ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม

SME Update
07/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4169 คน
ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม
banner

การพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี หรือ Innovation Driven Economy นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการก้าวนำคู่แข่งและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเท่าทันกับสถานการณ์และบริบทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีเริ่มมีการตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวพร้อมนำมาสร้างสรรค์เป็นบริการและสินค้าใหม่ๆ สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยวิธีการและรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม และยังเป็นแนวทางให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ภายใต้ภาวะการแข่งขันในตลาดโลกที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่าในจำนวนเอสเอ็มอีที่มีอยู่ในประเทศไทยกว่า 3 ล้านราย มีไม่ถึงร้อยละ 1 หรือไม่ถึง 30,000 รายที่มีการใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เอสเอ็มอียังไม่สามารถเข้าถึงงานวิจัยและนวัตกรรม คือ

1. ขาดองค์ความรู้ โดยเฉพาะในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทั้งจากภายในและต่างประเทศ เช่น ข่าวรายวัน ผลงานวิจัยใหม่ ๆ การศึกษาข้อมูลของผู้ประกอบการต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ

2. ขาดเงินทุน เนื่องจากในการผลิตงานวิจัยหรือนวัตกรรมยังมีต้นทุนที่สูง

3. เครือข่ายเชื่อมโยงต่าง ๆ ทั้งจากสถาบันการเงิน สถาบันการศึกษา จึงทำให้ไม่มีโอกาสนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากนัก

4. ขาดกำลังคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ในสถานประกอบการ การขาดเครื่องมือ ระบบดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

5.การกระจุกตัวของการพัฒนานวัตกรรม ที่ส่วนใหญ่ยังอยู่แค่ในระดับส่วนกลาง หรือระดับหัวเมือง จึงทำให้ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาคยังติดอยู่กับรูปแบบธุรกิจเดิมๆ และไม่สามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ได้

สำหรับการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในยุคใหม่จะต้องประกอบด้วย

การพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่เป็นสิ่งใหม่และไม่คุ้นเคย โดยจะต้องเป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่ซ้ำกับสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกัน เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้บริโภค และมีความก้าวล้ำเหนือคู่แข่ง เช่น บริการหลังการขาย การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย สินค้าหรือบริการที่มีหลากหลายฟังก์ชั่นการใช้งาน การสร้างคอนเทนท์หรือการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อต่างๆที่มีความดึงดูดใจ การผลิตสินค้าเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

การเน้นนวัตกรรมที่เกี่ยวกับกระบวนการผลิต จะต้องอาศัยเครื่องมือต่างๆที่มีความทันสมัย สามารถประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและความสามารถในการผลิต รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน นวัตกรรมเพื่อการลดต้นทุน เป็นต้น

การพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมทางการตลาด ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้เทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจแบบก้าวกระโดด โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนมหาศาลเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น การมีระบบจัดเก็บข้อมูล (บิ๊กดาต้า) การใช้โซเชียลมีเดีย การมีระบบสื่อสารใหม่ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับผู้บริโภค เป็นต้น


ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้เอสเอ็มอีเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาธุรกิจจากเดิมเป็นการขับเคลื่อนด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมให้มากขึ้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จึงได้จัดกิจกรรม “Research Connect หรือตลาดต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม ขึ้น เพื่อเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี งานวิจัย และนวัตกรรมระหว่างผู้มีเทคโนโลยี อาทิ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย นักวิจัยผู้ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา และผู้ต้องการใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการเอกชน บุคคลทั่วไป เพื่อนำไปสู่การยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและเศรษฐกิจ

พร้อมนำผลงานวิจัยที่มีความพร้อมต่อการต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มานำเสนอแก่ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้น ภายใต้ 50 กว่าผลงานวิจัยและนวัตกรรม 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรและอาหารแปรรูป กลุ่มพลังงานและสิ่งแวดล้อม กลุ่มการแพทย์และสุขภาพ และกลุ่มซอฟต์แวร์และดิจิทัล อาทิ หลอดกินได้จากข้าวและพืช Soil Moisted ดินปลูกต้นไม้ไม่ต้องรดน้ำ Rice Protein โปรตีนจากข้าวเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์ เครื่องเติมอากาศประหยัดพลังงานแบบไฮบริดจ์ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากสารสกัดกัญชา และ Food Factory Internet of Things Platform (FIoT) ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มนี้ ถือเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตและสร้างมูลค่าได้อย่างมหาศาลในอนาคต และยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท

ขอสินเชื่อ ธุรกิจต้องใช้อะไรบ้าง

สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
3 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
3 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
5 | 11/04/2025
ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม