ขายออนไลน์ใครก็ทำได้...ถ้าอยากขายดีก็ทำตามนี้เลย

SME in Focus
22/04/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2562 คน
ขายออนไลน์ใครก็ทำได้...ถ้าอยากขายดีก็ทำตามนี้เลย
banner

อีคอมเมิร์ซได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้นทุกวัน เพราะช่วยลดความยุ่งยากต่าง ๆในการสั่งซื้อสินค้า ซึ่งเมื่อก่อนจะต้องเดินไปซื้อที่ร้านขายของหรือไปห้างสรรพสินค้าเท่านั้น แต่ในปัจจุบันสามารถซื้อผ่านโทรศัพท์มือถือได้เลยโดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา  พฤติกรรมของคนไทยมีการซื้อขายสินค้าและบริการอีคอมเมิร์ซมากขึ้นส่งผลให้โต 10-20 % ต่อปี ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคและปัจจัยสนับสนุน ทั้งโลจิสติกส์ อีเพย์เมนต์ ก็พร้อมเต็มที่แต่ก็ยังมีโอกาสให้ SMEs และธุรกิจรายใหญ่ที่สนใจ แม้ทุกวันนี้จะแข่งขันรุนแรงก็ตาม

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

การขายออนไลน์

เข้าถึงผู้บริโภค เฉพาะราย’ ‘กรณีน่าศึกษาของ ลาซาด้า

‘การขายออนไลน์ ใครๆก็ทำได้ แต่จะทำยังไงให้รวย’ วิธีเรียนรู้แบบเรียนลัดที่ดีที่สุดคงต้องดูต้นแบบอย่างยักษ์ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่าง อย่างกรณีของ “ลาซาดา” จะเห็นว่าหัวใจสำคัญที่สุดคือ  ต้องนำเทคโนโลยีมาเข้าใจผู้บริโภค “เฉพาะราย” พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้  ถ้าอยากได้อะไรต้องได้ทันที

เมื่อปีที่แล้วลาซาด้านำ AI มาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าแบบ Personalization เพื่อให้ระบบนำเสนอสินค้า-โปรโมชั่นได้ตรงใจ “เฉพาะราย” แล้วดึงให้กลับมาซื้อซ้ำได้อีก ขณะที่ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” หรือการซื้อสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก คนไทยซื้อถึง 50%

จะเห็นว่าลาซาด้าโฟกัสให้มากขึ้นด้วยการ “ไลฟ์สตรีมมิ่ง” ดึงดูดให้ลูกค้าใช้เวลากับแอปพลิเคชั่นมากขึ้น ทั้งยังเน้นสินค้าหมวดแฟชั่นและบิวตี้ รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์และโมบาย ส่วนกลุ่มประดับยนต์ได้รับการตอบรับดีในตลาดต่างจังหวัด

กล่าวโดยสรุปการตลาดต้องทำทั้งออฟไลน์ ออนไลน์ และจัดตลาด LOL market ทุกไตรมาส ให้ร้านค้าในอินสตาแกรม เฟซบุ๊ก มาเปิดบูทในย่านช็อปปิ้งให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริง ดึงหน้าใหม่ที่ยังไม่ใช่ลูกค้าให้มาสนใจลาซาด้า

ล่าสุดผู้บริหารลาซาดา ได้กำหนดกลยุทธ์สำหรับไทยโดยเห็นว่า เป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพเติบโตได้สูง โดยเฉพาะจากผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล ที่ผ่านมากลุ่มสินค้าที่ขายดี 3 อันดับแรกคือ คือ สุขภาพและความงาม, อิเล็กทรอนิกส์, แม่และเด็ก

ลาซาด้าประเมินว่า กลุ่มผู้ประกอบ SMEs ประมาณ 60% ในภูมิภาคมีความตั้งใจที่จะลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เครื่องมือทางธุรกิจที่ได้รับการบ่งชี้ว่าเป็นการลงทุนที่ควรค่าแก่การลงทุนอันดับต้นๆ เช่น โซลูชั่นการค้าออนไลน์ ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) รวมถึงธุรกิจอัจฉริยะ

