาคือ R-AGV (Robot Automatic Guided Vehicle) สินค้าที่ 2 โดยเป็นหุ่นยนต์ชนิดหนึ่งสามารถเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ต่างๆ ด้วยแผนที่เองได้ สามารถหลบหลีกผู้คน - สิ่งของ ใช้สำหรับขนสินค้าน้ำหนัก 100 - 200 กิโลกรัม 

R-AGV วิ่งด้วยแผนที่จะมีอิสระมากขึ้น ไม่ต้องทำทางเดิน เมื่อนำโรบอทวิ่งสแกนพื้นที่ก็จะได้แผนที่มา จากนั้นก็สามารถสั่งการให้หุ่นยนต์ไปตามที่กำหนดได้ นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นคือสามารถวิ่งได้แม้ไม่ใช่พื้นเรียบ เช่น มีหลุมไม่ใหญ่มาก พื้นที่ลาดเอียง โดยบริษัทดีไซน์ตรงนี้เพื่อช่วยโรงงานแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรง”


สำหรับ SMART IoT มีแนวคิดมาจากระบบของโรงแรมจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเคยทำโปรเจกต์โรงหนัง 4โดยเป็นระบบควบคุมไฟภายในห้องพัก เช่น มีสวิตช์ไฟหัวเตียง จุดต่างๆ ในห้อง ซึ่งการก่อสร้างมีเรื่องของสายไฟ สวิตช์ต่างๆ ซึ่งมีความซับซ้อนเพราะต้องทำให้ใช้การได้ในหลายจุด ทางบริษัทจึงคิดค้นอุปกรณ์ IoT ขึ้นมา เพื่อมาแก้ปัญหาดังกล่าว ช่วยลดคอร์สในการเดินสายไฟต่างๆ ประมาณ 30การก่อสร้างโรงแรมใช้เวลาน้อยลง ควบคุมโดยรับสัญญาณจากกล่องคอนโทรลที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นมา ลูกค้าที่มาใช้บริการห้องพักโหลดแอปพลิเคชันของโรงแรมก็สามารถเปิด - ปิดไฟ ได้จากมือถือ ซึ่งในอนาคตหมู่บ้านที่สร้างใหม่มีแนวโน้มจะใช้ระบบนี้มากขึ้น 

โดยข้อมูลการใช้งานภายในห้องจะถูกเก็บรวบรวมเป็น Big Data ในศูนย์กลาง จากนั้นบริษัทจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ต่อว่าพฤติกรรมการใช้เป็นอย่างไร เพื่อหาวิธีช่วยในการประหยัดไฟ รวมถึงการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด 


ทิศทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต 

FOUNDER & CEO บจ. กรุ๊ป เมกเกอร์ เผยว่า ปัจจุบันธุรกิจหลักจะเป็นการผลิตโรบอทเพื่อจำหน่ายให้กับโรงงาน นอกจากนี้จะเริ่มมีเซอร์วิสตามบ้านหรือโรงพยาบาล เช่น ศูนย์พักคอย โรงพยาบาลสนาม ซึ่งได้เริ่มนำมาใช้งานแล้ว

อนาคตบริษัทเชื่อว่า R-AGV จะได้รับความนิยมจากโรงงานอุตสาหกรรมบ้านเรามากขึ้น เนื่องจากตลาดหุ่นยนต์ในโรงงานเมืองไทยยังเติบโตได้อีกมาก สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ Pain Point ของโรงงาน เช่น ค่าใช้จ่าย หรือเมื่อนำหุ่นยนต์มาใช้พนักงานโรงงานอาจแก้ปัญหาที่เกิดกับ R-AGV ไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้นบริษัทจึงใช้ความเป็น User Friendly ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานโรบอท

“ด้วยสถานการณ์โควิด 19 เป็นตัวเร่ง เทคโนโลยีมีการพัฒนาต่อเนื่อง บวกกับค่าแรงพนักงานในปัจจุบัน น่าจะทำให้หุ่นยนต์เป็นที่สนใจของโรงงานเมืองไทยในอนาคต” 

แม้โรงงานจะนำหุ่นยนต์มาใช้ แต่คนงานจะยังมีงานทำซึ่งอยู่ในส่วนที่ต้องใช้ฝีมือมากขึ้น ส่วนงานรูทีน หรือเสี่ยงอันตรายก็ให้โรบอททำแทน


จากเด็กหนุ่มผู้ชมชอบหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์เป็นชีวิตจิตใจ แล้วเดินตามความฝันตัวเองของคุณธนวรรธน์ โชติศิริ FOUNDER & CEO บจ. กรุ๊ป เมกเกอร์ ส่งผลให้ธุรกิจผลิต Robot ประสบความสำเร็จทั้งในเมืองไทย - ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังไม่หยุดคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีโดยมีเป้าหมายทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักในระดับเอเชีย


รู้จัก ‘บจ. กรุ๊ป เมกเกอร์’ เพิ่มเติมได้ที่

http://www.groupmaker.co.th/?fbclid=IwAR0r1o1Yzzk3LbEgbYJnoCJT0FVxFhPptG4CPiYHon1pMELFzzOp_emIfQk

https://www.facebook.com/Group-Maker-CoLtd-111103572885391/


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
3 | 06/04/2025
ไขรหัสความสำเร็จ “สวนต้องก้าว” ต้นแบบแห่งการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจเกษตรแบบดั้งเดิมสู่มิติใหม่

ไขรหัสความสำเร็จ “สวนต้องก้าว” ต้นแบบแห่งการพลิกโฉมโมเดลธุรกิจเกษตรแบบดั้งเดิมสู่มิติใหม่

เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันเผชิญกับความท้าทายรอบด้าน ทั้งวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรง พฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำคัญกับความยั่งยืน…
pin
7 | 04/04/2025
“Tann Beach Club” การเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่แลนมาร์คภูเก็ต ด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาดและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

“Tann Beach Club” การเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่แลนมาร์คภูเก็ต ด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาดและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

จากโครงการหมู่บ้านจัดสรรแบรนด์คนภูเก็ต สู่การเป็นบีชคลับชื่อดังของไทยที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนหาดกะรน จังหวัดภูเก็ต…
pin
5 | 31/03/2025
จัดจ้าน! ด้านอินโนเวชัน ‘กรุ๊ป เมกเกอร์’ ผลิตหุ่นยนต์สัญชาติไทยเพื่องานอุตสาหกรรม