คลังเดินหน้าปฏิรูปภาษี รับเศรษฐกิจดิจิทัล

SME in Focus
30/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2998 คน
คลังเดินหน้าปฏิรูปภาษี รับเศรษฐกิจดิจิทัล
banner

ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ประเด็นด้านการเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bussiness) ต่างประเทศถุกรัฐบาลหยิบยกมาพิจารณาอีกครั้ง โดยปัจจุบัน พ.ร.บ. ดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของกฤษฏีกา ทั้งคาดว่าจะเสนอสภาพิจารณาได้ภายในปี 2562  เพื่อจัดเก็บภาษีจากผู้ค้าออนไลน์รายใหญ่ต่างประเทศ  รวมถึงการจัดทำระบบ Big Data เชื่อมโยงข้อมูลภาษีกรมจัดเก็บภาษีทั้งสรรพสามิต กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน นำมาวิเคราะห์แผนการจัดเก็บภาษี เพื่อขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมและเป็นธรรมมากขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มอบนโยบายให้ผู้บริหารกรมสรรพากร เพื่อผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างภาษีทั้งระบบรองรับเศรษฐกิจดิจิตอล เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ศึกษาแนวโน้มอัตราภาษีของประเทศเพื่อนบ้าน และดูแลประชาชนทั่วไปให้เป็นธรรม  สำหรับการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือร้อยละ 10 นั้น ต้องพิจารณาหลายปัจจัยให้สอดคล้องกัน ขณะที่ภาษีนิติบุคคลต้องแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน  โดยกรมสรรพากรเตรียมเปิดระบบ Block Chain ในเดือนตุลาคม 2562  ให้บริการภาษียุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง

นายอุตตม กล่าวยอมรับว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกมีปัญหาในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ตุลาคม-กรกฎาคม62) จะเก็บรายได้รวม 1.595 ล้านล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 48,444 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.1 และสูงกว่าปีก่อน 101,846 ล้านบาท กรมสรรพากรยังมั่นใจยอดจัดเก็บภาษีในปี 2562 จัดเก็บสูงกว่าเป้าหมาย 2 ล้านล้านบาท และในปี 2563 คาดว่าจัดเก็บได้ 2.16 ล้านล้านบาท  ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเตรียมอัดฉีดเงินออกสู่ระบบช่วงนี้ ต้องติดตามเร่งรัดอย่างใกล้ชิดเพื่อสู้กับปัญหาเศรษฐกิจโลก  รวมไปถึงส่งเสริมการลงทุนผ่านนโยบายภาษี  สำหรับแนวทางจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 จะครบกำหนดในสิ้นเดือนกันยายนี้ อาจต้องพิจารณาการจัดเก็บให้สอดคล้องกับปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวเพื่อไม่ให้ทุกฝ่ายเดือดร้อน

 

เล็งเก็บภาษี e-Bussiness ต่างชาติเพิ่ม  

ขณะที่นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า  คาดการณ์จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bussiness) ต่างประเทศ หลังจากได้หารือกับผู้ประกอบการรายใหญ่  อย่างเช่น Facebook Alibaba Amazon ได้เตรียมพร้อมระบบรองรับ ซึ่งคาดว่าจัดเก็บรายได้ภาษีเพิ่ม 3,000-4,000 ล้านบาทต่อปี จากการศึกษาแนวทางจัดเก็บภาษีต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เกาหลี และยุโรป ประมาณ 20 ประเทศ บริษัทขนาดใหญ่ ต่างมีธรรมาภิบาลจะไม่ยอมเสียชื่อเสียง แต่รายเล็กทั่วไปต้องระวัง  ยอมรับว่าหลายประเทศส่วนใหญ่จัดเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น สำหรับข้อกังวลการอำนาจในการเรียกเก็บภาษีจากผู้ประกอบการต่างประเทศนั้น 

ทั้งเพื่อรองรับการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการที่ไม่ได้มาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กรมสรรพากรเตรียมยกร่างกฎหมาย (Exchang Of Information) ตามมาตรฐาน OECD เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ ส่งข้อมูลของประเทศสมาชิก เพื่อประเมินรายได้ภาษีระหว่างสมาชิกในการจัดเก็บภาษีการค้าออนไลน์  เนื่องจากทั้งโลกเกิดปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บไม่ได้เมื่อมีการขายสินค้าออนไลน์  รวมทั้งเพื่อลดปัญหาบริษัทต่างชาติไม่ได้ตั้งสำนักงานในประเทศไทย จึงไม่มีอำนาจจัดเก็บภาษี  จึงต้องออกร่างกฎหมายแบบใหม่เหมือนกับฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอีกแนวทางในการออกกฎหมายจัดเก็บภาษีแบบใหม่ สรรพากรจึงต้องศึกษาแนวทางจัดเก็บภาษีร้อยละ 3 ของรายรับจากธุรกรรมที่เกิดขึ้น

นายเอกนิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือร้อยละ 10  ยอมรับว่า รัฐบาลสูญเสียฐานรายได้แน่นอน และมีปัญหาประเด็นความเหลื่อมล้ำตามมา เพราะฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบัน มีผู้ยื่นแบบเสียภาษี 10.7 ล้านรายต่อปี เมื่อคำนวณแล้วจะเหลือผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีมีเพียง 4 ล้านคน ที่ต้องเสียภาษีจริง ส่วนผู้ยื่นแบบคนอื่นได้รับการหักลดหย่อน หรือไม่เข้าข่ายเสียภาษี 


โดยผู้มีรายได้สูงหรือคนรวยประมาณร้อยละ 3 จ่ายรายได้ภาษีให้รัฐบาลสัดส่วนถึงร้อยละ 72 ดังนั้นหากลดอัตราภาษีกระทบรายได้รัฐอย่างแน่นอนและสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำเพิ่มเติมอีก ปัจจุบันรายได้บุคคลธรรมดาประมาณ 4 แสนล้านบาท  ร้อยละ 17  จากบุคคลธรรมดา โดยรายได้กรมสรรพากรทั้งหมด 2 ล้านล้านบาท ดังนั้นการลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องพิจารณาให้รอบคอบ 

ไม่ต้องกลัว! “ภาษีค้าออนไลน์”

โจทย์ใหม่ค้าปลีก พฤติกรรมผู้ซื้อที่เปลี่ยนไป !


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
108 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
353 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1221 | 01/04/2024
คลังเดินหน้าปฏิรูปภาษี รับเศรษฐกิจดิจิทัล