สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการโดยองค์การอนามัยโลก(WHO) แล้วว่าโควิด-19 (Covid-19)
กำลังเข้าขั้นวิกฤติก็ว่าได้ หลังพบเชื้อโรคขยายพื้นที่ลุกลามไปในหลายประเทศอย่างยากจะคุมได้
และตัวเลขนี้ยังคงรันสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดนิ่งทุกชั่วโมง
กลายเป็นสถานการณ์ลุกลามแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายที่ผู้คนหวั่นกลัว เพราะเจ้าเชื้อโควิด-19 นี้สามารถคร่าชีวิตผู้คนลงได้ภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ดังที่ปรากฏขึ้นแล้วในผู้ป่วยประเทศอิหร่าน สถานการณ์ของโรคจึงดูรุนแรงน่ากลัว จนดูเสมือนว่าเชื้อได้วิวัฒนาการการเข้าทำลายระบบทางเดินลมหายใจของผู้ป่วยได้เร็วขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น เป็นที่หวาดกังวลจนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศไทย ที่ออกอาการอ่วมหนัก เพราะพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลักมานาน
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร
ด้วยสถานการณ์ที่แพร่ระบาดแบบฉุดไม่อยู่และยากจะควบคุม
โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศจีนตลาดส่งออกของไทยที่สำคัญยืนหนึ่งมานาน จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์ในปี
2561 เผยว่ายอดการส่งออกสินค้าของไทยในปีนี้ มีมูลค่าสูงถึง 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8.09 ล้านล้านบาท
โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกหลัก
มีมูลค่าการส่งออก 9.6 แสนล้านบาท
ตามมาด้วยตลาดญี่ปุ่นเป็นอันดับ 4 มีมูลค่า 7.9 ล้านบาท และตลาดฮ่องกงเป็นอันดับ 5 มีมูลค่า 4
แสนล้านบาท ก่อนจะค่อยๆ ดาวน์ลงมาเป็นติดลบในปี 2562 จากสถานการณ์เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง
และกำลังกลายเป็นเรื่องใหญ่เมื่อโควิด-19 แพร่ระบาดสร้างความเสียหายในประเทศ จีน
ญี่ปุ่น ฮ่องกง แถมด้วยเกาหลีใต้ และ สิงคโปร์
ซึ่งติดโผเป็นพื้นที่พบผู้ติดเชื้อมากติด 1 ใน 10 ประเทศแรกที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด
นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์
ประธานการประชุมวอร์รูมระหว่างกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ส่งผลกระทบ 4 ด้านหลัก คือ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกที่เกิดจากการชะลอตัวของจีน, ผลกระทบด้าน supply chain ในภาคอุตสาหกรรม
ผลกระทบด้านโลจิสติกส์ต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทย และผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจการค้าในประเทศ
สำหรับประเทศไทยสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19
ที่แพร่ระบาดในประเทศจีนและประเทศอื่นๆ จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ ดังนี้
1. การเติบโตของธุรกิจ SMEs ในปี 2563 จะลดลงเหลือ 2.7% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตได้ถึง
3.5% ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทบต่อภาคการท่องเที่ยวซึ่งมีสัดส่วนผู้ประกอบการสูงถึง
58% (วิมลกานต์ โกสุมาศ,2563)
2. เกิดผลกระทบทั้งอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก และหลายสายการบินต้องออกมาตรการพยุงธุรกิจ
โดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเบอร์หนึ่งของประเทศ โดยนายนเรศ
ผึ้งแย้ม ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย เผยว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ส่งผลกระทบรุนแรงต่อบริษัทอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
อีกทั้งยังไม่ทราบว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงเมื่อไหร่
ดังนั้นเพื่อรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ บริษัทจำเป็นต้องดำเนินมาตรการต่างๆ
ที่อาจมีผลกระทบต่อผู้บริหารและพนักงาน
โดยจะประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการหลังจากนี้ และขอความร่วมมือจากพนักงาน
เพื่อรักษาการบินไทยและไทยสมายล์ ให้อยู่รอดไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
3. การส่งออกสินค้าระหว่างไทย-จีนเกิดข้อยุ่งยากและมีปัญหาความยุ่งยาก
เนื่องจากจีนเป็นตลาดส่งออกหลักสินค้าของไทย ในระยะสั้นจึงมีการ disrupt จากปัญหาการขนส่งและมาตรการจำกัดต่างๆ ของจีน
4. ภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ
หยุดชะงัก เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นสูง
โดยประเทศไทยต้องพึ่งพาการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์จากจีน เมื่อประเทศจีนประกาศปิดเมืองจึงทำให้สายการเดินเรือระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ
ต้องปิดการเดินเรือชั่วคราว ประกอบกับโรงงานผลิตรถยนต์ในมณฑลหู่เป่ย
และเมืองกว่างโจวที่ปิดทำการผลิตชั่วคราวด้วย ทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทานการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในหลายๆ
ประเทศรวมถึงประเทศไทย
5. การส่งออกสินค้าเกษตรไปประเทศจีนได้รับผลกระทบและอาจเกิดความเสียหายระหว่างการขนส่งได้จากปัญหาการขนส่ง
ซึ่งสินค้าเกษตรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบที่ผ่านมา
ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว ลำไยสด เนื่องจากมีการส่งออกในช่วงต้นปี ในขณะที่มีการปิดเมืองและปิดท่าเรือหลายแห่ง
นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ของข้าวที่มีการส่งออกไปเมืองอู่ฮั่นที่มีปริมาณสูงถึง 53%
ทุเรียนสด มังคุดสดที่จะมีการส่งออกมากในช่วงเมษายน
และยางพาราที่ส่งออกมากสุดในช่วงเดือนมิถุนายน ให้รัฐต้องหามาตรการรองรับกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ในขณะนี้
กัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สินค้าที่ได้รับผลกระทบ คือ ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไม้ยางพารา กุ้ง ที่ไม่สามารถนำเข้า ถึงแม้ว่ารัฐบาลจีนจะเริ่มให้โรงงานอุตสาหกรรมเปิดการผลิตตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ.แต่ความเป็นจริงพนักงานสามารถกลับมาทำงานเต็มที่เพียงแค่บางส่วนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเท่านั้น
เศรษฐกิจการท่องเที่ยวซบหนัก
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า
ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยลดลงอย่างมาก
คาดว่าจะมีการสูญเสียรายได้เบื้องต้นประมาณ 3 แสนล้านบาทในช่วงต้นปี
หากสามารถยุติไวรัสโควิด-19 ได้ในเดือนมีนาคม กว่าระบบทั้งหมดจะฟื้นตัวเข้าสู่สภาพเดิมได้จะกินเวลาไปจนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
ซึ่งจะทำให้เสียโอกาสที่จะมีเงินไหลเข้าประเทศจากธุรกิจการท่องเทียวไป 5 เดือน
ที่ถ้าคิดเป็นมูลค่าการสูญเสียจะเท่ากับว่าประเทศไทยสูญเสียรายได้ไปประมาณ 3
แสนล้านบาทจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ครั้งนี้
สถานการณ์ไวรัสโควิด-19
ที่แพร่ระบาดในครั้งนี้ไม่ใช่แค่เพียงจะคร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกให้เพิ่มจำนวนต่อเนื่องเพียงเท่านั้น
แต่ยังคงสร้างความเสียหายถึงระบบเศรษฐกิจประเทศ
ลงลึกไปจนถึงเศรษฐกิจระดับโลกและรายประเทศ
แหล่งอ้างอิง :
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867333
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/867333