เปิดดูคลื่นสัญญาณผู้ให้บริการ ใครจะชนะในศึกให้บริการ 5G

SME Update
19/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4010 คน
เปิดดูคลื่นสัญญาณผู้ให้บริการ ใครจะชนะในศึกให้บริการ 5G
banner

สัญญาณ 5G ที่รอคอยกำลังจะมาหลังปิดศึกการประมูล 5G ลงด้วยตัวเลข 100,521 ล้านบาท ที่จะไหลเข้าภาครัฐ จากการออกค่าใบอนุญาตทั้งหมด 48 ใบให้กับผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือหลักในประเทศที่เข้าประมูลในครั้งนี้ ได้แก่ AIS,true,dtac,CAT และ TOT  โดยคลื่น 700 MHz ทำรายได้เข้ารัฐสูงสุด 51,460 ล้านบาท ตามด้วย 2600 MHz ทำรายได้ 37,433 ล้านบาท และ 26 GHz ทำรายได้ 11,627 ล้านบาท

สรุปการประมูลสัญญาณ 5G ในครั้งนี้

- AIS ใช้เงินไปทั้งหมด 42,060 ล้านบาท ประมูลได้ 700 MHz จำนวน 1 ชุด, 2600 MHz จำนวน 10 ชุด, 26 MHz จำนวน 12 ชุด

- True ใช้เงินไปทั้งหมด 21,449.77 ล้านบาท ประมูลได้ 2600 MHz จำนวน 9 ชุด และ 26 MHz จำนวน 8 ชุด

- Dtac ใช้เงินไปทั้งหมด 910.4 ล้านบาท ประมูลได้ 26 MHz จำนวน 2 ชุด

- CAT ใช้เงินไปทั้งหมด 34,306 ล้านบาท ประมูลได้ 700 MHz จำนวน 2 ชุด

- TOT ใช้เงินไปทั้งหมด 1,795  ล้านบาท ประมูลได้ 26 MHz จำนวน 4 ชุด

โดยคลื่นความถี่หลักที่ใช้เดินหน้าสัญญาณ 5G ในประเทศไทยคือ คลื่นความถี่ที่ 700 MHz ซึ่ง กสทช.เคยเปิดให้ AIS ,dtac และ true ยื่นประมูลไปแล้วเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา

- True ยื่นขอรับการจัดสรรชุดที่ 1 ที่เป็นคลื่นช่วง 703713 MHz คู่กับ 758768 MHz

- Dtac ยื่นขอรับการจัดสรรชุดที่ 2 ที่เป็นคลื่นช่วง 713723 MHz คู่กับ 768778 MHz

- AIS ยื่นขอรับการจัดสรรชุดที่ 3 ที่เป็นคลื่นช่วง 723 733 MHz คู่กับ 778 788 MHz

คลื่นความถี่ 700 MHz เป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำที่ถูกกำหนดให้บริการได้ทั้ง 5G และ 4G แต่เนื่องจากว่าเป็นคลื่นที่มาเร็วก่อนเวลา จึงยังไม่สามารถขยายไปสู่ระบบ 5G ได้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่พร้อมและสามารถรองรับ 5G บนคลื่น 700MHz ได้ยังไม่มีในตลาด ผู้ประมูลจึงทำได้แค่นำคลื่น 700 MHz ที่ประมูลได้ในที่ 2562 ไปปรับปรุงระบบ 4G ที่มีให้ดีขึ้น

แต่ในยุคที่เทคโนโลยีกำลังมา การให้กำเนิดบริการ 5G ในปีนี้จึงเป็นไปได้อย่างสูง ดังนั้นการที่รัฐบาลเคยตั้งความฝันไว้ว่าจะให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ให้บริการ 5G ในเขตภูมิภาคอาเซียน จึงไม่ใช้วิมานในอากาศ เมื่อในวันนี้ทุกอย่างพร้อมเดินหน้ากับการพัฒนาการให้บริการ 5G  ที่จะขยายช่องสัญญาณให้ครอบคลุมสมบูรณ์ ด้วยคลื่นความถี่สูง กลาง ต่ำ ผสมกัน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญของ 5G

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


องค์ประกอบของ 5G

กสทช.(2561) ระบุว่า คลื่นความถี่สำหรับ 5G จะมีทั้งย่านความถี่ที่ใช้สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเดิม และย่านความถี่ใหม่เพิ่มเติม โดยสามารถแบ่งย่านความถี่ได้ตามคุณสมบัติของคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันได้ ดังนี้

1. กลุ่มย่านความถี่ต่ำกว่า 1 GHz (Low Band)  เป็นย่านความถี่เพื่อรองรับความครอบคลุมของสัญญาณ(Coverage) เป็นบริเวณกว้าง โดยมีย่านความถี่ ดังนี้

- ย่านความถี่ 900 MHz1800 MHzและ 2100 MHz เป็นย่านความถี่ที่มีการใช้งานสำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications – IMT) ในประเทศไทยในปัจจุบัน

- ย่านความถี่ 700 MHz เป็นย่านความถี่ที่หลายประเทศได้นำมาใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล สำหรับในประเทศไทยปัจจุบันมีการใช้งานในกิจการโทรทัศน์อยู่

2. กลุ่มย่านความถี่ระหว่าง 1 GHz และ 6 GHz (Mid Band)  เป็นย่านความถี่เพื่อรองรับความจุของโครงข่าย (Capacity) โดยมีย่านความถี่ดังนี้

- ย่านความถี่ L-band (1427-1518 MHz) เป็นย่านความถี่ที่การประชุมใหญ่ระดับโลกว่าด้วยวิทยุคมนาคม ค.ศ. 2015 (World Radiocommunication Conference 2015: WRC- 15) ได้กำหนดให้ใช้สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่ สำหรับประเทศไทยปัจจุบันมีการใช้งานในกิจการประจำที่อยู่

- ย่านความถี่ C-band (3300-4200 MHz และ 4400-5000 MHz) ได้มีบางประเทศนำมาเริ่มทดลองใช้สำหรับ 5G โดยย่านความถี่ 3400-3600 MHz มีการระบุเป็นย่านความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล ในข้อบังคับวิทยุของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ในประเทศไทย ย่านความถี่ 3400- 4200 MHz มีการใช้งานในกิจการดาวเทียมอยู่แล้ว และย่านความถี่ 4400-5000 MHz มีการใช้งานในกิจการประจำที่อยู่

3. ย่านความถี่สูงกว่า 24 GHz (High Band)  เป็นย่านความถี่ที่อยู่ในช่วงที่เรียกว่า millimeterwave ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากในระดับมิลลิเมตร ปัจจุบันยังมีการใช้งานคลื่นความถี่ในช่วงนี้ไม่มากนัก มีขนาดความกว้างแถบความถี่ (Bandwidth) ที่กว้างมาก จึงสามารถรองรับความจุได้สูงมาก (ultrahigh capacity) และความหน่วง (latency) ที่ต่ำมาก โดยสถานีฐานส่งสัญญาณได้ครอบคลุมรัศมีขนาดเล็ก ซึ่งจะมุ่งเน้นใช้งานในพื้นที่ที่มีปริมาณการใช้งานสูงหรือมีความต้องการอัตราข้อมูลที่สูง โดยมีย่านความถี่ดังนี้

- ย่านความถี่ 24.25-27.5 GHz, 37-40.5 GHz, 42.5-43.5 GHz, 45.5-47 GHz, 47.2-50.2 GHz, 50.4-52.6 GHz, 66-76 GHz และ 81-86 GHz ซึ่งมีการกำหนดคลื่นความถี่ให้กิจการเคลื่อนที่เป็น2561 ไตรมาส 1 เป็นกิจการหลักในข้อบังคับวิทยุอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในระดับสากล

- ย่านความถี่ 31.8-33.4 GHz, 40.5-42.5 GHz และ 47-47.2 GHz ซึ่งปัจจุบันไม่ได้มีการกำหนดคลื่นความถี่ให้กิจการเคลื่อนที่เป็นกิจการหลักในข้อบังคับวิทยุ

- ย่านความถี่ 27.5-29.5 GHz เป็นย่านความถี่ที่มีการกำหนดให้กิจการเคลื่อนที่ในข้อบังคับวิทยุอยู่แล้ว มีบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อยู่ระหว่างพิจารณาสำหรับนำมาใช้กับ 5 G เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทย ย่านความถี่นี้มีการใช้งานในกิจการดาวเทียมอยู่

 

