‘SMEs’ ฟันเฟืองพลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด 19

SME in Focus
15/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2031 คน
‘SMEs’ ฟันเฟืองพลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด 19
banner

วิกฤติโควิด 19 ครั้งนี้แตกต่างจากวิกฤติต้มยำปี 2540 คือ ต้นเหตุไม่ได้มาจากภาคการเงิน แต่ปัญหามาจากภาคเศรษฐกิจเป็นหลักที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จากมาตรการควบคุมโรคระบาดและการปิดเมืองฉุดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำรุนแรงทั้งระบบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบสาหัสสากรรจ์มากที่สุด เพราะเป็นกลุ่มธุรกิจเปราะบางสายป่านสั้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลต้องอัดงบประมาณมหาศาลเพื่อเยียวยาผู้ประกอบการอย่างเร่งด่วนที่สุด เนื่องจาก SMEs เป็นฟันเฟืองสำคัญของระบบเศรษฐกิจทั้งในแง่มูลค่าและการจ้างงาน


โดยที่ผ่านมา SMEs สร้างรายได้ให้กับประเทศมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 43 ต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของประเทศไทย โดยก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีแรงงานทำงานอยู่ในภาค SMEs ทั้งหมดกว่า 14 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85 ของแรงงานทั้งประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการค้าและบริการ ดังนั้นภาครัฐต้องเข้าไปช่วยเหลือให้ผ่านมรสุมนี้ไปให้ได้


สาเหตุที่ภาครัฐต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือ เนื่องจาก SMEs มีสายป่านในการทำธุรกิจสั้นกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ ข้อมูลงบการเงินของ SMEs ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลปี 2560 พบว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่นั้น ส่วนใหญ่มีฐานะทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้อย่างจำกัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยผู้ประกอบการจำนวน 1.7 แสนรายที่ประสบภาวะขาดทุน คิดเป็น 1 ใน 3 ของ SMEs ทั้งหมด นอกจากนี้เมื่อดูผลกำไรจากการดำเนินงานนั้นถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายจ่ายที่เกิดขึ้น


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


หากปล่อย SMEs ล้ม ยากที่เศรษฐกิจไทยพลิกฟื้นเร็ว


ปัญหาดังกล่าวภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทราบเป็นอย่างดีว่า หากปล่อยให้ SMEs ที่มีฐานะการเงินความสามารถในการชำระหนี้และสภาพคล่องที่ค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว ต้องล้มหายตายจากไปทั้งหมด ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม และยากที่เศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวในระยะเวลาอันสั้น จึงจำเป็นต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน เพื่อประคับประคองการดำเนินธุรกิจและรักษาระดับการจ้างงานให้คงอยู่ต่อไป ด้วยการขอความร่วมมือกับสถานบันการเงินของรัฐเข้าไปกอบกู้อีกทาง โดยรัฐบาลและ ธปท. ได้ออกมาตรการตาม พ.ร.ก. การช่วยเหลือทางการเงินที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ได้แก่

1. การเลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนให้กับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดนัดชำระหนี้และไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต

2. สินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (soft loans) แก่ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี นาน 2 ปี วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ย 6 เดือนแรกให้


นอกจากนี้มีการให้สินเชื่อใหม่หรือสินเชื่อเพิ่มเติมผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐสำหรับลูกหนี้ SMEs วงเงินรวม 3.96 แสนล้านบาท ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะช่วยลดภาระการชำระดอกเบี้ยจ่ายให้กับ SMEs ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และเป็นการเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจในอนาคต

 

นักเศรษฐศาสตร์แนะภาครัฐอุ้มทั้งระยะสั้นและระยะยาว


ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์อย่าง ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้จำกัดความเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ว่า ตกอยู่ในสภาพ “เคราะห์ซ้ำกรรมซัด” โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเมื่อพิจารณา “ขนาดของธุรกิจ” แล้วจะพบว่าธุรกิจใหญ่ที่มีสายป่านยาว มีเงินสะสมเยอะก็ยังพอประคองตัวเองไปได้ หรือถ้าเขาลำบากจริงๆ ก็ยังสามารถขอกู้เงินจากธนาคารได้ง่ายแต่ในส่วนของ SMEs ที่มีไซส์ S (ขนาดเล็ก) ปกติจะมีเงินสดอยู่ในมือถือครองอยู่ได้ประมาณ 45-60 วัน ทว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้หาก 90 วัน ไม่มีเงินสดเข้ามาเลย ธุรกิจพวกนี้จะล้มลงระเนระนาดไปทั้งหมด


