การขอสินเชื่อเอสเอ็มอีให้ตรงกับศักยภาพธุรกิจ

SME in Focus
10/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2753 คน
การขอสินเชื่อเอสเอ็มอีให้ตรงกับศักยภาพธุรกิจ
banner

บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบการ SMEs ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่ควรขอสินเชื่อ ทั้งไม่ทราบด้วยซ้ำว่าควรขอสินเชื่อเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริง ทำให้บ่อยครั้งขอมากเกินไปบ้าง จนทำให้มีภาวะในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น หรืออาจจะขอน้อยไปจนไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้จริง ซึ่งเรื่องนี้สำคัญมากต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรทำความเข้าใจ

โดยหลักการเบื้องต้นสำหรับสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี คือการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะพิจารณาผู้กู้บนพื้นฐานสำคัญ 3 ด้าน คือ ประวัติทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และ หลักทรัพย์ค้ำประกัน นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์จะพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้ตรงกับประเภทธุรกิจ รวมไปถึงการให้วงเงินที่สอดคล้องกับเป้าหมายการขอสินเชื่อ ดังนั้น นี่จึงเป็นประเด็นสำคัญว่า ทำไม SMEs จึงควรขอสินเชื่อเอสเอ็มอีให้ตรงกับศักยภาพของธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์สูง โดยผู้ประกอบการ SMEs ควรศึกษาเรื่องเหล่านี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


1.วงเงินต้องเหมาะสม : ผู้ประกอบการย่อมทราบดีว่า การขอสินเชื่อนอกจากจะเป็นแหล่งเงินทุนที่นำไปใช้ในธุรกิจแล้ว ยังเป็นภาระของธุรกิจเพราะต้องผ่อนชำระคืน ดังนั้นการขอสินเชื่อก็ต้องขอให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การขอกู้และความสามารถในการชำระหนี้ การขอกู้เงินในจำนวนที่มากเกินไปจะกลายเป็นภาระ อาจจะผ่อนดอกเบี้ยไม่ไหว หากผลประกอบการไม่ได้ตามที่วางเป้า อาจจะไม่มีเงินเพียงพอชำระดอกเบี้ยและเงินต้น และอาจจะกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan :NPL) ในที่สุด

โดยวงเงิน ดอกเบี้ย ระยะเวลา เป็นปัจจัยที่กำหนดความสามารถในการผ่อนชำระ สามารถประเมินเบื้องต้นจากรายได้ หรือกระแสเงินสดรับของธุรกิจว่ามากเพียงพอที่จะผ่อนชำระหนี้หรือไหม ทั้งการขอสินเชื่อที่เหมาะสมจึงไม่ควรทำให้อัตราส่วนภาระหนี้อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อการผ่อนชำระ ทางที่ดีอย่าให้ภาระจ่ายหนี้เกิน 70 % ของรายได้เป็นดีที่สุด โดยหากจำเป็นต้องขอกู้เพิ่มในภายหลัง ก็ยังก็มีโอกาสที่ธนาคารจะให้กู้เพิ่มได้อีก

2.สินเชื่อมีหลักประกัน : สินเชื่อที่มีหลักประกัน เป็นสินเชื่อที่ธนาคารจัดว่ามีความเสี่ยงต่ำ เพราะมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันการกู้ยืม สามารถชดเชยความเสี่ยงจากการให้กู้ได้ ดังนั้น สินเชื่อประเภทนี้จะมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยหลักทรัพย์อาจจะเป็นที่ดิน บ้าน รถ โรงงาน แต่ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่ปลอดภาระ ซึ่งหากธุรกิจมีทรัพย์สินเหล่านี้ ก็ควรที่จะนำมาเป็นหลักประกันเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับสินเชื่อให้สูงขึ้น ดอกเบี้ยถูกลง วงเงินได้มากตามมูลค่าหลักประกัน