ดังนั้นกลยุทธ์ของลาซาด้า มุ่งเข้าไปตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าว ขณะเดียวกันให้ความสำคัญกับการพัฒนาแพลตฟอร์มและเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนการค้าบนโลกออนไลน์ใน 3 ส่วนหลักคือ ยกระดับผู้ประกอบการ พัฒนาประสบการณ์ และผลักดันให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไปอีกขั้น ด้วยการนำความบันเทิงมาสร้างสีสันบนแพลตฟอร์ม เป้าหมายเพื่อสร้างประสบการณ์ชอปปิ้งรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในแบบอินเตอร์แอคทีฟ

จัดโปรฯ ลด แลก แจก แถม เลือกใช้ให้เป็น

ด้านผู้บริหารเครื่องสำอางลอรีอัล”ได้ให้ทัศนะว่า ผู้บริโภคอีคอมเมิร์ซในไทยจะใช้ “ดีล” ส่วนลดเป็นจุดตัดสินใจซื้อ แต่เนื่องจาก “ลอรีอัล” เป็นสินค้าลักชัวรี่จึงเลือกทำโปรโมชั่นที่เป็น “ของแถม” ให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า หรือให้สิทธิพิเศษเมื่อใช้จ่ายได้ตามที่กำหนดแทน ผู้บริโภคไทยชอบปฏิสัมพันธ์กับผู้ขาย เช่น ต้องแอดไลน์คุยกันก่อน และการทำตลาดผ่านไมโครอินฟลูเอนเซอร์มีประสิทธิภาพมาก เพราะคนไทยชอบดูรีวิวจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือว่าใช้งานจริง

สำหรับข้อมูลสถิติของ “ทีวี ไดเร็ค” พบว่าผู้บริโภคเพศหญิงนิยม “ลดราคา” มากกว่าของแถม ขณะที่เพศชายชอบ “ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง” มากกว่า ต้องทำให้ลูกค้าจำได้ ทำโปรโมชั่นให้ตัดสินใจซื้อง่ายเพื่อให้ซื้อครั้งแรกให้ได้ แล้วครั้งต่อไปก็จะง่ายขึ้น ซึ่งบริษัทเน้นกลุ่มอายุ 36 ปีขึ้นไป เพราะกำลังซื้อสูง ฉะนั้นกลยุทธ์ช้อปออนไลน์ต้องจับตลาดให้ไว ส่งสินค้าให้ทัน ปรับตัวให้ไวถ้าไม่เวิร์ก

นอกจากนี้กลยุทธ์ที่แพลตฟอร์มใช้ เพื่อให้มียอดขายสูง คือ การใช้ Zero pricing เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาใช้แพลตฟอร์มมากๆ กลยุทธ์ทั่วไปที่ใช้ คือ การใช้ฟรี ซึ่งไม่มีการสร้างรายได้แต่จะได้ในรูปแบบของข้อมูลแทน ทั้งในเรื่องของข้อมูลการซื้อสินค้า การค้นหาสินค้า การซื้อสินค้าซ้ำ รวมถึงรูปแบบการชำระเงิน และการจัดส่งสินค้า ซึ่งนี่คือ Big Data ที่ใหญ่และมีคุณค่าที่ไม่สามารถแปลงออกมาเป็นตัวเลขเพื่อหามาร์เก็ตแชร์ได้ง่าย ๆ

นอกจากนี้ เจ้าของสินค้ายังต้องหาอะไรที่เป็น Exclusive ที่สามารถซื้อได้เฉพาะในออนไลน์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อหน้าร้านได้ เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้บริโภคในปัจจุบันที่เป็นผู้ซื้อเชิงกลยุทธ์ชอบเลือกซื้อสินค้าจากหลากหลายแพลตฟอร์มที่มีราคาต่างกันอีกด้วย

ลองเอาวิธีที่ธุรกิจรายใหญ่ทำสำเร็จแล้วมาลองปรับใช้ดู เราสามารถนำวิธีคิด รูปแบบการทำธุรกิจ การขายออนไลน์ มาใช้สำหรับธุรกิจของเราเอง พลิกแพลงบ้างตามสถานการณ์ นี่เรียกว่าการก๊อปปี้อย่างมีชั้นเชิง ทั้งไม่ต้องจ่ายค่า R&D


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
146 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
728 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
549 | 10/04/2024
ขายออนไลน์ใครก็ทำได้...ถ้าอยากขายดีก็ทำตามนี้เลย