Staff Sharing โมเดลแบ่งปันพนักงานรับมือแรงงานขาดแคลน

SME in Focus
30/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2534 คน
Staff Sharing โมเดลแบ่งปันพนักงานรับมือแรงงานขาดแคลน
banner

กรณีศึกษาจากการที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการระงับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19  พร้อมกันกับการเร่งกระตุ้นและพลิกฟื้นเศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซาและแทบไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ตั้งแต่ช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีนปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

โดยรัฐบาลจีนได้ออกมาตรการทางเศรษฐกิจจำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือการเงินมหภาค เช่น การขยายเวลายื่นชำระภาษี การสนับสนุนให้ธนาคารพิจารณาเงินกู้พิเศษสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจลดค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์แก่เอกชน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


โมเดลการแบ่งปันพนักงานหรือ “staff sharing”

แม้รัฐบาลจีนจะเร่งออกมาตรการจำนวนมาก เพื่อส่งเสริมการกลับมาประกอบการและดำเนินการผลิตอีกครั้ง แต่ธุรกิจบางส่วนที่ได้เริ่มเปิดทำการในขณะนี้ กลับยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ในทางกลับกันธุรกิจภาคบริการจำนวนมากโดยเฉพาะโรงแรม ร้านอาหาร และการท่องเที่ยว ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดทำการอย่างเต็มรูปแบบ ก็ต้องแบกรับต้นทุนทั้งค่าเช่าและค่าตอบแทนพนักงานทั้งที่ไม่มีรายได้

สถานการณ์เช่นนี้ได้กระตุ้นให้ภาคเอกชนจีน คิดหาทางร่วมมือกันเพื่อบริหารจัดการภาวะวิกฤต และนำไปสู่โมเดลการแบ่งปันพนักงานหรือ “staff sharing” เพื่อช่วยเหลือกันและกัน โดยธุรกิจที่เปิดทำการแล้วแต่ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน จะได้ประโยชน์จากการยืมตัวพนักงานของธุรกิจที่ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการ หรือยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ มาช่วยแบ่งเบาภาระงานที่ล้นมือของตน ขณะเดียวกันธุรกิจที่ให้ยืมตัวพนักงานก็ได้ประโยชน์จากการลดภาระต้นทุนค่าจ้าง อีกทั้งพนักงานทั้งหมดยังมีรายได้และลดความเสี่ยงของการเลิกกิจการอีกด้วย

อาทิเช่น ในมณฑลยูนนานซึ่งล่าสุดมีการประกาศลดระดับความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ จากระดับ 1 เป็นระดับ 3 แล้วและเริ่มมีสถานประกอบการหลายแห่งกลับมาเปิดทำการ ก็มีภาคเอกชนได้ร่วมมือกันนำโมเดลการแบ่งปันพนักงานมาใช้เพื่อบริหารจัดการแรงงานในภาวะวิกฤตเช่นเดียวกัน

โดยเฉพาะระหว่างกลุ่มธุรกิจภาคการผลิตและภาคบริการที่เปิดทำการแล้ว กับกลุ่มธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารที่ยังไม่สามารถเปิดทำการได้อย่างเต็มรูปแบบ  ทั้งนี้ในภาพรวมเมื่อพิจารณาโดยใช้ลักษณะการทำข้อตกลงจ้างงานเป็นเกณฑ์

 

โมเดลการแบ่งปันแรงงานระหว่างภาคเอกชนจีนอาจจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

1. สถานประกอบการที่ต้องการพนักงาน ทำความตกลงโดยตรงกับลูกจ้างที่ต้องการงานชั่วคราว  ในช่วงที่สถานประกอบการของตนยังไม่สามารถกลับมาเปิดทำการได้ โดยสัญญาลักษณะนี้มักเป็นการจ้างงานแบบไม่ประจำ (part-time job) ในช่วงเวลาที่มีการตกลงกันระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง

