ปัจจุบันใครๆ ก็ให้ความสำคัญกับเมืองรองมากขึ้น
อาจจะเนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคม การสื่อสารระหว่างเมืองหลักและเมืองรองไม่ได้มีความแตกต่างกันมากเช่นในอดีตเมื่ออินเทอร์เน็ตทำให้เส้นแบ่งระหว่าง“คนเมือง”กับ“ชนบท”แคบลงเรื่อยๆ
นั่นย่อมสะท้อนถึงอำนาจการซื้อมหาศาล
ที่กำลังก่อตัวในเมืองรอง 55 จังหวัดจึงกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้นักการตลาด
เข้าหาบรรดาเศรษฐีภูธร ผู้ซึ่งมีไลฟ์สไตล์ไม่ต่างจากคนเมือง
ผลสำรวจของ We Are Social และ Hootsuite เรื่อง “Global Digital
2019” ต่อสถานการณ์การใช้งานดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต ประจำปี 2562 พบว่าประชากรไทย 69.24 ล้านคน มีผู้มีเบอร์โทรศัพท์ 92.33 ล้านเครื่อง นั่นหมายความว่าหลายคนมีมือถือมากกว่า 1 เลขหมาย มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 57 ล้านคน มี 55
ล้านคนที่ใช้อินเตอร์เน็ทผ่านมือถือประจำ ขณะที่ 51
ล้านคนใช้งานผ่านโซเชียลมีเดียเป็นประจำ และ 49 ล้านคนใช้งานโซเชียลมีเดียบนมือถือ
ขณะที่ช่องทางการใช้อินเตอร์เน็ทในวัยผู้ใหญ่พบว่า ผู้มีโทรศัพท์มือถือเกือบทุกคน โดยใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน 71 % ผ่านคอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊ค 25% และผ่านแท็บเล็ต 12% ผลของการใช้อินเทอร์เน็ตที่ได้เข้าถึงชีวิตคนส่วนใหญ่ของประเทศ
ทั้งหมดนี้ทำให้คนส่วนใหญ่มีไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิต ทัศนคติ เปลี่ยนแปลงไปรวมถึงรสนิยมคนต่างจังหวัดที่ใกล้เคียงกับคนกรุง ตรงนี้แหละที่ทำให้นักการตลาดต้องกลับมาคิดทบทวนพลังอำนาจการใช้จ่ายของคนต่างจังหวัดเสียใหม่ และจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของสินค้า และกลุ่มเป้าหมาย โดยการเตรียมการ 5 ด้านคือ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
เรียนรู้ 5 ด้าน กลยุทธ์การตลาดเมืองรอง
1.นักการตลาดต้องมองกลวิธีการสร้างประสบการณ์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
ต้องวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำสิ่งที่มีให้เข้าถึงความต้องการของกลุ่มลูกค้า
มีชีวิตที่ดีขึ้นไม่ต่างจากคนเมืองแต่มีอินไซท์และความภาคภูมิใจในความเป็นตัวตนที่แตกต่างกัน
จะหยิบมาใช้อย่างไรให้ตอบโจทย์และสร้างประสบการณ์ที่ดี
2.วางเป้าหมายจากพฤติกรรมในประชากรดิจิทัล อายุ ไม่ใช่ตัวกำหนดการใช้ชีวิต รายได้ และ อาชีพ ถิ่นที่อยู่
จึงต้องวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกรับสื่อ เลือกซื้อสินค้า ความสนใจ
หรือการมีไลฟ์สไตล์ จึงไม่ควรติดกับดักแค่อายุ
ประชากรศาสตร์ให้เป็นแพทเทิร์นเดียวกัน
แต่ต้องศึกษาเชิงลึกถึงความต้องการภายในและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก นั่นแปลว่าเมื่อทุกคนเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ความสนใจและพฤติกรรมการบริโภคไม่แตกต่างกันทั้งคนเมือง และคนต่างจังหวัด
3.ไม่ใช่ยุคที่หนึ่งไซส์เข้ากับทุกคน
และที่สำคัญไม่มีคำว่าคนเมือง หรือคนชนบทอีกต่อไป
แต่ให้ไปโฟกัสที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนบุคคล ที่เข้าไปล้วงลึกถึงความต้องการภายในส่วนบุคคล
เพราะคนเมืองรอง ก็ต้องการมีชีวิตที่สะดวกสบายเท่าเทียมกันกับคนเมือง
รวมถึงต้องการมีอิสระต้องการ จึงต้องเข้าไปติดตามดูข้อมูลเชิงลึกส่วนบุคคล
และจับความต้องการนั้น และเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการเดินทาง การตัดสินใจของชีวิตพวกเขา
4.การคัดเลือกสิ่งที่สนใจเฉพาะบุคคลให้เข้าไปหาโอกาสสร้างความสนใจให้ลูกค้าเลือก
เพราะเป็นยุคที่เนื้อหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลาย ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
และส่วนใหญ่เลือกบริโภคและสนใจสื่อตามความชอบตัวเองและสิ่งที่บ่งบอกความเป็นตัวตนเป็นหลัก
ดังนั้น "แบรนด์" ต้องเปิดช่องทางแสดงออกตัวตน
และความชอบของผู้บริโภค โดยที่เปิดโอกาสให้เลือกโดยอิสระ
แต่ต้องพยายามรวบรวมเนื้อหา สร้างความสนใจให้ตรงกับตัวตนและสิ่งที่ลูกค้ามองหา ซึ่งยุคอินเทอร์เน็ตเลือกตามความสนใจของแต่ละบุคคล
5.ประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องได้ง่าย คือการเชื่อมต่อกับคนซึ่งตอบโจทย์สะดวก ง่าย ปลอดภัย
อุ่นใจไว้วางใจ ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือการเชื่อมต่อกับคน เพราะมีการตอบโต้ทันที
จึงไม่ควรใช้เทคโนโลยีแทนที่ทุกอย่าง
แต่ให้ใช้เป็นตัวช่วยสร้างประสบการณ์ให้ดีขึ้น
ปรับใหม่ จูงใจผู้บริโภคเมืองรอง
อย่างไรก็ตาม คนต่างจังหวัดยังชอบปฏิสัมพันธ์กับคน
แต่เทคโนโลยี ช่วยทำให้ชีวิตดียิ่งขึ้น นักการตลาดควรเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้ผู้บริโภครู้สึกอุ่นใจและไว้วางใจแต่ไม่แทนที่ทุกสิ่ง
เสน่ห์ของต่างจังหวัดยังชอบ เช่น ชอบพูดคุยพนักงานแบงก์และพนักงานขายตามห้าง
ทว่าเนื้อหายังเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด
“Content is the King” ไม่ว่าแพลตฟอร์มจะเกิดขึ้นในออนไลน์ หรือออฟไลน์ ต้องทำให้เนื้อหาเข้าไปอยู่ในเส้นทางการค้นหา
หรือ การเดินทางของกลุ่มลูกค้าที่ค้นเจอ และเป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพน่าสนใจ
เมื่อไม่มีช่องว่างระหว่างคนเมือง
กับคนชนบท จึงต้องหาจุดแตกต่างที่ชัดเจนเฉพาะบุคคล หาช่องทางเข้าไปทำกิจกรรม
สร้างประสบการณ์ สร้างทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ โดยหากเป็นต่างจังหวัด
กลยุทธ์ที่เข้าไปทำกิจกรรมกับคนได้คือ การเข้าไปเป็นให้การสนับสนุน “สปอนเซอร์ชิพ”
ส่งผลทำให้แบรนด์เป็นที่จดจำง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามอย่าประเมินกำลังซื้อของคนเมืองรองต่ำ
เพราะกำลังมีเศรษฐกิจที่เติบโต และเข้าถึงโอกาสจากอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างจากคนกรุง
ขณะเดียวกันชุมชนออฟไลน์ของคนต่างจังหวัดนั้นยังแข็งแกร่งจึงต้องใช้ออนไลน์เป็นเครื่องมือ
ในการเข้าถึง และหาจุดสมดุลระหว่างกิจกรรมออฟไลน์ ที่ยังมีความสำคัญ ฉะนั้นการวางแผนต้องอยู่ที่การบูรณาการสื่อ
แบรนด์อาจจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน พูดจาภาษาเดียวกัน และให้มีส่วนเกี่ยวข้องให้เป็นส่วนหนึ่ง ส่วนผู้ทรงอิทธิพลในท้องถิ่น จะต้องมีการนำมาใช้ในแบบเฉพาะที่ใช้ภาษาย่อยง่าย เข้าถึงง่าย โดยดูวัตถุประสงค์การสื่อสารเป็นหลัก
ทั้ง 5 กลยุทธ์ยุทธ์ดังกล่าวเป็นข้อสรุปที่ได้จากผลสำรวจโครงการ “Hunt 2019” จากมายด์แชร์ เอเยนซี่ ที่เข้าไปวิจัย เชิงลึกถึงทัศนคติเกี่ยวกับความสุข วิถีชีวิตคนในเมืองรอง 55 จังหวัด เพื่อเข้าใจวิถีชีวิตและแรงจูงใจของผู้บริโภคเมืองรองต่อการเสพสื่อและเลือกซื้อของอุปโภคและบริโภค เพื่อให้นักการตลาดนำข้อมูลไปปรับกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