ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรม นับตั้งแต่ต้นปี 2563 หดตัวอย่างรุนแรง โดยกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้คาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ในช่วง 14 -16 ล้านคน ลดลงร้อยละ 64.8 จากปีก่อน และมีรายได้ประมาณ 8.28 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 57.8 และมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย ลดลงร้อยละ 41.7 มีรายได้เพียง 4.02 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 63.6 จากปีก่อน นอกจากนี้ยังมีการประเมินการสูญเสียรายได้ของธุรกิจโรงแรม จากผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวอยู่ในช่วงติดลบประมาณ 279,293.2-418,440.3 ล้านบาท
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยจะยังไงต่อ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลายธุรกิจที่เกี่ยวพัน
เช่น สายการบิน โรงแรม บริษัททัวร์ และสาขาอาชีพ เช่น กลุ่มธุรกิจ MICE (Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions) บริษัทเช่ารถ เรือสำราญ ไกด์นำเที่ยว พิพิธภัณฑ์ ไปจนถึงแหล่งช้อปปิ้ง
ร้านค้า และร้านอาหาร ดังนั้นจึงมีอาชีพเป็นจำนวนมากในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ
(United Nations World Tourism Organization - UNWTO) ประเมินเสี่ยงตกงานจากผลกระทบจากการโควิด
19
หลังรัฐบาลคลายล็อกมาตรการต่างๆ พร้อมกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ
ผ่านงบประมาณ 22,400 ล้านบาท
ในการดำเนินมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ภายใต้ชื่อ "เราไปเที่ยวกัน"
และ "เที่ยวปันสุข" โดยกระทรวงการคลังประเมินว่ามาตรการ
"เราเที่ยวด้วยกัน" จะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า
50,000 ล้านบาท และส่งผลให้จีดีพีมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.2-0.3%
จากที่หลายสำนักพยากรณ์ทางเศรษฐกิจเคยคาดการณ์ไว้ว่าจีดีพีปีนี้มีโอกาสติดลบตั้งแต่
5-10%
ผลจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
พบว่ามีการท่องเที่ยวภายในประเทศเฉพาะวันศุกร์
เสาร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นการท่องเที่ยวแบบครอบครัว
มีการใช้จ่ายอย่างประหยัดหรือมีค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 3 พันบาท
โดยจังหวัดที่เคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวน้อยจะสามารถอยู่ได้ อาทิ
จังหวัดในภาคอีสาน ยกเว้นจังหวัดที่เคยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลักจะอยู่ไม่ได้
โดยมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ ไม่สามารถกระตุ้นความมั่นใจด้านความสามารถในการหารายได้ให้เกิดขึ้นภายในครัวเรือนได้
เพราะแรงงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
6-7 ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อย (เอสเอ็มอี) รวมถึงแรงงานภาคงานบริการโรงแรมอีก
1.6-1.8 ล้านคน และธุรกิจโรงแรมกว่า 90% ยังอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการปิดกิจการและตกงาน
ทำให้คนที่สามารถท่องเที่ยวตอบสนองนโยบายรัฐได้ในช่วงนี้ คือคนรวยที่มีเงินเหลืออยู่มากจากการงดท่องเที่ยวต่างประเทศ
ส่วนคนชั้นกลางยังคงหวาดกลัวว่าจะตกงาน จึงอยากเก็บเงินสดไว้กับตัว
และไม่กล้าออกเที่ยวแม้จะมีมาตรการจูงใจ เพราะอย่างไรก็ยังคงต้องจ่ายเงินเองอีก
60%
สำหรับ
6 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการหายไปของท่องเที่ยวต่างชาติ ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี
กระบี่ สุราษฎร์ธานี และพังงา โดยในจังหวัดภูเก็ตเคยต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงปีละ
10.6 ล้านคน สร้างรายได้ 4.19 แสนล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวไทย 3.9 ล้านคน/ครั้ง
สร้างรายได้ 5.23 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 12%
โดย
ททท. คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือเพียง 8.2 ล้านคน
รายได้หายไป 1.5 ล้านล้านบาท และมีคนไทยเที่ยวในประเทศ 70 ล้านคน/ครั้ง
นั่นทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวทั้งปีหดหายไป 2.19 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 13%
ของจีดีพี
ข้อมูลจากสมาคมโรงแรมไทยระบุว่า
โรงแรม 90% ได้ประกาศปิดชั่วคราวในช่วงโควิด 19 ระบาดหนัก
ส่งผลกระทบต่อแรงงานในระบบที่มีอยู่ 1.6-1.8 ล้านคน กระทั่งเดือนกรกฏาคม
จึงทยอยกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง และมีผู้ประกอบการราว 30-40%
ที่ยังคงปิดให้บริการ และคาดการณ์ว่าโรงแรมไม่ต่ำกว่า 20% ต้องปิดถาวร เพราะไม่อาจแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการต้องปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่
(New Normal) และการแข่งขันสูงเพื่อช่วงชิงลูกค้า
ถ้าไม่มีการผ่อนคลาย
หรือมาตรการชัดเจนผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาบ้าง
เชื่อว่าโรงแรมต้องปิดถาวรไปเลยอีกจำนวนหนึ่ง
เพราะเปิดมารายได้ก็ไม่ครอบคลุมกับรายจ่าย
ซึ่งคงทำได้ยากเพราะต่างชาติในหลายประเทศยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
เพราะฉะนั้นการท่องเที่ยวจะฟื้นได้
ต้องขึ้นอยู่กับการปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการกระตุ้นให้คนไทยเที่ยวในประเทศมากขึ้น
ซึ่งจากข้อมูลระบุว่าในปี 2562 ระบุว่ามีคนไทยราว 10 ล้านคนเที่ยวต่างประเทศ
ขณะที่ช่วงเวลานี้การเดินทางไปท่องเที่ยวยังไม่สามารถทำได้
ดังนั้นการกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบไทยเที่ยวไทย จะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและโรงแรม
การฟื้นตัวของธุรกิจการท่องเที่ยวไทย
สำหรับการท่องเที่ยวของไทยนั้นมีการคาดการณ์ว่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปี
2564 โดยนักท่องเที่ยวกลุ่มแรกที่ประเมินว่าจะกลับมา คือนักท่องเที่ยวในประเทศและในภูมิภาคเอเชีย
ปัจจัยสำคัญที่เร่งการฟื้นตัว ได้แก่ การค้นพบวัคซีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
และนโยบายของภาครัฐ เช่น Travel
bubble และคาดว่าเทรนด์การท่องเที่ยวแบบ New normal อาทิ ท่องเที่ยววิถีชุมชน และเที่ยวไปทำงานไปจะเพิ่มขึ้น โดยมีการคาดการณ์สถานการณ์ตลาดการท่องเที่ยวภายในและภายนอกประเทศไว้
3 รูปแบบ ดังนี้
การฟื้นตัวของตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศ
มีการประเมินไว้
3 แบบ คือ
1. ไม่ฟื้นตัว
ฟื้นตัวช่วงไตรมาส 4 หรือปลายปี 2564 เริ่มเปิดให้เที่ยวบินพาณิชย์เข้าไทยในไตรมาส
4 จะทำให้มีการเดินทางจากตลาดระยะใกล้อย่างเอเชียหรืออาเซียนเป็นหลัก โดยคาดว่าจะมีที่นั่งเที่ยวบินทั้งปีกลับมา
15% จากเดิมมีนักท่องเที่ยว 6.14 ล้านคน สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยว 296,000
ล้านบาท
2. ฟื้นตัวระดับปานกลาง
ฟื้นตัวช่วงไตรมาส 3 หรือช่วงกลางปี 2564 เริ่มเปิดให้เที่ยวบินพาณิชย์เข้าไทยในไตรมาส
3 เป็นการเดินทางจากตลาดระยะใกล้จากเอเชียและอาเซียน
เสริมด้วยการกลับมาของตลาดยุโรปบางส่วนช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
และตลาดยุโรปฟื้นกลับมาชัดเจนช่วงปลายปี 2564
และคาดว่าจะมีที่นั่งเที่ยวบินทั้งปีราว 30% จากเดิมมีจำนวนนักท่องเที่ยว 12.5
ล้านคน สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยว 617,500 ล้านบาท
3. ฟื้นตัวเร็ว
ฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 2 หรือช่วงต้นปี 2564
เริ่มเปิดให้เที่ยวบินพาณิชย์เข้าไทยในไตรมาส 2เป็นการเดินทางจากตลาดระยะใกล้อย่างเอเชียและอาเซียน
และการกลับมาของตลาดยุโรปอย่างชัดเจนช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนเป็นต้นไป
คาดว่าจะมีที่นั่งเที่ยวบินทั้งปีกลับมาราว 50% โดยคาดจำนวนนักท่องเที่ยว20.5
ล้านคน สร้างรายได้ทางการท่องเที่ยว 977,000 ล้านบาท
การฟื้นตัวของตลาดท่องเที่ยวในประเทศ
มีการประเมินไว้
3 แบบ คือ
1. ฟื้นตัวปลายปี
2564 กรณีแรก
คือล็อกดาวน์บางจังหวัดท่องเที่ยวทั้งหลัก/รอง รวมถึงเฉพาะบางจังหวัดท่องเที่ยวหลัก/รองที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
มีศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยว เศรษฐกิจภาพรวมในไตรมาส 2 ติดลบ 3% เทียบกับปี
2562 โดยคาดว่านักท่องเที่ยวไทยจะสะสม 76.20 ล้านคน/ครั้ง รายได้ 458,800 ล้านบาท
ล็อกดาวน์ทั้งประเทศและเศรษฐกิจปี 2564 ติดลบ 8% เทียบกับปี 2563
โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยจะสะสม 68.40 ล้านคน/ครั้ง สร้างรายได้ 379,700
ล้านบาท
2. ฟื้นตัวกลางปี
ประเทศไทยไม่พบการติดเชื้อ จีดีพีไทยขยายตัว 5%
แต่ยังไม่ฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยดัชนีผู้บริโภคยังติดลบอยู่ที่ 3%
คาดนักท่องเที่ยวไทยสะสม 84.92 ล้านคน/ครั้ง สร้างรายได้ 491,000 ล้านบาท
3. ฟื้นตัวเร็วต้นปี 2564
ประเทศไทยไม่พบผู้ติดเชื้อ มีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ
รวมถึงสิทธิประโยชน์เที่ยวในประเทศได้มากกว่าเที่ยวต่างประเทศ
จำนวนนักท่องเที่ยวคนไทย 89.24 ล้านคน/ครั้ง สร้างรายได้ 548,341 ล้านบาท
แหล่งอ้างอิง