3.สินเชื่อไม่มีหลักประกัน การขอกู้แบบไม่มีหลักประกัน มีโอกาสที่จะได้วงเงินไม่สูงนักและอัตราดอกเบี้ยสูง เพราะธนาคารมองว่ามีความเสี่ยงจากการให้กู้ สินเชื่อประเภทนี้จะมีการพิจารณาสินเชื่อที่รอบคอบและระมัดระวังมาก ดังนั้นสินเชื่อแบบนี้ ประวัติผู้ขอกู้จึงมีความสำคัญต่อการพิจารณา หากประวัติทางการเงินดี ผลประกอบการดี การทำบัญชีดีและถูกต้องโปร่งใส โอกาสที่จะได้รับสินเชื่อก็มีมากขึ้นเช่นกัน

4.สินเชื่อแบบกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระ : สินเชื่อประเภทนี้มีระยะเวลาผ่อนชำระชัดเจน จำนวนเงินที่ผ่อนแต่ละเดือนหรือแต่ละงวดชัดเจน ส่วนใหญ่เป็นเงินที่มีวงเงินสูงเหมาะสำหรับการขอเพื่อใช้เป็นเงินลงทุนซื้อเครื่องจักรหรือก่อสร้างโรงงาน

5.สินเชื่อแบบวงเงินเบิกเกินบัญชี : อันนี้คงได้ยินกันบ่อย มักเรียกว่าขอ OD เป็นสินเชื่อที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจ ส่วนใหญ่ใช้หมุนเวียนระยะสั้น หรือใช้เพื่อกรณีฉุกเฉิน อาทิ การเบิกเงินออกมากซื้อสินค้าเพิ่มเติมเพื่อรอการขายในช่วงสั้นๆ นำเงินมาหมุนเวียนธุรกิจ ดังนั้น สินเชื่อแบบนี้ไม่เหมาะที่จะกู้มาขยายกำลังการผลิต


ทั้งหมดนี้เป็นหลักการในเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการ SMEs สำหรับความรู้ด้านสินเชื่อเอสเอ็มอี ที่ควรมีการศึกษาและเข้าใจอย่างชัดแจ้งก่อนการขอสินเชื่อ ทั้งต้องมีการวางแผนที่ดี ต้องใส่ใจกับการเงินของธุรกิจ รวมทั้งต้องมีระเบียบวินัยเพียงพอที่จะจัดการกับการเงินให้เป็นระบบ มีความรู้ด้านสินเชื่อเชิงป้องกันก่อนการตัดสินใจขอสินเชื่อ และที่สำคัญต้องประเมินให้ออกว่า เมื่อไหร่ธุรกิจควรจะขอสินเชื่อเพื่อการขยายธุรกิจเพราะหลายธุรกิจมักเจอปัญหานี้เพราะในยามที่ต้องการใช้เงินทุนจริงๆ แต่ดันเคยกู้มาใช้ไปหมดแล้ว แต่โอกาสที่จะได้วงเงินเพิ่มเพื่อใช้ยามจำเป็นต้องใช้อาจยากขึ้น  ดังนั้นเรื่องนี้ต้องรอบคอบ


ขอสินเชื่อ ธุรกิจต้องใช้อะไรบ้าง

6 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มทำธุรกิจ


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

แม้ในปัจจุบัน มนุษย์จะมีองค์ความรู้มากขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแทบทุกวงการ มนุษย์ก็ต้องการเครื่องทุ่นแรง เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องต่าง…
pin
2 | 05/02/2025
ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

เสิร์ฟสานความสดใหม่ ร่วมมือร่วมใจเกษตรกรแข็งขัน องค์ความรู้เก่า แนวคิดใหม่ ส่ง “มะเขือเทศราชินี” สู่การแข่งขันจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง…
pin
5 | 04/02/2025
“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

เจาะกลยุทธ์ “น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” สร้างความยั่งยืนธุรกิจ ด้วยแนวคิด ESG เติบโตเคียงคู่ดูแลสิ่งแวดล้อม สู่แบรนด์ระดับโลกช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา…
pin
8 | 21/01/2025
การขอสินเชื่อเอสเอ็มอีให้ตรงกับศักยภาพธุรกิจ