2. สถานประกอบการที่ต้องการพนักงาน ทำความตกลงกับสถานประกอบการอื่น  โดยสัญญาลักษณะนี้มักเป็นการยืมตัวพนักงานของสถานประกอบการที่ยังไม่สามารถเปิดทำการได้มาช่วยสนับสนุนงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะมาก ซึ่งผู้ว่าจ้างทั้งสองฝ่ายอาจร่วมสมทบค่าตอบแทนในสัดส่วนที่ตกลงแก่ผู้รับจ้าง และผู้รับจ้างที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานประกอบการอีกแห่งยังคงมีสถานะเป็นพนักงานสังกัดผู้ว่าจ้างเดิม

3. สถานประกอบการที่ต้องการพนักงาน ทำความตกลงผ่านตัวกลาง  โดยรูปแบบนี้ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่เป็นข้อเสนอที่หลายฝ่ายหยิบยกขึ้นมา หากโมเดลการแบ่งปันพนักงานยังเป็นที่สนใจภายหลังวิกฤตโควิด-19 คลี่คลาย โดยตัวกลาง (agent) เช่น ภาครัฐ หรือนายหน้าจัดหางาน อาจเข้ามามีบทบาทในกระบวนการสรรหาและจับคู่สถานประกอบการที่มีความต้องการในด้านนี้ รวมทั้งบริหารจัดการความร่วมมือลักษณะดังกล่าวให้มีมาตรฐานและคุณภาพเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจจีนในภาพรวม

โมเดลความร่วมมือในการแบ่งปันพนักงาน ระหว่างภาคเอกชนจีนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมสถานประกอบการที่กลับมาเปิดทำการและดำเนินการผลิตอีกครั้ง ให้สามารถดำเนินงานอย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการแบ่งเบาภาระด้านต้นทุนให้แก่สถานประกอบการส่วนที่เหลือซึ่งยังไม่สามารถกลับมาเปิดทำการได้


ขณะเดียวกันก็ยังสร้างรายได้ให้แก่แรงงาน ซึ่งจะเป็นปัจจัยส่งเสริมความสามารถในการบริโภคในระบบเศรษฐกิจจีน โมเดลความร่วมมือข้างต้นจึงนับเป็นกรณีศึกษาที่ดี เกี่ยวกับการปรับตัวของภาคเอกชนในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์จากการหันมาร่วมมือกัน ที่สำคัญ ความร่วมมือในภาวะวิกฤตยังสามารถนำไปประยุกต์และต่อยอดเพื่อสร้างความร่วมมือทางธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยยกระดับสภาพแวดล้อมการประกอบธุรกิจในภาพรวมได้อีกด้วย

แหล่งอ้างอิง : https://thaibizchina.com

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<  


กระตุ้นยอดขาย ลดต้นทุนให้ธุรกิจด้วย Chatbot

ลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย จับกระแสได้ไว ด้วย Big Data


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

“Tann Beach Club” การเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่แลนมาร์คภูเก็ต ด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาดและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

“Tann Beach Club” การเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่แลนมาร์คภูเก็ต ด้วยกลยุทธ์อันชาญฉลาดและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น

จากโครงการหมู่บ้านจัดสรรแบรนด์คนภูเก็ต สู่การเป็นบีชคลับชื่อดังของไทยที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนหาดกะรน จังหวัดภูเก็ต…
pin
1 | 31/03/2025
ตีแตกธุรกิจ “โรงแป้งพรกมล” จากระยอง  ผู้ผลิตแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ส่งออกทั่วโลก

ตีแตกธุรกิจ “โรงแป้งพรกมล” จากระยอง ผู้ผลิตแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ส่งออกทั่วโลก

“ข้าว” คือ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของไทย เป็นทั้งอาหารหลักของคนในชาติและพืชเศรษฐกิจส่งออกที่ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด ในปัจจุบัน…
pin
3 | 28/03/2025
“พรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์” 30 ปีแห่งการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้หลัก “รู้จักตัด รู้จักเลือก”

“พรีเมี่ยม อิควิปเม้นท์” 30 ปีแห่งการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ภายใต้หลัก “รู้จักตัด รู้จักเลือก”

ในโลกของธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องจักร และระบบอุตสาหกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง “บริษัท พรีเมี่ยม…
pin
9 | 21/03/2025
Staff Sharing โมเดลแบ่งปันพนักงานรับมือแรงงานขาดแคลน