นวัตกรรมใหม่ ‘EPS Foam’ โฟมรักษ์โลก น้ำหนักเบา – สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก ทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเช่น ดิน ทราย ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

SME in Focus
30/12/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 4420 คน
นวัตกรรมใหม่ ‘EPS Foam’ โฟมรักษ์โลก น้ำหนักเบา – สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก ทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเช่น ดิน ทราย ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
banner

มีคำกล่าวว่า ธุรกิจภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะงานก่อสร้าง ถือเป็น ‘ผู้ร้าย’ ที่มีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับต้น ๆ เนื่องจากใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติจำนวนมหาศาลในการดำเนินการ รวมถึงในกระบวนการผลิตวัสดุสำคัญอย่าง ปูนซีเมนต์ ยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการเผาไหม้ ไปจนถึงการนำหิน ดิน ทราย มาใช้ในการผลิต


ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาสู่การปรับตัวครั้งสำคัญของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยการผลิตวัสดุทดแทนที่เรียกว่า EPS Foam เพื่อแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว และดูเหมือนว่าทิศทางการเติบโตของนวัตกรรม นี้ จะเข้ามาแทนที่ ช่วยลดความฟุ่มเฟือยจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเห็นผล เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้


จุดเริ่มต้นของ บริษัท ไทย อินซูโฟม อุตสาหกรรม จำกัด (เดิมชื่อ บริษัท อินซูลแพค อุตสาหกรรม (กรุงเทพ) จำกัด) ก่อตั้งเมื่อปี 2530 โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องโฟม โฟม EPS Foam (Expandable Polystrene) ทั้งรูปแบบโฟมแผ่น โฟมก้อน และ Mold Packing โฟมขึ้นรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องจักรและระบบที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และการใช้งานให้ได้มากที่สุด

คุณ พงษ์อนันต์ บุญเลิศวรากุล กรรมการผู้บริหาร บริษัท ไทย อินซูโฟม อุตสาหกรรม จำกัด



คุณภูวนนท์ หนูเจริญ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยอินซูโฟม อุตสาหกรรม จำกัด


คุณภูวนนท์ หนูเจริญ ผู้บริหาร บริษัท ไทย อินซูโฟม อุตสาหกรรม จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจเราได้รับโอกาสทำงานในโครงการก่อสร้างคอสะพานถนนวัดนครอินทร์ (ถ.สะพานพระราม5) โดยมีการใช้ EPS FOAM ในการก่อสร้างบริเวณคอสะพานเป็นโครงการแรกในประเทศไทยที่ใช้ EPS FOAM มากที่สุด ปัญหาที่ผ่านมาของคอสะพาน คือบริเวณคอสะพาน จะมีการทรุดตัวจากการใช้งานบ่อยครั้ง ต้องแก้ไขด้วยการนำทรายจำนวนมากมาถมบริเวณที่ทรุดนั้น ทางด้านงานวิศวกรรมจึงมีพัฒนานวัตกรรมใหม่ คือ การใช้ EPS Foam ที่มีความคงทนต่อการใช้งานมาทดแทนการใช้ทราย และเริ่มเป็นที่รู้จักในกลุ่มก่อสร้างและงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ส่งผลให้ปัจจุบันคนหันมานิยมใช้ EPS FOAM มากขึ้น


การปรับปรุงบริเวณคอสะพานขนาดใหญ่ กรณีที่ผิวจราจรเกิดชำรุด หากด้านล่างเป็นทราย จะทำให้ทรุดตัวลง หากจะแก้ไขต้องยกผิวการจราจรใหม่ แต่ถ้าใช้ EPS Foam ถมแทนทรายก็ สามารถลอกผิวส่วนที่ชำรุดออก ซึ่งโฟมยังอยู่ที่เดิม ถ้าเทียบการลงทุนก่อสร้าง EPS Foam มีความคุ้มค่ามากกว่าในระยะยาว





“อีกส่วนหนึ่ง คือการใช้ EPS FOAM กับงานปรับพื้นที่ต่างระดับของงานสร้างตึกสูง,งาน Renovate ร้านค้าในห้างสรรพสินค้าและ งานก่อสร้างที่ต้องการลดน้ำหนักของคอนกรีตลง ตามปกติเวลาเราไปห้างหรือโรงแรมต่าง ๆ เราจะเห็นพื้นที่ ต่างระดับความสูง ต่ำ ต่างกัน สมมุติว่าปูน 1 คิว น้ำหนักประมาณ 2,400 กิโลกรัม ถ้าพื้นที่ตรงนั้นใช้ปูนซิเมนต์จะอยู่ที่ 10 คิว หรือ 24,000 กิโลกรัม แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ EPS Foam ใน 1 คิว อยู่ที่ 16 กิโลกรัม หากใช้ 10 คิว คือ 160 กิโลกรัม ถือว่าตอบสนองงานก่อสร้างได้ดีกว่า ข้อดีคือน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง จึงกลายเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น



นอกจากนี้ EPS Foam ยังมีรูปแบบการใช้งานหลากหลายในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ ใช้ในการทำแม่พิมพ์รถยนต์ งานขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ หรือในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีการใช้โฟมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน อากาศอบอ้าว จึงต้องการสร้างที่อยู่อาศัยขึ้นเพื่อป้องกันความร้อน และประหยัดพลังงาน


ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่นำ ผลิตภัณฑ์ EPS Foam มาออกแบบให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง ใช้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น บัวชิ้นใหญ่ เพื่อลดน้ำหนักชิ้นงาน แม้กระทั้งงานหลังคา ที่ปัจจุบันมักจะใช้ PU Foam แต่เมื่อเทียบราคา EPS Foam จะถูกกว่า ด้วยคุณสมบัติแทบไม่แตกต่าง ที่ต่างประเทศ โซนยุโรปหรือเอเซียมีการใช้กันมานานแล้วและยังใช้ EPS Foam มากขึ้น เพราะใช้งานได้หลายรูปแบบ กรณีหลังคาแบบลอน เราตัดเป็นแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ด้วย



EPS Foam วัสดุทดแทนคุณภาพสูง คุ้มค่าการลงทุน


คุณสมบัติเด่น อยู่ที่เนื้อโฟมที่มีความแข็ง และ ความหนาแน่น (Density) จากกระบวนการผลิตตามมาตรฐานสากลกำหนด เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภท ขณะนี้ ในประเทศไทยผลิต EPS Foam ที่มีความหนาแน่น ตั้งแต่ขนาด 0.55 -2.25 lb/ft3 ซึ่งมีค่าความปลอดภัยสูง และเกิดข้อผิดพลาดน้อย


เปรียบเทียบการใช้งานให้เห็นภาพ คือ การเทพื้น รูปแบบของ EPS Foam จะคล้ายก้อนขนมปังก้อนใหญ่ ขนาด 1.2 x 6 x 0.6 เมตร (กว้าง x ยาว x หนา) ยกไปหน้างานเป็นก้อน ๆ แต่หากเป็นทราย ต้องใช้รถบรรทุก ขนและเทที่หน้างาน

ส่วนปริมาณ ถ้าวัดปริมาตร จะนับเป็นคิวเหมือนกันทราย 1 คิว = 1,800 กิโลกรัม ถ้างานนั้นใช้ทราย 50 คิว เราจะคำนวณออกมาเป็นจำนวนก้อนที่ต้องใช้ตามนั้น การทำงานจึงรวดเร็วและสะดวกกว่า ลดระยะเวลาการผลิตให้เร็วขึ้น เพราะการนำทรายไปเทพื้น ต้องมีรถแบคโฮ มีรถดัมพ์มายก แต่ EPS Foam 1 คิว = 16 กิโลกรัม ทำให้การก่อสร้างเร็วขึ้นอย่างมาก




EPS Foam มาจากไหน?


EPS มีสารตั้งต้น คือปิโตรเคมีต่าง ๆ เช่น น้ำมันดิบ ถูกกลั่นออกมาเป็น น้ำมันดีเซล แก๊สโซฮอลล์ แล้วนำมาผ่านกระบวนการเป็น พลาสติก และเป็น EPS


EPS Foam แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ แบบไม่ลามไฟ และลามไฟ โฟมลามไฟเป็นกลุ่มที่ใช้สำหรับโฟมทำ กระทง หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ กลุ่มที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง โฟมก้อน และโฟมแผ่นเป็นฉนวนกันความร้อนและเก็บความเย็น เป็นชนิด F-Grade ไม่ลามไฟ (Fire retardant) สำหรับงานก่อสร้างบ้านและอาคารประหยัดพลังงาน โฟมไม่ลามไฟจะจุดติดไฟเหมือนกัน แต่สามารถดับเองได้ในเวลาเพียง 5-10 วินาที พอไปอยู่ในผนังแซนวิชพาแนล ตัวพาแนลจะเป็นเมทลชีทที่ทนไฟและEPS Foam ไม่ลามไฟก็จะสามารถติดไฟได้ช้าลง


ต้องบอกว่า ไม่มี EPS โฟมประเภทไหนที่จุดแล้วไม่ติดไฟ แต่EPS FOAM ไม่ลามไฟ ติดไฟแต่จะดับเองดังที่กล่าวตัวอย่างเช่น การที่เรานำจุดไม้ชีดไฟก้านหนึ่งไปวางไว้ พอไฟติดถึงส่วนก้านที่เป็นไม้หมดไฟ ก็จะดับได้เอง รวมถึงจุดเด่นของ EPS Foam คือคุณสมบัติเรื่องความแข็งแรง แต่น้ำหนักเบา สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาในการทำงาน




โฟม ‘จำเลยสังคม’ ผู้ร้ายทำลายโลก จริงไหม?


