"โมเดิร์น ฟาร์ม” ทางเลือกที่จะพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน

SME in Focus
21/04/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4901 คน
"โมเดิร์น ฟาร์ม” ทางเลือกที่จะพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน
banner
การพัฒนาภาคการเกษตรของไทย ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี ภายใต้กรอบ “ไทยแลนด์ 4.0 นอกจากที่จะมีการพลักดันภาคการเกษตรของไทยเข้า สู่ “เกษตรสมัยใหม่” หรือ  “สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Smart Farmer)  คือ “เกษตรอัจฉริยะ” หรือ ผู้นำเกษตรกรมืออาชีพ พร้อมกับมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในฟาร์มเกษตร หรือที่เรียกว่า สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง (Smart Farming) และปั้น หรือการสร้าง เด็กรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า “ยัง สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Yang Smart Farmer) คือเกษตรกรเด็กรุ่นใหม่ที่หันมาใช้นวัตกรรมและเทศโนโลยีมากขึ้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่บรรดานักการเกษตรสมัยใหม่ ไม่ควรที่จะมองข้าม คือการปรับปรุงระบบของฟาร์มสู่ระบบ “ฟาร์มแบบใหม่” ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของ “เกษตรสมัยใหม่” หรือ “โมเดิร์นฟาร์ม” (Modern Farm) ปัจจุบันเริ่มแล้ว ที่พบเห็นชัดเจรคือในแปลงปลูกอ้อย โดยเฉพาะ “มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม”

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme


หัวใจสำคัญของระบบโมเดิร์นฟาร์ม คือ การนำเครื่องจักรกลการเกษตรเข้ามาช่วยทำงานในไร่ หรือในฟาร์ม ไม่ว่าจะเครื่องไถ่หน้าดิน เครื่องขึ้นแปลงปลูก เครื่องเพาะปลูก เครื่องใส่ปุ๋ย เครื่องพ่นสารควบคุมวัชพืช รถเก็บเกี่ยว  และรถบรรทุกขนส่งผลผลิต โดยเครื่องจักรเหล่านี้ นอกจากจะช่วยลดแรงงานคนที่ขาดแคลนแล้ว ยังช่วยลดขั้นตอน และเวลาการทำงานในไร่ได้มากขึ้นด้วย หากมีการวางแผนการจัดการแปลงที่ดี

กระนั้นในการที่จะนำระบบโมเดิร์นฟาร์มมาใช้สำหรับการเพาะปลูกหัวใจสำคัญ ในการใช้เครื่องจักรกลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องจัดรูปแบบแปลง หรือ Farm Layout อย่างในแปลงอ้อยของ “มิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม” พบว่าจัดรูปแบบแปลง นอกจากจะช่วยให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังลดการเหยียบย่ำบนตออ้อย ลดการบดอัดของชั้นดิน ลดความเสียหายจากการเก็บเกี่ยว รวมไปถึงช่วยยืดอายุการไว้ตอได้อีกด้วย

หลักในการทำ Farm Layout ของมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม ยึดหลัก 8 ประการดังนี้

1.ทิศทางการปลูก ความยาวของแถวอ้อย (ไม่ต่ำกว่า 250 เมตร กลับรถน้อยที่สุด)

2.ทิศทางการระบายน้ำ การกำหนดผังการระบายน้ำในแปลงอย่างเหมาะสมตั้งแต่ต้น ไม่ให้มีการท่วมขังในแปลง ช่วยลดความเสียหายของอ้อยได้

3.พื้นที่หัวแปลง ควรกว้าง 6 เมตร ระดับต่ำกว่าเบด ปลูกหญ้าคลุมดิน และตัดให้สั้น

4.ระยะห่างระหว่างร่อง 85 เมตร

5.ถนนหลัก กว้าง 6 เมตร และถนนรอง กว้าง 3 เมตร

6.แหล่งน้ำชลประทาน ทิศทางการส่งน้ำ และวิธีการให้น้ำ

7.โรงเรือนเก็บเครื่องจักรและปัจจัยการผลิต

8.พื้นที่รวบรวมอ้อยในไร่ (Cane yard)

ระบบ Modern Farm เริ่มต้นมาอย่างไร? เริ่มจากการเตรียมแปลงปลูก เพราะถือว่าส่วนสำคัญที่จะช่วยให้พืช หรืออ้อยที่ปลูกสามารถเจริญเติบโตได้ดี มีการควบคุมการทำแปลง กำหนดขนาดของแปลง เพื่อที่จะให้ผู้ปลูกพืชสามารถดูแนวระยะปลูกได้ง่ายขึ้น ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ไถหน้าดินเตรียมแปลงปลูกนั้นต้องมีความเหมาะสม เมื่อไถพรวนดินแล้วสามารถปลูกได้ทันที

หลักปฏิบัติของโมเดิร์นฟาร์มในไร่อ้อยตามแบบฉบับของ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลมีหลักใหญ่อยู่ 4 ประการ ด้วยกันคือ

1.ต้องมีการเว้นพื้นที่พักบำรุงดินด้วยการไม่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ใช้ใบอ้อยคลุมดินหรือเมื่อรถตัดมาตัดอ้อยสดเข้าโรงงานแล้วเอาใบอ้อยคลุมดินไว้ ก็จะช่วยจัดเก็บความชื้นเอาไว้ได้นาน ซึ่งจะลดการใช้สารปุ๋ยเคมีลงได้ด้วยการใช้ใบอ้อยคลุมดินแทน

2.ลดการไถพรวนบดอัดหน้าดิน หรือControl Traffic ไม่ให้ล้อรถขึ้นไปเหยียบบนพื้นที่ที่จะใช้ปลูกอ้อย เพราะฉะนั้น การจะใช้control traffic ให้ได้ผลนั้น มิตรผลใช้ระบบ GPS (อุปกรณ์ระบุตำแหน่ง) ติดกับรถไถและรถตัดอ้อยเพื่อคอนโทรลไม่ให้ล้อรถขึ้นไปเหยียบบนแปลงปลูกอ้อย

3.การจัดรูปแบบแปลงปลูกที่ไร่ด่านช้าง มีการวางขนาดร่องปลูกไว้ที่ 1.85 เมตร โดยเว้นระยะให้รถจักรกลหนักที่จะเข้าไปทำงานภายในไร่สามารถผ่านไปได้โดยไม่ทำความเสียหายให้กับตออ้อยที่ปลูกไว้

4.ปลูกพืชบำรุงดิน ไม่ปลูกอ้อยซ้ำกันทุกปี แต่ปลูกพืชตระกูลถั่วปีเว้นปี เช่น ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว เพื่อหยุดพักหน้าดินและให้อาหารเสริมแก่ดินในบริเวณไร่อ้อยเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุภายในดินอีก ทั้งยังเป็นการตัดวงจรแมลงศัตรูพืชที่อยู่ในบริเวณไร่อ้อย

ส่วนระยะร่องคันดินที่ใช้ในการปลูกอ้อยควรมีระยะการยกหน้าดินให้มีความสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะปลูกที่เหมาะสม ต้นอ้อยสามารถเจริญเติบโตได้ดี หากทำครบ 4 เสาหลักนี้แล้ว โอกาสความยั่งยืนของการปลูกอ้อยและผลผลิตอ้อยต่อไร่นั้นจะมีมากขึ้น เนื่องจากมีการบำรุงดินพร้อมกับลดการไถพรวนดินทำให้จุลินทรีย์ในดินไม่ตายไป

ข้อดีของการทำแปลงปลูกอ้อยแบบโมเดิร์นฟาร์มคือ การลดแรงงานคน อีกทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานที่ขาดแคลนลงได้ โดยหากใช้ระบบโมเดิร์นฟาร์มเข้ามาจัดการกับแปลงปลูกอ้อยสามารถใช้คนงานปลูกอ้อยแค่ 2 ถึง 4 คน เท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้คนงานปลูกอ้อย 6 ถึง 8 คน แล้วยังต้องใช้เครื่องมือขนาดใหญ่เพื่อลากท่อนพันธุ์ ทำให้สิ้นเปลืองปริมาณน้ำมันไปอีกด้วย

สรุปเป้าหมายสำคัญในการนำระบบโมเดิร์นฟาร์มมาใช้ คือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการไร่ ลดการใช้ทรัพยากรทั้งวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และแรงงาน ส่งผลให้ต้นทุนต่อไร่ลดต่ำลง เกษตรกรจะได้มีเวลาในที่จะไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้มากขึ้น


ดังนั้นการนำระโมเดิร์นฟาร์มมาใช้ ต้องเน้นตั้งแต่ต้นน้ำหรือเพาะปลูก ที่ต้องทำเกษตรแบบแม่นยํา (Precision Farming) ด้วยระบบสารสนเทศ พัฒนาระบบน้ำ  ต้องเทียบเคียงกับประสิทธิภาพ / คุณภาพ  ที่สำคัญต้องรวมกลุ่มเพื่อใช้เครื่องจักรกลอย่างอย่างคุ้มค่า หรือต้องรับจ้างการผลิต เพื่อใช้เครื่องจักรทํางานให้เต็มประสิทธิภาพ (Utilization) และต้องนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ด้วย

ในส่วนของกลางน้ำคือแปรรูป เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และลดต้นทุน ด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้เกิดความหลากหลายตามความต้องการตลาด และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ ให้ได้ตามมาตรฐานสากล  ขณะที่ปลายน้ำหรือตลาด คือต้องพัฒนาช่องทางการตลาดใหม่ๆ  สร้างตราสินค้า (Brand) การขยายตัวไปยังอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) และจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยเอกชน ร่วมมือกับท้องถิ่นเป็นต้น
Bangkok Bank SME ราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

ยนต์ผลดี จากโรงงานผลิตเครื่องสีข้าว สู่ ‘โรงเรียนโรงสี’ และเป้าหมายการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวให้เข้มแข็ง

โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ แห่งแรกของไทย โรงเรียน ‘โรงสีข้าว’ หรือ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวข้าว จัดตั้งโดย บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด…
pin
181 | 25/03/2024
3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

3 ผู้บริหารหญิงยุคใหม่ กับแนวคิดใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจรับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

ไขเคล็ดลับและแนวคิดที่ผลักดันให้ผู้นำหญิงในโลกธุรกิจขึ้นมายืนแถวหน้า นักธุรกิจหญิงแกร่งที่ทรงพลังต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ จนทำให้พวกเธอสามารถขึ้นมายืนแถวหน้าอย่างภาคภูมิ…
pin
370 | 22/03/2024
พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

พลังหญิง เปลี่ยนโลก 3 บทบาทของผู้บริหารหญิงในการขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวที่สร้างแรงบันดาลใจด้านสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อธุรกิจ เมื่อหลายประเทศทั่วโลกเริ่มออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดขึ้น…
pin
295 | 20/03/2024
"โมเดิร์น ฟาร์ม” ทางเลือกที่จะพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืน