Social Enterprise ธุรกิจดีๆ เพื่อสังคมเข้มแข็ง

SME in Focus
22/08/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3757 คน
Social Enterprise ธุรกิจดีๆ เพื่อสังคมเข้มแข็ง
banner

Social Enterprise หรือเรียกสั้นๆ ว่า SE แปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม เป็นรูปแบบธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาภายใต้วัตถุหลัก คือต้องดำเนินกิจกรรมที่ช่วยเหลือหรือร่วมแก้ปัญหาให้กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อม

แนวคิด SE มีต้นกำเนิดในประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ ถือว่าเป็นต้นแบบของ SE ขณะที่ในประเทศไทยเริ่มรู้จักกันเมื่อราว 10 กว่าปีก่อน โดยมีบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอยู่หลายบริษัท แต่ก็พบว่า SE ในประเทศไทยขยายได้ช้ามาก เนื่องจากไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐเหมือนกับประเทศอื่นๆ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

กระทั้งเมื่อปีที่ผ่านมา มีประกาศพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 และล่าสุดเมื่อเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ก็ได้ประกาศแต่งตั้งนางนภา เศรษฐกร เป็นผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม จึงถือได้ว่าประเทศไทยได้มีกฎหมายและหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งเสริม SE อย่างสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรก

นางนภา กล่าวว่า ประเทศไทยมีการดำเนินงานธุรกิจรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมมานานนับสิบปี แต่ต้องยอมรับว่าขยายตัวช้า เพราะธุรกิจประเภทนี้จำเป็นต้องลงทุนลงแรงมากกว่าการทำธุรกิจเต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมจากรัฐบาลเช่นเดียวกับ SE ในประเทศอื่นๆ

การที่ SE เป็นกิจการที่ต้องลงทุนลงแรงมากกว่าการทำธุรกิจแบบปกติทั่วไป ก็เพราะธุรกิจ SE ไม่ได้เอากำไรเป็นตัวตั้ง แต่ต้องเอาเป้าหมายในการแก้ปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นตัวตั้ง ส่วนกำไรที่ได้ทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งต้องนำกลับไปขยายกิจการ เพื่อให้กิจการที่ดำเนินการนั้นมีความเข้มแข็ง ซึ่งเป็นการขยายผลให้กิจการนั้นๆ สามารถช่วยเหลือสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มที่

 

เงื่อนไขการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม

ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมฯ กำหนดไว้ว่า บริษัทหรือองค์กรที่สามารถจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมได้ ต้องเข้าเงื่อนไขดังนี้ 

1. มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ รวมทั้งเป็นกิจกรรมการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นหรือคืนประโยชน์ ให้แก่สังคมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

2. ต้องมีรายได้มาจากการขายสินค้าหรือบริการไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แต่หากบริษัทหรือองค์กรนั้นไม่นำกำไรมาจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเลย ก็สามารถมีรายได้มาจากการขายสินค้าหรือบริการได้น้อยกว่าร้อยละ 50 (ที่เหลืออาจมาจากการบริจาค)

3. ผลกำไรที่ได้จากกิจการไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ต้องนำกลับไปใช้ในกิจการขององค์กรหรือบริษัทตามเงื่อนไขข้อที่ (1) และสามารถแบ่งผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 30

 

แต้มต่อที่วิสาหกิจเพื่อสังคมได้รับ

นางนภา บอกต่อว่า บางคนอาจสงสัยว่าจะมีใครมากน้อยที่สนใจทำวิสาหกิจเพื่อสังคม เพราะเป็นกิจการที่ผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุนไม่สามารถเอาผลกำไรได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์

“การทำธุรกิจหรือกิจการอะไรก็ตาม คงไม่สามารถหวังประโยชน์ในรูปแบบผลกำไรเพียงอย่างเดียว ที่ผ่านมาก็มีให้เห็นมากมาย หลายคนหลายองค์กรทำเพื่อประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ หลายคนทำเพื่อความสุขที่ได้เห็นผู้คน สังคม หรือสิ่งแวดล้อมดีขึ้น ยิ่งในปัจจุบันเราต่างก็เห็นว่า องค์กรที่ทำเพื่อสังคม เพื่อสิ่งแวดล้อม จะได้รับการยอมรับจากตลาดมากกว่า”