โฟมมีหลายประเภท อยู่ที่ว่าคุณเลือกใช้แบบไหน อย่างกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง ถ้าเป็น EPS เรารีไซเคิลได้ ส่วนที่นำมาทำกล่องใส่อาหารก็จะเป็นอีกชนิดหนึ่ง หรือ โฟมที่ใช้ล้างรถ โฟมที่ใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ ก็เรียกว่าโฟมเหมือนกัน แต่นำมารีไซเคิลได้ไหม ต้องดูจากตรงนี้


ขึ้นชื่อว่าโฟม มักถูกเหมารวมและมองว่าเป็นผู้ร้าย เราต้องทำความเข้าใจใหม่ ในวงการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะรู้ว่าเป็นคนละชนิด สินค้าของเราควบคุมภายใต้มาตรฐานสากล ISO 9001 และ ISO 14001 ปราศจากสาร CFC ในกระบวนการผลิต ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเรามีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ปรึกษาในการเลือกใช้โฟมให้เหมาะกับงานลูกค้า เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด


ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม วัสดุของเราปราศจากสาร CFC ในกระบวนการผลิต ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม แม้กรณีเกิดไฟไหม้ อาจจะมีมลพิษ แต่จะมีปริมาณน้อย




นวัตกรรม ‘โฟม’ ที่ดีต่อโลกใบนี้


ยกตัวอย่าง โฟมที่ใช้ในเทศกาลลอยกระทง รณรงค์ให้เลิกใช้ แต่มีปีหนึ่งที่ผู้ว่าฯ ท่านหนึ่งบอกให้ใช้โฟม เพราะจัดเก็บง่าย น้ำหนักเบา และที่สำคัญ EPS สามารถนำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลแล้วนำไปใช้ใหม่ได้ ปริมาณ1 ตันใช้เวลารีไซเคิลแค่ 3 ชั่วโมง แต่หากนำกลับมาหลอมอย่างถูกวิธี จะรีไซเคิลได้ทั้งหมด ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


เรื่องวัสดุทดแทน ตอนนี้เรายังมองไม่เห็นว่าจะมีอะไรที่แทนได้ เพราะ EPS Foam มีลักษณะเป็นเซลล์ปิด (Closed-cell) ทุกวันนี้ โลกเรายังร้อนอยู่ อะไรจะมาป้องกันไม่ให้บ้านและอาคารร้อน ทำยังไงให้บ้านเราสะอาด ยังหาไม่ได้ แต่ปัจจุบัน ภาพรวมคือคนเริ่มเห็นประโยชน์ กล้าใช้ และมั่นใจขึ้น เมื่อทดแทนทรายได้ เพราะเราไม่ต้องดึงวัสดุธรรมชาติมาใช้ ช่วยรักษาความสมดุลให้โลก


“เราเห็นกลไกที่เคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อม อย่างการใช้รถยนต์อีวี อนาคตของรถยนต์สันดาปอาจจะลดลง การผลิตน้ำมันจะลดลง หรือหายไป ถ้าหันมาผลิตเป็น EPS Foam หรือ PU มากขึ้น ราคาก็จะลดลง การใช้งานอาจจะพัฒนาได้ดีขึ้นอีก เราพยายามหาข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือในอนาคตไว้เหมือนกัน ปัญหาคือ เรื่องต้นทุนยังสูง ทราย 1 คิว ราคาประมาณ 400 บาท ส่วน EPS Foam จะอยู่ที่ประมาณ 2,000 กว่าบาทต่างกันค่อนข้างมาก แต่ทำยังไงให้คนรับรู้ว่า คุณซื้อครั้งเดียว ช่วยลดการใช้เครื่องจักรหนักได้ ทั้งยังผลิตได้รวดเร็ว การขนส่งก็สะดวกกว่า ถ้าเทียบค่าโสหุ้ย (Overhead Cost) ต่าง ๆ EPS Foam อาจจะถูกกว่าก็ได้”


ในภาพรวม ธุรกิจงานก่อสร้าง มีสัดส่วนอยู่ที่ 30% ถือเป็นปริมาณที่มาก เราให้ความรู้แก่ผู้ใช้หลายกลุ่ม คนเริ่มสนใจ เชื่อว่าในอนาคตจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะงานเกี่ยวกับพื้นต่างระดับในอาคาร ห้างสรรพสินค้า ถือว่าตอบโจทย์มาก จบงานเร็ว น้ำหนักเบา ไม่เป็นภาระของโครงสร้างเดิม


ขณะเดียวกัน การก่อสร้างทาง รถไฟฟ้า เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ใช้ EPS Foam จำนวนมาก ช่วยลดน้ำหนักปูนซีเมนต์ แต่คนส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยทราบ ตราบใดที่ยังมีงานก่อสร้างยังมีอยู่ วัสดุทดแทนอย่าง EPS Foam จะเติบโตไปด้วยเช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าโครงการไหนจะเริ่มปรับมาเลือกใช้



แน่นอนว่า เมื่อธุรกิจนี้เติบโตขึ้น ย่อมมาพร้อมการพัฒนาประสิทธิภาพ และ Know-How ที่มากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะฟังก์ชั่นการใช้งาน และรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น ซึ่งคุณภูวนนท์ กล่าวว่า ปัจจุบัน งานก่อสร้างสร้างที่ใช้ EPS Foam สามารถรองรับน้ำหนักได้มากเกินพอ ยกตัวอย่างตัวอาคารที่ใช้ EPS Foam ปรับระดับยก ตัวอย่างมีคนเดินไปมา 100 คน ต่อ 1 ตารางเมตร น้ำหนักต่อคนเฉลี่ย 50 กิโลกรัม รวมแล้วก็เกือบ 5,000 กิโลกรัม ใช้โฟมไม่ถึง 1 คิว ซึ่งถือว่ายังรับได้อีกเหลือเฟือ




ทั้งนี้ นอกจากงานก่อสร้าง EPS Foam ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นอีกมากมาย เฉพาะลูกค้าของเรา มีกว่า 25 ประเภท เช่น งานเกษตรกรรม จะเป็นกลุ่มโฟมปลูกผักไฮโดรโพนิกส์ ร่องสวน เก็บผลไม้ ใช้แทนเรือลอยน้ำ ซึ่งมีน้ำหนักเบา แต่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ 600 กิโลกรัม อีกทั้วยังมีบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยในการขนส่ง เก็บรักษาอุณหภูมิสินค้าและคุณภาพสินค้าได้นาน หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารทะเล อุตสาหกรรมผักและผลไม้ สินค้าแช่แข็ง


คุณภูวนนท์ ทิ้งท้ายว่า คำว่า ‘รีไซเคิลโฟม’ ทำได้ แต่ข้อเสียคือ บางครั้งการเอาโฟมไปใช้งานแล้วติดร่วมกับวัสดุอื่นอย่าง อาทิเช่นกาวที่มีความเหนียว หรือวัสดุอื่นๆ ก็จะไม่สามารถนำมารีไซเคิลวัสดุทั้งชิ้นได้ จึงต้องนำมาแยกส่วนออกก่อน แต่หากเป็น EPS Foam อย่างเดียว ก็ไม่มีปัญหา เพราะรีไซเคิลได้ 100% เป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circle Economy) ที่นำนวัตกรรมมาปรับใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมต่าง ๆ เปลี่ยนภาพจำจากผู้ร้าย กลายเป็นพระเอกที่คอยช่วยโลก


ติดตามเรื่องราวของ บริษัท ไทย อินซูโฟม อุตสาหกรรม จำกัด เพิ่มเติมได้ที่

www.insufoam.co.th




Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
5 | 18/04/2025
“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

“โรงหล่อ ก.เจริญ” ผู้นำอุตสาหกรรมเหล็กหล่อไทยกว่า 50 ปี ด้วยนวัตกรรม Lean Manufacturing และ Automation

ในโลกของอุตสาหกรรมการผลิต “วัตถุดิบโลหะ” ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน เครื่องจักร…
pin
8 | 11/04/2025
เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

เปลี่ยนขยะให้เป็นมูลค่าด้วย Zero-Waste

แนวคิด Zero-Waste กลายเป็นกลยุทธ์ที่องค์กรทั่วโลกให้ความสำคัญหลายธุรกิจเริ่มตระหนักว่าการลดขยะไม่ใช่แค่ช่วยสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยลดต้นทุน…
pin
11 | 06/04/2025
นวัตกรรมใหม่ ‘EPS Foam’ โฟมรักษ์โลก น้ำหนักเบา – สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก ทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเช่น ดิน ทราย ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง