ชาวนายุคใหม่ เข้าใจตลาด ต้นแบบ Smart Farmer

SME in Focus
16/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 16166 คน
ชาวนายุคใหม่ เข้าใจตลาด ต้นแบบ Smart Farmer
banner

ขณะที่ชาวนาต้องประสบกับปัญหาราคาข้าวตกต่ำเป็นหนี้เป็นสินจากรุ่นสู่รุ่น แต่ก็มีคนรุ่นใหม่ที่เป็นลูกหลานชาวนาไม่น้อย กล้าที่จะกลับมาพลิกฟื้นอาชีพดั้งเดิมของปู่ย่า ตายาย ที่ทำกันมาหลายร้อยปีให้คงอยู่ แต่อาจจะมีการปรับวิธีการทำงานใหม่ นำเทคโนโลยี การจัดการสมัยใหม่มาใช้คนกลุ่มนี้ เรียกว่า สมาร์ท ฟาร์มเมอร์”

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ทั้งนี้หนึ่งในนั้นมี ปรีดาธพันธุ์  จันทร์เรือง” ชาวนายุคใหม่ จ.ชัยนาท อยู่ด้วยคนหนึ่ง  เขาลาออกจากงานในตำแหน่งผู้จัดการด้านบรรจุภัณฑ์เงินเดือน 60,000 บาท แต่เงินเดือนไม่เคยเหลือเก็บ กระทั่งวันหนึ่งได้ไปดูโครงการเกษตรพอเพียง จึงได้ข้อคิดกลับมาว่า ในการทำนานั้นหากลดต้นทุนได้แม้ข้าวจะราคาตก ก็ไม่มีคำว่าขาดทุนแน่ๆ เมื่อความคิดตกผลึกจึงตัดสินใจกลับบ้าน เพื่อจะกลับไปทำนาบนที่ดินกว่า 20 ไร่ของพ่อแม่

เขาตัดสินใจกลับมาทำนาราวๆต้นปี  2557 โดยเริ่มด้วยการศึกษาตลาดก่อนเป็นอันดับแรก พบว่ากระแสคนรักสุขภาพมาแรงคนสนใจสุขภาพมากขึ้น หลังจากนั้นก็ไปศึกษาว่าข้าวชนิดไหนมีคุณสมบัติเป็นยา ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปมา 3 ชนิด คือ ข้าวสินเหล็ก ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวหอมมะลิ

ในช่วงเริ่มต้นขอแบ่งพื้นที่มาทำนาแค่ 4 ไร่ก่อนสำหรับ ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ กับข้าวสินเหล็กอย่างละ 1 ไร่ และข้าวหอมมะลิ 105 อีก 2 ไร่โดยลดต้นทุนด้วยการไม่ใช้สารเคมี ใช้แต่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก โรคแมลงก็แก้ด้วยเชื้อราบิเวอร์เรียกับไตรโคเดอร์มา ทำให้ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึงไร่ละ 900 กก.

ตอนแรกๆ ที่ผลผลิตข้าวออกมาเอาไปขายตามตลาดนัดกลับไม่ค่อยมีคนซื้อเพราะราคาแพง เนื่องจากตั้งราคาขายไว้สูง เขาจึงสมัครเป็นสมาชิกยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งได้รับการแนะนำให้รวมกลุ่ม จึงกลายมาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษเมืองชัยนาท

ขณะเดียวกันก็ปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่โดยสร้างแบรนด์ในนามแบรนด์ “ออริจิไรซ์” พร้อมกับขายข้าวผ่านอินเตอร์เน็ตทั้งเฟสบุ๊ค ไลน์  แต่ที่ดูจะได้ผลมากที่สุดคือการขายผ่านโครงการผูกปิ่นโตข้าว ของกลุ่มจิตอาสาที่เข้ามาช่วยเหลือชาวนาด้วยการจับคู่ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน


ต่อยอดสู่ ข้าวตอกเม็ดแบรนด์ ‘ไบรท์’

หลังจากทำมา 2 ปีกว่า มียอดคำสั่งเข้ามาเยอะมากจนกระทั่งไม่พอขาย โดยเฉพาะข้าวหอม เพราะโครงการผูกปิ่นโตข้าวมาช่วยด้านการตลาดติดต่อลูกค้าให้ และแนะนำให้ควบคุมปริมาณผลผลิต ปลูกเท่าที่ตลาดต้องการเท่านั้น