“SMEs มีการจ้างงานราว 14 ล้านคน หากล้ม คนก็จะตกงานมากขึ้น ส่วนประชาชนก็ใช้เงินอย่างระมัดระวังตัวให้มากที่สุด ยกตัวอย่างคนที่มีเงินอยู่ในมือ 18 บาท จะไม่ได้ใช้จ่าย 18 บาททั้งหมด คนจะคิดมากขึ้น คือจะใช้จ่ายอย่างประหยัดที่สุดอาจแค่ 8 บาท เก็บไว้ 10 บาท เศรษฐกิจมันเลยหมุนช้าลงๆ น้อยลงๆ พอภาคธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทยที่มีจำนวนมากกว่า 3 ล้านราย ต้องมาแย่งเงินที่เหลืออีกแค่ 10 บาท ก็เลยมีการฟาดฟันกันดุเดือดมากขึ้น”


ดร.เกียรติอนันต์ ให้ความคิดเห็นอีกว่า เมื่อธุรกิจกำลังจะตายทุกอย่างก็จะวิ่งกลับไปหายังภาครัฐว่ามีมาตรการช่วยเหลืออย่างไร ซึ่งทางที่ดีที่สุดมาตรการช่วยเหลือในขณะนี้ภาครัฐจำเป็นอย่างยิ่งต้องยื่นมือช่วยเหลือทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ในระยะสั้นก็ต้องให้เงินเขาก่อนเพื่อเป็นการต่อยอดธุรกิจให้สามารถประคองเอาตัวรอดไปได้ ซึ่งเงินพวกนี้พอใส่เข้าไปแล้วมันไม่ได้ก่อนให้เกิดรายได้กลับมาสู่ภาครัฐทันทีต้องรอสักระยะ ขณะเดียวกันมาตรการช่วยเหลือในระยะยาวต้องไม่ทิ้ง เพราะยังไม่มีคำตอบที่สมบูรณ์ว่าอิทธิฤทธิ์ของโควิด 19 นั้นหมดฤทธิ์จากประเทศไทยไปแล้วหรือยัง เมื่อยังไม่มีคำตอบก็ไม่รู้ว่าหลังจากนี้จะมีอะไรเกิดขึ้นอีก ประเทศไทยจะกลับมาระบาดอีกรอบเหมือน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฯลฯ หรือไม่ หากเกิดขึ้นจริงตามที่หลายฝ่ายประเมินตรงกันว่า สถานการณ์จะรุนแรงเกินจินตนาการ


ทุกวันนี้ลมหายใจของเศรษฐกิจไทย คงไม่ต่างไปจากทุกประเทศทั่วโลกที่ถูกโควิด 19 เขย่าจนสั่นสะเทือนไปทุกหย่อมหญ้า แม้ว่าประเทศไทยได้รับการยกย่องจากนานาชาติว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่รับมือกับไวรัสมรณะได้เป็นอย่างดี และเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากโรคระบาดได้รวดเร็วเป็นลำดับต้นๆ ของโลก หากแต่ในมิติของเศรษฐกิจนั้น ดูจะรวยรินเต็มทน

 

อ้างอิง : ธนาคารแห่งประเทศไทย

            https://www.posttoday.com/finance-stock/news/630216 

            ตรวจชีพจร "เศรษฐกิจไทย" ในวันที่ลมหายใจ "ธุรกิจ" รวยริน 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


3 เรื่องรู้แล้วรอดได้ในทุกวิกฤติเศรษฐกิจ 

เตรียมรับมือ! สิ้นปีว่างงานอาจสูงถึง 3 ล้านคน


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

แม้ในปัจจุบัน มนุษย์จะมีองค์ความรู้มากขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแทบทุกวงการ มนุษย์ก็ต้องการเครื่องทุ่นแรง เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องต่าง…
pin
2 | 05/02/2025
ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

เสิร์ฟสานความสดใหม่ ร่วมมือร่วมใจเกษตรกรแข็งขัน องค์ความรู้เก่า แนวคิดใหม่ ส่ง “มะเขือเทศราชินี” สู่การแข่งขันจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง…
pin
5 | 04/02/2025
“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

เจาะกลยุทธ์ “น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” สร้างความยั่งยืนธุรกิจ ด้วยแนวคิด ESG เติบโตเคียงคู่ดูแลสิ่งแวดล้อม สู่แบรนด์ระดับโลกช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา…
pin
8 | 21/01/2025
‘SMEs’ ฟันเฟืองพลิกฟื้นเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด 19