สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ

SME in Focus
22/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 8518 คน
สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ
banner

ปี 2562 ถือว่าเป็นปีที่เกษตรกรไทยเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งหนักสุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมาเนื่องจากฝนทิ้งช่วงนานนับเดือนโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง(อีสานใต้)ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิชื่อดังระดับโลก หากช่วง 3 เดือนโค้งสุดท้ายของปีนี้ฝนยังไม่ตกอีกโอกาสที่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างชาติคงไม่ได้รับประทานข้าวหอมมะลิในฤดูกาลผลิตปีนี้ทำให้ต้องรอไปถึงฤดูกาลเพาะปลูกปีหน้าเลยทีเดียว

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


อุตสาหกรรมเกษตรของไทยรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างให้ความสำคัญและสนับสนุนส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมเกษตรเพราะเป็นสันหลังของประเทศ ซึ่งประชาชนมากกว่า 90% ล้วนยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบาย ครัวไทยสู่ครัวโลก” ผลักดันให้ความสำคัญยิ่งยวดกับชาวไร่ชาวนาพร้อมขับเคลื่อนสานต่อนโนบายเพื่อประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารเติบโตไม่มีวันซบเซา ยิ่งปีนี้เกษตรกรชาวไทยเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งคุกคามอย่างหนัก ทำให้ผลผลิตออกสู่ท้องตลาดน้อย ทำให้แนวโน้มราคาเกษตรจะปรับตัวแพงขึ้นอย่างมาก เพราะสินค้าขาดตลาด ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งประเทศเพื่อนบ้านก็เผชิญกับภัยพิบัติธรรมชาติไม่แพ้กัน ดังนั้นจึงเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานนี้เพราะตราบใดที่ประชากรทั่วโลกยังคงบริโภคอาหารดำรงชีวิตอุตสาหกรรมภาคเกษตรกรรมไม่มีวันเสื่อมสลาย

 

แนวโน้มเกษตรอาหารยังไปได้สวย

ในปี 2562 ต่อเนื่องปี 2563 แนวโน้มอุตสาหกรรมภาคเกษตรกรรมของไทยยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุตสาหกรรมปศุสัตว์ยังคงเติบโตไม่แพ้กัน ประกอบด้วย ความต้องการสินค้าปศุสัตว์แปรรูปโดยเฉพาะสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปจากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น ประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์และเกาหลีใต้ ที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี

ส่วนเทรนด์การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตอบสนองกลุ่มคนยุคสมัยใหม่ก็กำลังมาแรง ไม่ว่าจะเป็นทุกเพศทุกวัยต่างก็หันมาเลือกบริโภคอาหารปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่ผลิตภัณฑ์อาหารของไทยที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน โดยตรง เช่น สินค้ากลุ่มผลไม้สด,ผลไม้แปรรูป,อาหารแปรรูป,อาหารทะเลแปรรูป/อาหารทะเลปรุงแต่ง เป็นต้น

ทั้งมีกลุ่มสินค้าที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าและคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องซึ่งมีจำนวน 8 กลุ่มด้วยกัน ประกอบด้วย 1.ไก่ 2.ปลาทูน่าปรุงแต่ง 3.กุ้ง 4.มันสำปะหลัง 5.เครื่องปรุงรส 6.มะพร้าว 7.สับปะรด และ8.อาหารพร้อมรับประทาน  ส่วนกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว และน้ำตาลทราย โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ข้าว ไก่ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง

ข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้บูรณาการรวบรวมข้อมูลร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประเมินว่ามูลค่าการส่งทะลุ 1,120,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.5% จากปี 2561 ซึ่งปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการเติบโต ได้แก่

1. การปลดล็อกใบเหลืองประมงไทยของสหภาพยุโรปที่ทำให้ประเทศคู่ค้าเกิดความเชื่อมั่นในสินค้าประมงไทยมากขึ้น

2. สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ต้องการของตลาดอาเซียน โดยเฉพาะกลุ่มตลาด  CLMV ที่ประกอบไปด้วยกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งสินค้าไทยครองตลาดไม่ต่ำกว่า 50-60%  รวมทั้งตลาดอาเซียนเดิมที่เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าประเภท ข้าว น้ำตาล มันสำปะหลัง อาหารแปรรูป รวมทั้งอาหารฮาลาล

3. ราคาพลังงานอยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพ

4. การเมืองไทยมีความชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ แต่ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบคือสงครามการค้า ค่าเงินบาทแข็งค่า

 

ไทยผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก

ขณะที่การส่งออกอาหารของไทยเมื่อปี 2561 มีมูลค่า 1,031,956 ล้านบาท หรือมูลค่า 32,190 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.6% และ 7.3% ในรูปเงินบาทและดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับ ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 12 ของโลก ปรับตัวดีขึ้น 2 อันดับ จากอันดับที่ 14 ของโลกในปี 2560 สินค้าส่งออกอันดับ 1 ยังคงเป็นข้าว มีสัดส่วนส่งออก 17.5% มูลค่าส่งออก 180,116 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ไก่ 10.7% มูลค่าส่งออก 110,116 ล้านบาท อันดับที่ 3 ถึงอันดับที่ 5 คือ น้ำตาลทราย ปลาทูน่าปรุงแต่ง และกุ้ง สัดส่วน 8.5%, 7.1% และ 5.7% ตามลำดับ

ส่วนในภูมิภาคเอเชีย ประเทศญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกอาหารรายใหญ่ของไทยอันดับ 1 รองลงมา ได้แก่ จีน, เวียดนาม , อินโดนีเซีย , เมียนมา , กัมพูชา , มาเลเซีย  และฟิลิปปินส์  จะเห็นได้ว่าตลาดอาหารสำคัญของไทย 6 ใน 8 ประเทศตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน แต่หากพิจารณาในกลุ่มภูมิภาค จะพบว่าอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีมูลค่าส่งออก 293,172 ล้านบาท แต่กระนั้นปัญหาเงินบาทแข็งปรับค่ามากที่สุดในโลก


นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า สินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปทั้งหมดมีปัญหาการแข่งขันราคาในตลาดโลกสู้คู่แข่งไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องหาทางออกร่วมกับภาคเอกชนเพื่อให้ค่าเงินบาทอยู่ในระดับที่เหมาะสมจะได้ทำให้สินค้าส่งออกของไทยสามารถเกิดการแข่งขันได้ในตลาดโลก

แม้ว่าปีนี้เกษตรกรไทยประสบปัญหาภัยแล้งคุกคามทั่วประเทศทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับผลกระทบอย่างหนักเนื่องจากฝนตกไม่เป็นตามฤดูกาล แต่วิกฤติที่เกิดขึ้นยอมเป็นโอกาสเพราะประเทศไทยไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยวแต่ละพื้นที่ทำการเกษตรตามภูมิศาสตร์ของแต่ละจังหวัดแต่ละภูมิภาคทำให้ประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ไม่เพียงแต่ยึดอาชีพทำเกษตรกรรมเท่านั้น ชาวไทยอีกจำนวนมากหันมาทำปศุสัตว์ เปิดฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง ฯลฯทำให้สามารถทดแทนกันได้

นายสังวน ดาปาน เกษตรกร อยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ 2 ต.หนองลาน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี บอกว่า ก่อนหน้านี้ได้ทำการเกษตรทุกอย่างตามฤดูกาล แต่ส่วนใหญ่มักจะขาดทุนเพราะราคาพืชผลขึ้นลงไม่แน่นอน จึงหันมาประกอบอาชีพทำวัวขุนขายซึ่งเป็นเกษตรการรายแรกของหมู่บ้าน ปัจจุบันดำเนินมาแล้วกว่า 25 ปี มีรายได้หลายหมื่นบาทต่อเดือน

โดยการขุนวัวแต่ละคอก คุณสังวนใช้เวลาขุนประมาณ 6 เดือน เพื่อให้มีน้ำหนัก 400 กิโลกรัม ขึ้นไป ส่วนใหญ่คุณสังวนจะขุนวัวไม่ถึง 6 เดือน เพราะเมื่อวัวเริ่มอ้วนเริ่มสะสมไขมันก็จะมีคนมาซื้อไปขุนต่อ โดยอัดอาหารเต็มที่ ขุนต่ออีกประมาณ 1 เดือน ก็ขายได้แล้วซึ่งแต่ละตัวขายได้ไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นบาท



อุตสาหกรรมภาคการเกษตร ยังคงเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่อยู่คู่ประเทศไทยไปอีกยาวนาน ตราบเท่าที่รัฐบาลยังให้ความสำคัญเกษตรกรชาวไทยที่ สำคัญรัฐบาลต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไทยได้ลืมตาอ้าปากได้เหมือนเกษตรกรประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ทำแล้วไม่ติดหนี้ติดสินเหมือนเกษตรกรชาวไทย

ประเด็นที่ท้าทายในธุรกิจอาหารฮาลาล

แนะเกษตรเน้นตลาดเฉพาะกลุ่ม เสริมด้วยนวัตกรรม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
243 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
409 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
326 | 20/03/2024
สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