กฎหมายน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ SME ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร

SME Update
30/10/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 5789 คน
กฎหมายน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ SME ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร
banner

โลกกำลังเชิญความท้าทายในด้านความมั่นคงด้านอาหาร ผลพวงจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การขาดแคลนถิ่นที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขาดแคลนอาหารของประชากรโลกในอนาคต ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมอาหารจึงเป็นหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยที่ได้ชื่อว่าอู่ข้าว อู่น้ำ แหล่งผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก

ภายใต้กฎระเบียบและมาตรฐานของอุตสาหกรรมอาหารนั้น ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่วัตถุดิบทางการเกษตรไปจนถึงการแปรรูป การขนส่ง และการตลาดก่อนจะถึงมือผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการด้านอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาดอาจจะไม่เข้าใจ หรือยังมองข้ามสิ่งเหล่านี้ เราเลยหยิบยกมาให้ทราบว่าในปัจจุบัน มีกฎหมายและข้อบังคับใดบ้างที่ผู้ผลิตอาหารควรให้ความสำคัญ และควรศึกษาไว้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2561 : กฎหมายที่กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรกำหนดกระบวนการตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อควบคุมและส่งเสริมสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัยแก่ประชาชน โดยครอบคลุมสินค้าเกษตรทั้งพืช สัตว์ ประมง และมีข้อกําหนดในการควบคุมกิจกรรมอื่นที่ต่อเนื่องจากการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ การขนส่งสินค้าเกษตร คลังสินค้าเกษตร สะพานปลา โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น กำกับโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

2. พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2550 : เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลสุขอนามัยพืช โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำเข้าและส่งออกสินค้าพืชให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากพืชที่นำเข้ามาในประเทศ รวมการส่งออกพืชไปยังตลาดต่างประเทศ โดยมีกรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานกำกับดูแล

3. พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 : กฎหมายข้อกำหนดให้มีการปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีต่อองค์การระหว่างประเทศ และเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดความยั่งยืน โดยคำนึงถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และการรักษาความสมดุลในระบบนิเวศ และสร้างความมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ทั้งที่มีคุณภาพและสุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน กำกับดูแลโดยกรมประมง

4. พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 : กฎหมายที่ใช้เกี่ยวข้องกับอาหารมากที่สุด คือ เครื่องหมาย อย. ที่กำกับโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีหน้าที่ดูแลการควบคุมคุณภาพของอาหาร คุ้มครองผู้บริโภคโดยมุ่งเน้นที่การขออนุญาต การตรวจสอบ การขึ้นทะเบียน รวมทั้งในเรื่องของการโฆษณาเกี่ยวกับอาหาร

5. พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 : กฎหมายที่สร้างระบบการควบคุม ตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการฆ่าสัตว์ และการขนส่งเนื้อสัตว์ รวมถึงการชำแหละและตัดแต่งเนื้อสัตว์ เพื่อการจำหน่ายให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น และเพื่อสร้างความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย โดยมีกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานกำกับดูแล

6. พ.ร.บ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ : และเพื่อให้มีหน่วยงานหลักที่เป็นกลไกในการกำหนดนโยบาย และกำหนดยุทธศาสตร์ด้านอาหารในมิติด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของอาหาร ความมั่นคงอาหาร และการศึกษาด้านอาหารโดยครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน และมีประสิทธิภาพในลักษณะบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค การส่งเสริมและสนับสนุนการค้าและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอาหาร ทั้งภายในและตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ภายใต้โลกที่กังวลเรื่องปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลภาวะมากขึ้น ดังนั้นผู้ผลิตอาหารตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งก็คือเกษตรกร ผู้ผลิตและแปรรูปในภาคอุตสาหกรรม ตัวแทนจำหน่ายและผู้ส่งออก จึงต้องให้ความสำคัญกับการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อโลก และการตรวจสอบย้อนกลับ และเน้นการผลิตในเชิงคุณภาพ มากกว่าการเน้นปริมาณ

ขณะเดียวกัน ในภาคการผลิตและแปรรูป เพื่อการค้าในประเทศและต่างประเทศ ก็อาจจะต้องศึกษามาตรการด้านอาหารของตลาดแต่ละประเทศด้วย อาทิ ผู้ผลิตอาหารที่มีตลาดในยุโรปอาจจะต้องศึกษาและกฎระเบียบเพิ่มเติมในยุโรป ซึ่งให้ความสำคัญต่อเรื่องอาหารปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมาก

ดังนั้นจะเห็นว่า สิ่งที่ผู้ผลิตอาหารจะต้องเข้าใจ ไม่เพียงมาตรการกฎระเบียบในประเทศ แต่ยังต้องติดตามและทำความเข้าใจ มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ในตลาดต่างประเทศในกลุ่มอาหารด้วย เพราะแนวโน้มจะเป็นความท้าทายใหม่ที่ผู้ประกอบการด้านอาหารในทุกระดับจะต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน


แมลง ‘โปรตีนทางเลือก’ โอกาสตลาดอียู  

5 ความท้าทายใหม่ SME ด้านอาหาร เส้นชัยสู่ความยั่งยืน



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
4 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
4 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
6 | 11/04/2025
กฎหมายน่ารู้ ที่เกี่ยวข้องกับ SME ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร