ยกเครื่อง "ยางพาราไทย" สู่มาตรฐาน FSC

SME in Focus
31/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 17182 คน
ยกเครื่อง "ยางพาราไทย" สู่มาตรฐาน FSC
banner

แม้ว่ายอดการส่งออกของไทยจะปรับตัวลดลงจากปัญหาสงครามการค้า กระทบต่อเศรษฐกิจโลก และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ "สินค้ายางพารา" ยังถือเป็นไม้เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้จากการส่งออกกลับสู่ประเทศ มูลค่าถึง 4,602 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 และล่าสุดในช่วง 10 เดือนแรก 3,516 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.7% ของการส่งออกภาพรวม และเกี่ยวพันถึงเกษตรกรกว่า 1.7 ล้านคนในพื่นที่ 17 ล้านไร่

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในปีหน้าการส่งออกไม้เศรษฐกิจสำคัญชนิดนี้ กำลังจะต้องเผชิญความท้าทายอีกครั้ง เนื่องจากองค์การสหประชาชาติและประเทศผู้ซื้อยางและไม้ยางพารา กำหนดให้ประเทศผู้ผลิตน้ำยางและไม้ยางพารา ต้องผ่านมาตรฐานสากลการจัดการสวนป่าที่ยั่งยืนทั้ง Forest Stewardship Council หรือ FSC และ Program for the Endorsement of Forest Certification หรือ PEFC  หากประเทศผู้ส่งออกรายใดไม่ผ่านมาตรฐานนี้ มีความเสี่ยงที่ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัทผู้ใช้ยางในสหภาพยุโรป เช่น อิเกียผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์จากสวีเดน หรือ มิชลิน ผู้ผลิตล้อยางจากฝรั่งเศส จะไม่ซื้อยางพาราดังกล่าว

ในส่วนการเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ "ไทย" ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกยางพาราที่สำคัญของโลก ได้พัฒนา “ระบบการรับรองการจัดการป่าไม้ของไทย หรือ Thailand Forest Certification System (TFCS) อย่างเป็นทางการ และได้รับการรับรองมาตรฐานเทียบเท่าสากลแล้ว นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา

ระบบดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวข้องกับการค้าไม้ ทั้ง ธุรกิจโรงเลื่อย และไม้ยางพารา, ไม้เพื่อพลังงาน, ไม้ประกอบ, เฟอร์นิเจอร์, ของเล่นเด็ก, ไม้เพื่อการขนส่งและบรรจุภัณฑ์  ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปขอออกใบรับรองถึงต่างประเทศอีกต่อไป และหากได้รับการรับรองจะช่วยให้สามารถขายได้ในมูลค่าที่สูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ผศ.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กล่าวว่า รัฐบาลต้องแนวทางเร่งด่วน โดยกำหนดเรื่องนี้ให้เป็นวาระแห่งชาติเร่งพัฒนาศักยภาพการทำสวนยางทั้งระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งกำหนดหรือสร้างองค์กรที่มีภารกิจในการรับมือ เจรจา และสร้างการรับรู้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพ สร้างความพร้อมของชาวสวน และผู้ประกอบการ


ขณะเดียวกันต้องสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการป่าไม้ของไทย หรือ forest management standard for Thailand บนพื้นฐานของงานวิจัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก FSC หรือ PEFC พร้อมทั้งต้องวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมจากการจัดการสวนยาง เพื่อรองรับการตรวจมาตรฐานภายใน 1-2 ปีนี้ และเร่งรัดเพิ่มศักยภาพให้สวนยางไทย ผ่านมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติ

สอดรับกับบทวิเคราะห์เรื่องการปลูกยางพาราอย่างยั่งยืน ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประจำกรุงเบอร์ลิน ที่ระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานานาชาติได้มีความคาดหวังเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ที่ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคม ซึ่งจะทำให้การทำธุรกิจยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจยางพารา ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญ เพราะสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้จำนวนมาก อาทิ ถุงมือยาง ล้อยาง เบาะ และถุงยาง เป็นต้น

การปลูกยางพารานั้นมีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่นเดียวกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ดังนั้น หากมีการพัฒนาการปลูกยางด้วยเทคโนโลยีทีทันสมัย สร้างความยั่งยืนโดยยึดหลักการด้านเศรษฐกิจและสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ หรือ  UNGPs ( The United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights) ประกอบด้วย 3 เสา คือรัฐบาลต้องกำหนดกฎกติกาที่ชัดเจน เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบของภาคเอกชน และการจัดตั้งกลไกการตรวจสอบข้อร้องเรียนมาสนับสนุน ทั้งหมดนี้จะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ 


5 กรณีการใช้ IoT เพื่อการทำเกษตรอัจฉริยะ

แนวโน้มอุตสาหกรรมถุงมือยาง ปี 2563


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
4 | 18/04/2025
“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิต “วัตถุดิบโลหะ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร…
pin
7 | 11/04/2025
เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
10 | 06/04/2025
ยกเครื่อง "ยางพาราไทย" สู่มาตรฐาน FSC