อย่างไรก็ตามการที่จะผลักดันให้เกิด SE ในประเทศไทยให้มากขึ้นนั้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีแต้มต่อเพื่อให้องค์กร SE ที่ตั้งขึ้นนั้นสามารถยืนและเติบโตต่อไปได้ในอนาคต


พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม จึงได้กำหนดสิทธิพิเศษให้กับองค์กรที่จะลงทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนไว้ ประกอบด้วย

1. ความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม

2. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

3. สิทธิประโยชน์ตามมาตรการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามกฎหมาย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

4. สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่น

 

นางนภา กล่าวต่อว่า ดังที่กล่าวแล้วว่าการสนับสนุนให้ SE เกิดขึ้นมากๆ จำเป็นต้องมีแต้มต่อ โดยจากการทำงานเกี่ยวกับ SE มาหลายปี ตั้งแต่สมัยอยู่ในตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พบว่าจำเป็นต้องส่งเสริมคนดีธุรกิจดีอย่างรอบด้าน เพราะการแข่งขันปัจจุบันสูงมาก ดังนั้นสำนักงานฯ จึงได้เตรียมแผนดำเนินงานฝึกอบรมความรู้ให้กับผู้ประกอบธุรกิจ SE ทั้งด้านการบริหารจัดการ การตลาด และการใช้เทคโนโลยี ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสำคัญที่สุด

จดทะเบียน SE แล้ว 130 องค์กร

ปัจจุบันสำนักงานส่งเสริมกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้รับจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมแล้ว 130 องค์กร ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ คิดเป็นมูลค่าจดทะเบียน 4,520 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายในช่วงปีแรกของการจัดตั้งสำนักงาน จะมีการขอจดทะเบียนเพิ่มอีกอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์

นางนภา กล่าวถึงการส่งเสริม SE ว่า การทำธุรกิจรูปแบบนี้จะส่งผลต่อภาพรวมให้สังคมมีความเข้มแข็ง และเมื่อสังคมเข้มแข็งก็จะส่งผลให้ธุรกิจเข้มแข็งไปด้วย ดังนั้นจึงขอเชิญชวนไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก หันมาทำวิสาหกิจเพื่อสังคมให้มากขึ้น  

ขณะเดียวกันก็ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไป สนับสนุนสินค้าหรือบริการของ SE ซึ่งก็เท่ากับทุกคนมีส่วนในการสนับสนุนให้สังคมเข้มแข็งขึ้นด้วย

สำหรับผู้ที่สนใจจะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


7 กฎเหล็กทำธุรกิจที่ปรับใช้ได้ทุกยุคสมัย

เรื่องน่ารู้! เทคนิค BCM เพื่อรับมือความเสี่ยงช่วงโควิด-19


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

แม้ในปัจจุบัน มนุษย์จะมีองค์ความรู้มากขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแทบทุกวงการ มนุษย์ก็ต้องการเครื่องทุ่นแรง เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องต่าง…
pin
2 | 05/02/2025
ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

เสิร์ฟสานความสดใหม่ ร่วมมือร่วมใจเกษตรกรแข็งขัน องค์ความรู้เก่า แนวคิดใหม่ ส่ง “มะเขือเทศราชินี” สู่การแข่งขันจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง…
pin
5 | 04/02/2025
“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

เจาะกลยุทธ์ “น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” สร้างความยั่งยืนธุรกิจ ด้วยแนวคิด ESG เติบโตเคียงคู่ดูแลสิ่งแวดล้อม สู่แบรนด์ระดับโลกช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา…
pin
8 | 21/01/2025
Social Enterprise ธุรกิจดีๆ เพื่อสังคมเข้มแข็ง