แนวคิด Zero Waste Agriculture

SME in Focus
24/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 8576 คน
แนวคิด Zero Waste Agriculture
banner

Zero Waste Agriculture คือ ระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ จะว่าไปแล้วก็นับว่าเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงในสภาวะปัจจุบันมีการเติบโตของประชากรอย่างต่อเนื่องในปริมาณมาก ทำให้อัตราการบริโภคมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย แน่นอนว่าผลิตผลทางการเกษตรนั้นจัดว่ามีความต้องการอย่างมากในทุกภาคส่วนทั่วโลก เพราะสิ่งของเพื่อการบริโภคต่างๆ ล้วนมีพื้นฐานจากการผลิตภาคการเกษตรทั้งสิ้น แนวทางของการที่จะทำให้ผลิตผลทางการเกษตรให้เพียงพอกับความต้องการที่ไม่จำกัดนี้ มี 2 แนวทางที่ส่วนใหญ่นิยมทำกันคือ

1. การขยายพื้นที่ผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการขยายพื้นที่เพาะปลูก ทำปศุสัตว์ ฯลฯ

2. การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


จากแนวทางทั้ง 2 ที่ทั่วโลกนิยมปฏิบัติอยู่นั้น จะเห็นว่าแนวทางที่ 2 คือ การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้นนั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถจะทำได้อย่างมีระบบ และทำได้ง่ายกว่าแนวทางที่ 1 เพียงแต่จะต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้มากขึ้นด้วย

สำหรับแนวทางการทำ Zero Waste Agriculture นั้นจะต้องนำแนวทาง (Zero waste Management) หรือแนวคิดขยะเหลือศูนย์มาประยุกต์ใช้ โดยยึดหลักการที่ว่า “ขยะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้”  ยึดตามเป้าประสงค์คือ

“การทำให้ขยะเหลือน้อยที่สุดและกำจัดที่เหลือด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล” การจัดการขยะเหลือศูนย์เป็นการดำเนินการแบบใหม่ ที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค ให้เกิดความตระหนักและร่วมมือที่จะปฏิบัติตาม

 

กรอบแนวคิดขยะเหลือศูนย์

1. ลดปริมาณของเสียที่จะทิ้งให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การลดการใช้สารเคมีในการผลิตทางการเกษตร เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ปุ๋ยเคมี ฯลฯฃ

2. การใช้วัตถุการผลิตที่สามารถนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด เช่น การผลิตน้ำหมัก และปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง

3. การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ใช้วัสดุการผลิตน้อย สร้างมลพิษน้อยลง) เช่น การใช้กระดาษบรรจุหีบห่อ หรือการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติกย่อยสลายได้

4. การประชาสัมพันธ์หรือรณรงค์การการลดปัญหาขยะของเสีย เช่น การจัดงานรณรงค์ลดการใช้สารเคมี การตรวจคัดกรองโลหิตเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกาย รวมทั้งการตรวจสารเคมีตกค้างในผลิตผล

5. การพัฒนาการนำขยะกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ได้มากที่สุด เช่น การนำขยะอินทรีย์มาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมัก โดยผ่านกระบวนการย่อยสลายด้วยไส้เดือนดิน

6. การช่วยยกระดับเป้าหมายทางเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ภายในชุมชน  เช่น การส่งเสริมกระบวนการผลิตพืชผักให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยเป็นสากล สามารถจำหน่ายในตลาดที่หลากหลายทั้งตลาดชุมชน ตลาดห้างสรรพสินค้า ฯลฯ

7. การสร้างงานให้กับชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น การส่งเสริมอาชีพเสริมการผลิตพืชผัก และปัจจัยการผลิตอินทรีย์ ผ่านรูปแบบกระบวนการกลุ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย

จากตัวอย่างกรอบแนวคิดทั้ง 7 ข้อนี้ เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น แต่สิ่งที่จะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนได้ จะต้องเริ่มมาจากนโยบายการจัดการขยะเหลือศูนย์ ซึ่งได้ถูกนำไปปรับเปลี่ยนนโยบายตามความเหมาะสมในแต่ละประเทศ  แต่จะมีแนวโน้มและทิศทางที่คล้ายคลึงกัน คือ การวางเป้าประสงค์ของนโยบายสาธารณะจากทุกภาคส่วน แตกต่างกันในกระบวนการทางนโยบาย ที่แต่ละประเทศให้น้ำหนักและคุณค่าแตกต่างกันไปในแต่ละภาคส่วน


ประเทศไทย แนวคิดเรื่อง Zero Waste Agriculture

Zero Waste Agriculture เป็นกระแสที่กำลังมาแรงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งนโยบายด้านการเกษตรของประเทศไทยยังคงเป็นไปตามตามกระแสของโลกคือ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)   รวมไปถึงเกษตรเพื่อพลังงาน (Green Energy) เกษตรเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Environment) และเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว (Green Tourism) ซึ่งก็มีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนมุ่งไปสู่นโยบายของชาติที่กำหนดไว้

ขณะเดียวกัน ด้านหนึ่งของกระบวนการสร้าง Smart farmer คือ การพัฒนา Smart Officer หรือ เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีองค์ความรู้ทางวิชาการและนโยบาย สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนเกษตรกร โดยชี้นำเกษตรกรตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) และ ระบบการผลิตทางการเกษตรให้ปลอดวัสดุเหลือใช้ (Zero Waste Agriculture) ซึ่งการก้าวสู่การเป็น “Smart Officer” ของเจ้าหน้าที่ หมายถึงการปรับกระบวนการทำงาน โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงชนิด และปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งปัญหาของสินค้าแต่ละชนิด

สำหรับในภาคเกษตรกร แนวทางการลดจำนวนขยะในการทำเกษตรให้เหลือศูนย์นั้น ปัจจุบันก็มีปรากฏเป็นรูปธรรมมากพอสมควร เช่น การใช้เศษวัสดุเหลือทิ้งในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลในชุมชน หรือโรงไฟฟ้าชีวก๊าซจากสิ่งปฏิกูลในฟาร์ม การนำเศษวัสดุเหลือทิ้งมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียนภายในฟาร์ม หรือแปลงเกษตร ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรให้ความสำคัญกับการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้มากยิ่งขึ้น 


คัดมาให้แล้ว ! แอปพลิเคชั่นที่ Smart Farm ต้องมี

สตาร์ทอัพด้านเกษตร การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
166 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
388 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1308 | 01/04/2024
แนวคิด Zero Waste Agriculture