สมาคมผู้ค้าปลีกไทย
มองแนวโน้มภาพรวมค้าปลีกปี 2563 ยังทรงตัวต่อเนื่อง การเติบโตจากนี้ไปจะเป็นการเติบโตจากภาคค้าปลีกภูธรเป็นหลัก
ส่วนเชนค้าปลีกขนาดใหญ่ส่วนกลางทรงตัวหรืออาจจะลดลงเล็กน้อย
สำหรับปี 2562 ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย คาดว่าจะขยายตัว 28% ต่ำกว่าปี 2561 ที่ขยายตัว 3.2% มีมูลค่ารวม 3.8 ล้านล้านบาท ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง
จากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับกลางลงล่าง
ที่อาศัยรายได้จากผลผลิตภาคเกษตรยังคงมีกำลังซื้อที่อ่อนแอ
ประกอบกับหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่มีแนวโน้มลดลง ทำให้กลุ่มผู้บริโภคระดับกลางที่มีรายได้ประจำมีกำลังซื้ออ่อนแอลง สะท้อนผ่านยอดขายของหมวดสินค้ากึ่งคงทน เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องหนัง รองเท้า นาฬิกา เติบโตเพียง 3.2% ถดถอยลงอย่างมากจากช่วง 10 ปีก่อนหน้านี้ กลุ่มนี้เคยขยายตัวเฉลี่ย 8-12%
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
ปัจจุบันโครงสร้างของอุตสาหกรรมค้าปลีก
แบ่งเป็น 3 แถว แถวหนึ่งคือ Modern
Chain Store ที่มีศูนย์บริหารจัดการในกรุงเทพฯเป็นหลัก คิดเป็นสัดส่วน
32% ของภาพรวม แถวสองคือ ค้าปลีกค้าส่งภูธร มีสัดส่วน 20%
และแถวสามคือ ค้าปลีกค้าส่งขนาดกลางและขนาดเล็ก มีจำนวน 4.5 แสนราย คิดเป็นสัดส่วน 53-55%
ทั้งนี้ แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกในประเทศไทยต่อไปนี้
จะมาจากค้าปลีกภูธรแถวสองเป็นหลักคาดว่าจะขยายตัวเป็นสองเท่าของจีดีพี
และจะขยายออกนอกพื้นที่นอกจังหวัดมากขึ้น
ส่วนกลุ่มค้าปลีกขนาดใหญ่แถวหนึ่งจะขยายตัวไปสู่ภูมิภาคเพื่อนบ้านและต่างประเทศมากขึ้น
ซึ่งจะทำให้การเติบโตของภาคค้าปลีกในประเทศจะค่อย ๆ ชะลอตัวและทรงตัวในที่สุด
นอกจากนี้ ยังเห็นแนวโน้มการเติบโตของ
New Digital Business Model กำลังก่อร่างสร้างตัว
ในช่วงเวลา 2-3 ปีนี้ภาคค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ได้เริ่มลงทุน Digital
Technology เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่เรียกกันว่า E
Business (รูปธรรมของ E Business ที่เรารู้จักกันดีก็คือ
O2O หรือการทำช่องทางจำหน่ายแบบ Omni Channel ซึ่งเป็นการเชื่อมห้างร้านในโลกออฟไลน์เข้ากับเทคโนโลยีโลกออนไลน์อย่างลงตัว) จะเริ่มให้ผลเป็นรูปธรรมการเชื่อมออฟไลน์กับออนไลน์อย่างไร้รอยต่ออย่างชัดเจนไม่เกินปี
2565
ในอนาคตอันใกล้
อุตสาหกรรมค้าปลีกต้องใช้ “Data &
Asset ” ในการสร้างรายได้ อย่างไรก็ตามจากผลวิจัยของ Forrester
Consulting ในประเทศไทย ผู้ดำเนินธุรกิจค้าปลีกที่มีความพร้อมใช้ “Data” มีแค่ 5% เท่านั้น ในขณะที่ค้าปลีกโลกมีความพร้อมใช้ Data และ Asset ที่มีการสร้างรายได้ 15%
ซึ่งการปฏิวัติการช้อปปิ้งสมัยใหม่
ส่งผลให้ผู้ประกอบการการค้าการขายแบบร้านดั้งเดิม ร้านค้าปลีกอิสระขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวนเป็นหมื่นเป็นแสนที่อยู่ทั่วราชอาณาจักร อาจจะได้ผลกระทบถึงขั้นล้มเลิกกิจการ ขณะเดียวกันจะเป็นการแจ้งเกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่มองภัยคุกคามในรูปแบบเทคโนโลยีผสมผสานกับพฤติกรรม เป็นโอกาสในการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ โดยพัฒนากลายเป็นคู่แข่งใหม่ที่ไม่ต้องการทำเลที่ตั้งหน้าร้าน ไม่ต้องมีสต็อก สามารถเข้าหาลูกค้าได้ทั่วทุกสารทิศ ไม่สนใจเรื่องระยะทางและขนาดของธุรกิจ
นอกจากนี้
Big Data ถ้าไม่เริ่มวันนี้ก็อาจจะสายไป
แต่อุตสาหกรรมค้าปลีกไทยยังขาด Knowledge และ Know
How ห้างค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคไทยกว่า 91% ขาดความสามารถเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการต่างๆ ที่จำเป็นในการนำ “ข้อมูลเชิงลึก”
(Insights) ของลูกค้ามาใช้เพื่อสร้างรายได้ใหม่ๆ
และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า
สำหรับ Electronic Payments หรือธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์จะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ในช่วงสองปีที่เริ่มใช้ Prompt Pay คนไทยใช้พร้อมเพย์กว่า 46.5 ล้านราย มีปริมาณธุรกรรมกว่า 1.1 พันล้านรายการ
คิดเป็นมูลค่าธุรกรรมทั้งสิ้น 5.8 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้อุปสรรคสำคัญของการชำระเงินผ่านมือถือ ได้แก่ ร้านค้าที่รองรับมีจำนวนจำกัด, ต้องเติมเงินเป็นประจำ และใช้เงินสดสะดวกกว่าในการใช้จ่ายเงินจำนวนน้อย แต่เมื่อเริ่มมีการใช้เทคโนโลยี 5G ธุรกรรมทางการเงินจะรวดเร็วและแพร่หลายมากขึ้น จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดย่อย micro business เติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญก็คือ ราคาถูก สะดวก และรวดเร็วได้ทุกที่ ทุกคนสามารถเป็นพ่อค้าแม่ค้าได้ อุปกรณ์ทุกชิ้นจะทำธุรกรรมทางการเงินได้