UNCTAD ชี้ต่างชาติลงทุนไทยสูงสุดในอาเซียน

SME Update
03/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6085 คน
UNCTAD ชี้ต่างชาติลงทุนไทยสูงสุดในอาเซียน
banner

รายงาน World Investment Report (WIR) ประจําปี ค.ศ.2019 โดยนาย James Zhan ผู้อำนวยการฝ่าย Investment and Enterprise ของ UNCTAD ซึ่งได้จัดทำประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศไทยไว้ในหลายด้าน ซึ่งประกอบด้วย

เศรษฐกิจโลก  

มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign direct investment - FDI) ระดับโลกลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ซึ่งลดลงร้อยละ 13 ในปี ค.ศ. 2018 โดยมีสาเหตุหลักจากการปฏิรูปทางด้านภาษีของสหรัฐอเมริกาที่เปิดให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาสามารถเก็บภาษีจากรายได้ที่บริษัทสหรัฐอเมริกาเก็บไว้ที่ต่างประเทศ เป็นเหตุให้บริษัทสหรัฐอเมริกาส่งรายได้กลับสหรัฐอเมริกา (Repatriations) เป็นจำนวนมาก ซึ่งลดการนำรายได้เหล่านี้ไปลงทุนต่อ (Reinvestment) และลดมูลค่า FDI ตามลำดับ

มูลค่า FDI ในประเทศพัฒนาแล้วลดลงถึงระดับต่ำที่สุดตั้งแต่ ค.ศ. 2004 โดยลดลงถึงร้อยละ 27 โดยมีสาเหตุหลักจาก Repatriations ของบริษัทสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่มีบริษัทลูกอยู่ในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ตาม มูลค่า FDI ในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 ส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนามีสัดส่วนมูลค่า FDI สูงที่สุดที่ร้อยละ 54

นโยบายใหม่ด้านการลงทุนในปี ค.ศ. 2018 ยังคงเน้นนโยบายเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 66 ของนโยบายใหม่ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม จำนวนมาตรการเพื่อจำกัดการลงทุนจากต่างชาติมีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

เขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือSpecial Economic Zones (SEZs) เป็นนโยบายสำคัญที่ประเทศส่วนใหญ่โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาใช้ในการส่งเสริม FDI โดยในปัจจุบันมีจำนวน SEZs มากถึง 5,400 เขตใน 147 ประเทศ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 4,000 เขตเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว และปัจจุบันกำลังมีการพัฒนา SEZs อีก 500 เขต

อย่างไรก็ตาม SEZs จำนวนมากส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงแรกเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยสำคัญเพื่อส่งเสริมความสำเร็จของ SEZs อาทิ การออกแบบ SEZs ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะนโยบายด้านการพัฒนาความยั่งยืนทางการเงินและงบประมาณสำหรับ SEZs การเลือกบริเวณที่เหมาะสมในการตั้ง SEZs การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทใน SEZs เดียวกัน ตลอดจนโครงสร้างการบริหาร SEZs ที่มีธรรมาภิบาลและความโปร่งใส

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


แนวโน้มการลงทุนในระดับภูมิภาค

แอฟริกามีมูลค่า FDI เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 โดยมีสาเหตุหลักจากการลงทุนในด้านทรัพยากร ความต้องการการลงทุนที่หลากหลายของนักลงทุน ตลอดจนการฟื้นฟูด้านการลงทุนในแอฟริกาใต้

เอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีมูลค่า FDI สูงที่สุดและมีมูลค่าสูงขึ้นร้อยละ 4 โดยเฉพาะโครงการ การลงทุนในลักษณะ Greenfield ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว แนวโน้มเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการที่ดีในภูมิภาคจากปี ค.ศ. 2017 ที่อยู่ในสภาวะการลงทุนชะลอตัว

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับ FDI เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 คิดเป็นมูลค่า 149 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าสูงที่สุดที่ภูมิภาคนี้เคยได้รับ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากมูลค่า FDI ที่เพิ่มขึ้นในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย โดยเฉพาะการลงทุนในด้านการเงิน การค้าส่งและค้าปลีกระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการค้าในภาค Digital economy

นอกจากนี้ มูลค่าการลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาคก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มมูลค่า FDI อย่างไรก็ตามมาเลเซียและฟิลิปปินส์มีมูลค่า FDI ลดลง

พัฒนาการด้านการลงทุนของไทย

มูลค่า FDI ในไทยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 62 ในปี ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มมูลค่า FDI ที่สูงที่สุดในอาเซียน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าไทยได้ฟื้นตัวจากการชะลอตัวทางการลงทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้ว

ปัจจัยหลักที่ส่งเสริม FDI ในไทย อาทิ การลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ตลอดจนการนำเงินไปลงทุนต่อ (Reinvestments) โดยบริษัทต่างชาติ (Multinationals) ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว

ไทยมีมูลค่าการลงทุนในกลุ่มประเทศประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least developed country -LDCs) เป็นอันดับ 3 ของโลก (รองจากจีนและฝรั่งเศส) ในปี ค.ศ. 2017 ด้วยมูลค่าการลงทุน 10 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในเมียนมาและลาว

ไทยได้ออกนโยบายเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2018 เพื่อส่งเสริมการลงทุน อาทิ (1) การประกาศใช้ พรบ. EEC ซึ่งสร้างแรงจูงใจทางการคลังให้ต่างชาติมาลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (2) ระบบ Smart visa ซึ่งช่วยดึงดูดแรงงานที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานในไทย

ไทยมีจํานวน SEZs ติด 10 อันดับแรกของโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย ไทยมีจำนวน SEZs เป็นอันดับที่ 5 รองจากจีน ฟิลิปปินส์ อินเดีย และตุรกี โดยรายงานดังกล่าวได้ยกไทยให้เป็นตัวอย่างในการใช้การรวมตัวในระดับ ภูมิภาค (Regional integration) เพื่อส่งเสริมการพัฒนา SEZs ตามแนวชายแดน


ทั้งนี้ WIR เป็นรายงานประจำปีของ UNCTAD ที่เน้นติดตามแนวโน้มของ FDI ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลพัฒนาการล่าสุดเกี่ยวกับนโยบายด้านการลงทุนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ โดย UNCTAD ใช้ข้อมูลการลงทุนของปี ค.ศ. 2018 เพื่อจัดทำ WIR 2019

เอกสารสรุปผลการวิเคราะห์และแนวโน้มด้านการลงทุนสำคัญจาก WIR 2019 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://unctad.org/en/PublicationsLibrary/wir2019_en.pdf


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
894 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1225 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1520 | 25/01/2024
UNCTAD ชี้ต่างชาติลงทุนไทยสูงสุดในอาเซียน