เปิดศึกส่องคลื่นสัญญาณผู้ให้บริการยุค 5G

หลังจากจบการประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว พอได้ข้อสรุปและมองเห็นทิศทางการให้บริการ 5G จาก 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ของไทยได้ไม่ยาก จากจำนวนคลื่นความถี่ที่แต่ละค่ายถือครอง โดย AIS ยังคงครองแชมป์อันดับ 1 ในเกมการแข่งขันด้วย เป็นผู้บริการที่มีคลื่นความถี่จำนวนมากที่สุดในอุตสาหกรรมขณะนี้ เบอร์สองรองลงมาคือ true และ dtac อดีตเบอร์รอง ที่ตกไปอยู่ในตำแหน่งเบอร์ 3 อีกครั้ง

 

AIS เป็นผู้บริการที่มีคลื่นความถี่ที่จำนวนมากที่สุดในอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 1,450 MHz ประกอบไปด้วย

- คลื่นความถี่ 26 GHz จำนวน 1200 MHz

- คลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน จำนวน 60 MHz

- คลื่นความ ถี่ 900 MHz จำนวน 20 MHz

- คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 40 MHz

- คลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 30 MHz

- คลื่นความถี่ 2600 MHz จำนวน 100 MHz

 

True เป็นผู้บริการที่มีคลื่นความถี่เป็นอันดับสองในอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 1,010 MHz ประกอบไปด้วย

- คลื่นความถี่ 26 GHz จำนวน  800 MHz

- คลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน จำนวน 20 MHz

- คลื่นความถี่  850 MHz จำนวน 30 MHz

- คลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 20 MHz

- คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 30 MHz

- คลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 20 MHz

- คลื่นความถี่ 2600 MHz จำนวน 90 MHz

 

Dtac เป็นผู้บริการที่มีคลื่นความถี่ เป็นอันดับสามในอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 330 MHz ประกอบไปด้วย

- คลื่นความถี่ 26 MHz จำนวน 200 MHz

- คลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 20 MHz

- คลื่นความถี่ 900 MHz จำนวน 10 MHz

- คลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวน 10 MHz

- คลื่นความถี่ 2100 MHz จำนวน 30 MHz

- คลื่นความถี่ 2300 MHz จำนวน 60 MHz

 

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ผู้ให้บริการทั้ง 3 รายหันมาให้ความสำคัญกับคลื่นความถี่สูง รับส่งข้อมูลรวดเร็วอย่างคลื่นความถี่ 26 MHz ที่มีเทคโนโลยี mmWave กันมาก ด้วยสามารถเพิ่มความจุของช่องสัญญาณได้ในปริมาณมหาศาล พร้อมทั้งมีความแม่นยำในการใช้งาน  จัดเป็นคลื่นสัญญาณที่จะเข้ามารองรับนวัตกรรม 5G ต่างๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี


การประมูลในครั้งนี้ทุกค่ายจึงให้ความสำคัญกับคลื่นสัญญาณ 26 MHz ที่ต้องใช้ร่วมกับคลื่นสัญญาณหลักอย่าง 700 MHz เป็นอย่างมาก เพื่อเร่งรุดพัฒนาการให้บริการ 5G ในอนาคตอันใกล้ ที่จะไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่การท่องอินเตอร์เน็ต เล่นเกมได้รวดเร็วเหมือนที่ผ่านมา แต่จะเป็นการให้บริการแบบใหม่ เจาะกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น การสร้างการขาย การคิดเงิน  การขนส่ง การให้บริการสาธารณสุข ตลอดจนการใช้งานแบบปกติทั่วไปบ้านเรือนกันมากขึ้น 

เรื่องราวของ 5G ที่กำลังจะมา ได้กลายเป็นโจทย์ที่ท้าทายให้ทุกค่ายออกแบบการบริการ เพื่อแย่งชิงพื้นที่ถือครองและมูลค่าทางการตลาดที่จะเกิดมีอีกมหาศาล ในยุคการให้บริการ 5G เนื่องจากว่าในขณะนี้ยังไม่มีประเทศใดสร้างโมเดลทางธุรกิจด้วยบริการ 5G ที่มีคลื่นสัญญาณ สูง กลาง ต่ำ ออกมาได้เลย

 

แหล่งอ้างอิง : http://www.ais.co.th/1800MHz/

https://dtacblog.co/story-th/700mhz-dtac/

https://vantage.in.th/2019/06/ais-true-dtac-5g-700mhz/

https://th.wikipedia.org/ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


5G พลิกโอกาส SMEs ไทย

5G จะพลิกโฉมเศรษฐกิจไทย ปี 2020



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1294 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1662 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1917 | 25/01/2024
เปิดดูคลื่นสัญญาณผู้ให้บริการ ใครจะชนะในศึกให้บริการ 5G