โดยกลุ่มลูกค้าหลักๆจะเป็นลูกค้าเป็นกลุ่มรักสุขภาพที่มีกำลังซื้อสูง ตลาดจึงเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ มีการจองข้าวล่วงหน้า 1-3 ปี จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 80  บาท ผู้จองจะต้องโอนเงินล่วงหน้า จากนั้นจะมีการรายงานผลการปลูกผ่านไลน์และเฟซบุ๊ก

นอกจากนี้ผลพลอยได้จากการขายทางอินเทอร์เน็ต ยังทำให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่สนใจมาเที่ยวชม และร่วมปลูกข้าวกับชาวนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษเมืองชัยนาทอีกด้วย โดยทางกลุ่มมีโฮมสเตย์รองรับ เมื่อถึงเวลาเกี่ยวข้าวนักท่องเที่ยวก็จะพากันกลับมาเกี่ยวข้าวกลับไป ยิ่งทำให้ลูกค้ารายใหม่ๆเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนไม่ต้องนำข้าวไปขายตามตลาดอีก

หลังจากนั้นปรีดาพันธุ์ยังเข้าร่วมโครงการต่างๆ ต่อยอดวิถีชาวนาอัจฉริยะ หรือ "สมาร์ทฟาร์มเมอร์”ผ่านหลักสูตรการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรสู่การเริ่มต้นธุรกิจ โดยร่วมมือกับบริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อพัฒนาข้าวสู่อาหารเสริม ข้าวตอกเม็ด แบรนด์ ไบรท์ที่ได้รับมาตรฐานการผลิตเพื่อนำไปสู่การส่งออก

สำหรับข้าวที่พัฒนาเป็นอาหารเสริมข้าวตอกเม็ด คือ ไรซ์เบอร์รี่, ทับทิมชุมแพ, ข้าวสินเหล็ก และข้าวหอมมะลิ พัฒนาเป็น 4 รสชาติที่สอดคล้องกับตลาดนิยม คือ โกโก้ สตรอเบอร์รี่ วนิลา และทุเรียน โครงการต่อยอดเพิ่มมูลค่าจากข้าวนี้ ช่วยยกระดับขายทั่วไปในตลาดให้มีมูลค่าจาก 15,000 บาทต่อตัน เมื่อถูกแปลงเป็นข้าวตอกเม็ด พร้อมทานจะขายได้มูลค่าเพิ่มถึง 7 ล้านบาทต่อตันเลยทีเดียว

ความสำเร็จของปรีดาธพันธุ์ ถือเป็นต้นแบบความสำเร็จของการจับมือร่วมกันระหว่างผู้ผลิตโรงงาน และเกษตรกร ร่วมเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า พัฒนาผลิตภัณฑ์เติบโตในตลาดส่งออก ที่จะเป็นโมเดลในการพัฒนาสินค้าเกษตรของไทยต่อไป


อย่างไรก็ตามกว่าปรีดาพันธุ์จะฝ่าด่านปัญหาอุปสรรคกระทั่งประสบความสำเร็จ มาเป็นข้าวตอกเม็ด ไบรท์ ต้องใช้เวลานานพอสมควรต้องมีความอดทน มุ่งมั่นและเรียนรู้ตลอดเวลา แต่ก็นับว่าคุ้มค่ากับเวลาที่รอคอย

 

Smart Farming จุดเปลี่ยนประเทศไทย

สตาร์ทอัพด้านเกษตร การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

แม้ในปัจจุบัน มนุษย์จะมีองค์ความรู้มากขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแทบทุกวงการ มนุษย์ก็ต้องการเครื่องทุ่นแรง เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องต่าง…
pin
2 | 05/02/2025
ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

เสิร์ฟสานความสดใหม่ ร่วมมือร่วมใจเกษตรกรแข็งขัน องค์ความรู้เก่า แนวคิดใหม่ ส่ง “มะเขือเทศราชินี” สู่การแข่งขันจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง…
pin
5 | 04/02/2025
“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

เจาะกลยุทธ์ “น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” สร้างความยั่งยืนธุรกิจ ด้วยแนวคิด ESG เติบโตเคียงคู่ดูแลสิ่งแวดล้อม สู่แบรนด์ระดับโลกช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา…
pin
8 | 21/01/2025
ชาวนายุคใหม่ เข้าใจตลาด ต้นแบบ Smart Farmer