SMEs จะติดปีกหลบหลีกอย่างไร ท่ามกลางเศรษฐกิจขาลง

SME Update
28/02/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2368 คน
SMEs จะติดปีกหลบหลีกอย่างไร ท่ามกลางเศรษฐกิจขาลง
banner

ภายหลังมีการออกมาฟันธงว่า การเติบโตของธุรกิจเอสเอ็มอีในปี 2563 จะลดลงเหลือเพียง 2.7% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ถึง 3.5% สาเหตุหลักคือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสูงถึง 58% อาจทำให้ผู้ประกอบการตื่นตระหนกอยู่บ้าง

อย่างไรก็ตามอย่าได้ตื่นตกใจมากเกินไป เนื่องจากรัฐบาลไทยยังเล็งเห็นความสำคัญของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในประเทศ ซึ่งมีจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากกว่า 3 ล้านราย มียอดขายสินค้าคิดเป็น 40% ของจีดีมวลรวม และทำให้เกิดระบบการจ้างงานได้ถึง 14 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่สูงถึง 80-85% ของการจ้างงานในประเทศทั้งหมด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจึงเปรียบเสมือนกลุ่มฟันเฟืองช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมานาน รัฐบาลจึงยกระดับเรื่องของเอสเอ็มอีให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อพยุงให้สามารถข้ามวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ไปได้ ด้วยโครงการ "ต่อเสริมเติมทุนเอสเอ็มอีสร้างไทย" ที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 โดยแบ่งการช่วยเหลือเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. ปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง ให้แก่ SMEs ที่ต้องการสภาพคล่องทางการเงิน  โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีวงเงินค้ำประกัน 60,000 ล้านบาท ให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้เปลี่ยนเครื่องจักรวงเงิน 20,000 ล้านบาท เเละปล่อยกู้เสริมสภาพคล่อง ชำระหนี้ วงเงิน 50,000 ล้านบาท

2. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs  ให้ บสย.ขยายเวลาค้ำประกันเเละปรับเงื่อนไขให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ SMEs เพื่อให้ทำธุรกิจต่อไปได้

3. ปล่อยกู้วงเงินให้กลุ่ม SMEsที่ มีศักยภาพ มากกว่าเเสนล้านบาท  การเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ จะเป็นผู้ที่มีศักยภาพมาก และมีวงเงินปล่อยกู้ให้มากกว่าเเสนล้านบาท จากกองทุน สสว.ปล่อยกู้วงเงิน 50,000 ล้านบาท, เงินกู้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท สินเชื่อ SME ประชารัฐสร้างไทย ธนาคารออมสิน วงเงิน 45,000 ล้านบาท รวมถึงสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยด้วย 10,000 ล้านบาท

จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2562 ที่สะดุดลงจากวิกฤติการณ์ทางการเงินโลก ซึ่งเกิดจากสงครามทางการค้าโลกระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ทำให้เกิดผลกระทบในห่วงโซ่เศรษฐกิจโลกแล้ว สถานการณ์เรื่องเชื้อโควิด-19 แพร่ระบาดในประเทศจีนและหลายประเทศทั่วโลก ยังคงกระหน่ำซ้ำเศรษฐกิจให้ซบลงกว่าเดิม จากความหวั่นเกรงเรื่องการแพร่ระบาดของโรค ทำให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ท่องเที่ยวน้อยลงและมีการเก็บตัวอยู่กับบ้านมากขึ้น ไม่แค่แต่ในประเทศจีน แต่ในประเทศไทยก็เงียบเหงาด้วยเช่นกัน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยฉุดเศรษฐกิจโดยรวมลง ดังนั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องติดปีกหลบ ปรับกลยุทธ์สู้เพื่อให้ผ่าน ณ ช่วงเวลานี้ไปให้ได้

ทั้งนี้ มี เดวิด ฟิสแมน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยโตรอนโตของแคนาดา ได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 ในเมืองอู่ฮั่นให้กับสมาคมโรคติดต่อระหว่างประเทศ (International Society for Infectious Diseases)  หากประเมินช่วงฤดูกาลตามคำพูดของฟิสแมน นักวิจัยแคนาดาที่อยู่ในซีกโลกเหนือ กล่าวว่า

“จากการประเมินข้อมูลชุดแรกที่มีอยู่ ในกรณีดีที่สุดอาจจะต้องรอจนผ่านพ้นฤดูใบไม้ผลิไปถึงฤดูร้อน เมื่อถึงเวลานั้นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก็จะหยุดระบาด” หากประเมินช่วงฤดูกาลตามคำพูดของฟิสแมน นักวิจัยแคนาดาที่อยู่ในซีกโลกเหนือ หมายความว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะระบาดทั่วโลกนานถึงปลายเดือน ก.ย. หรือหยุดระบาดอย่างเร็วที่สุดคือเดือน ส.ค.

หากเป็นเช่นที่นายฟิสแมนคาดการณ์ไว้จริง สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจก็อาจะจะสะดุดต่อเนื่องไปจนเกือบหมดปี 63 เพราะต้องมีระยะฟื้นฟูให้ทุกอย่างกลับคืนสู่ปกติดังเดิมเพิ่มเติมเข้ามา ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจำเป็นต้องหาวิธีรับมือกับการผันผวนทางเศรษฐกิจและตั้งรับปักหลักสู้ดำเนินกลยุทธ์ใหม่ เพื่อพลิกเกมให้ทันท่ามกลางกระแสโลกที่เปลี่ยนเร็ว ซึ่งกลยุทธ์ที่เอสเอ็มอีต้องนำมาปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจสามารถผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจไปได้


กลยุทธ์การเดินเกมธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤติ

1. ปรับตัวให้เร็วในทุกสถานการณ์รอบด้าน

2. ตอบรับเทคโนโลยีให้มากขึ้นตามเทรนด์โลกให้ทัน

3. อ่านเกมให้ไว ติดตามข้อมูลข่าวสารความรู้อย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับใช้ในธุรกิจได้ทันท่วงที

4. ปรับกลยุทธ์เปลี่ยนมาเป็นการวางแผนในระยะยาวเป็นเดือนหรือรายไตรมาส แทนการวางแผนแบบวันต่อวัน เพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและปัจจัยลบต่างๆ ที่รุมเร้า

ทั้งนี้ หากไม่ถอดใจและยังยืนหยัดสู้ต่อไปก็ไม่แน่หรอกว่าในวิกฤติเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ อาจนำมาสู่รูปแบบการทำธุรกิจที่จับพลัดจับผลูแล้วตอบโจทย์ในการทำธุรกรรมที่เปลี่ยนไป และเข้ากับทิศทางการดำเนินงานของตัวเอง จนนำมาสู่รายได้และการเติบโตต่อยอดไปได้ในแบบที่ถ้าไม่มีเรื่องที่เข้ามากดดันก็คงคาดคิดวางแผนไปไม่ถึง เพราะในทุกวิกฤติย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา.

 

แหล่งอ้างอิง : https://news.thaipbs.or.th/content/287746 


เปิด 12 Trends E-Commerce 2020 ที่ธุรกิจ SMEs ต้องรับมือ

Omni Channel เทรนด์นี้กำลังมาน่าจับตาอย่างไร

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
SMEs จะติดปีกหลบหลีกอย่างไร ท่ามกลางเศรษฐกิจขาลง