ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

SME in Focus
05/02/2025
รับชมแล้วทั้งหมด 1 คน
ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน
banner
แม้ในปัจจุบัน มนุษย์จะมีองค์ความรู้มากขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแทบทุกวงการ มนุษย์ก็ต้องการเครื่องทุ่นแรง เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ เช่นเดียวกับด้านการเกษตรที่นอกจากภาพของเกษตรกร ผลผลิต ทุ่งนา ที่อยู่บนกรีนสกรีนของผืนป่าสีเขียวแล้วนั้น ก็ยังมีบรรดาเครื่องจักร เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรม ใหม่ ๆ แทรกตัวอยู่ในฉากเหล่านั้น และนั่นจึงทำให้ชื่อของ “ฮิโนต้า” ขับเคลื่อน เดินเครื่องอยู่คู่คนไทยมากว่า 40 ปีในวงการเกษตรกรไทย   



จุดเริ่มต้นธุรกิจ  

คุณโอฬาร ธีระสถิตย์ชัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาซีอีโอ บริษัท ฮิโนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้เปิดเผยเรื่องราวนี้ว่า ผมเป็นทายาทธุรกิจรุ่นที่ 2 ในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกลทางการเกษตร หลังจากคุณพ่อเป็นรุ่นบุกเบิก โดยเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก สำหรับรถไถนาเดินตาม ซึ่งนับเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเป็น ‘ลูกค้าธนาคารกรุงเทพ’ มาอย่างยาวนานตั้งแต่ 30 - 40 ปีที่แล้ว

การดำเนินธุรกิจของ ‘ฮิโนต้า’ มุ่งเน้นการผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตร ด้วยเล็งเห็นปัญหาเรื่องเกษตรกรไม่มีเครื่องจักรที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ โดยเฉพาะเครื่องจักรขนาดเล็กที่บริษัทต้องการโฟกัสเป็นพิเศษ เพราะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยใช้เวลาทำงานน้อยลง ช่วยให้ลดต้นทุนการดำเนินงาน ภายใต้การพัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสิ่งสำคัญคือ การบริการหลังการขาย ที่เรายึดมั่นหลักการดูแลลูกค้า เสมือนเป็นบุคคลในครอบครัวเรา

สตาร์ทเครื่องเดินหน้าพา “เกษตรกร” ฝ่าอุปสรรคด้วยเทคโนโลยี    

จากประสบการณ์ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของบริษัท ฮิโนต้า จำกัด พบว่าสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจคือ ความเชื่อมั่นของลูกค้า โดยการที่จะทำให้เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นในตัวบริษัท ตัวสินค้า ตลอดจนแบรนด์ ‘ฮิโนต้า’ ของเราได้ เราต้องพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ ควบคู่กับการสร้างเครือข่ายเกษตรกร มีการให้ความรู้ สามารถนำไปใช้งานได้จริง พร้อมผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งกันและกันในกลุ่มเกษตรกร จนเกิดเป็นองค์ความรู้ เพื่อความยั่งยืนในอนาคต ทั้งนี้จะเน้นกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ที่มีการทำเกษตรแบบผสมผสาน มีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ อาทิ กลุ่มที่ปลูกดาวเรือง พริก ข้าวโพดหวาน และผักต่าง ๆ รวมทั้งเกษตรกรหน้าใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ 

ส่วนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ บริษัทพยายามมองเรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่า มีการตรวจสอบว่าอะไรที่จะสามารถช่วยลดการใช้ทรัพยากรได้มากที่สุดก่อนจะผลิตสินค้าออกมา ตลอดจนการใช้อุปกรณ์ที่จะช่วยคำนวณปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เพื่อพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต

รวมถึงด้านการตลาด ‘ฮิโนต้า’ เคยทำ TVC โฆษณาในทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ แต่ปัจจุบัน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง บวกกับเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับตัวมามุ่งเน้นการตลาดออนไลน์บนหลากหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, YouTube, Tiktok รวมถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยสื่อสารทางการตลาดออกไป

เรื่องดังกล่าวเป็นแรงผลักดันให้เราคิดค้นพัฒนา “รถอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร” จนได้รับรางวัลด้านนวัตกรรม จาก สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) 

ขับเคลื่อนความยั่งยืนผ่านนโยบาย เรียนรู้จากผิวดิน ส่งต่อคนไทยแข็งแรง 



บริษัทมีโครงการที่จะช่วยทำให้เกิดความยั่งยืน โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากปัญหาโรคพืชที่ทำให้ได้ผลผลิตลดลง เพราะดินขาดธาตุอาหาร ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดิน สิ่งที่บริษัททำคือ ‘การสร้างกระบวนการจำลองระบบนิเวศในป่ามาสู่ในแปลง’ อธิบายให้เห็นภาพคือ ‘ป่า’ ไม่เคยมีใครรดน้ำต้นไม้ ไม่เคยมีใครพรวนดิน ไม่เคยมีใครใส่ปุ๋ย แต่ทำไมป่าถึงอุดมสมบูรณ์ นั่นเป็นเพราะว่า ป่ามีวัฏจักร เป็นระบบนิเวศ ในทางกลับกัน ‘แปลงเกษตร’ สิ่งที่เราเห็นจนชินตาคือการปลูกและเผา ทำลายจุลินทรีย์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ส่งผลให้ดินขาดธาตุอาหาร

เราใช้เครื่องย่อยวัสดุเหลือใช้การเกษตร และนำกลับสู่ดินโดย ‘เจ้าช้างน้อย’ รถพรวนดินของบริษัท พร้อมเติมจุลินทรีย์ และมูลไส้เดือนซึ่งช่วยย่อยอินทรียวัตถุที่เติมเข้าไป ทำให้ดินกลับมามีชีวิตอีกครั้ง เป็นวิธีคิดที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน เพราะเมื่อเราทำให้ดินดี พืชดี ผลผลิตดี เกษตรกรสามารถส่งต่อผลิตผลที่มีคุณภาพให้โรงงานนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพส่งต่อถึงมือผู้บริโภคปลายทางได้ในที่สุด 

เรื่องคุณภาพถือเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต เช่น ข้าว ที่โรงสีข้าวอยากได้ข้าวเม็ดโต ไม่มีสิ่งปลอมปน แต่ปัจจุบันเกษตรกรใช้ข้าวที่ไม่ได้คุณภาพมาแปรรูป ทำให้คุณภาพข้าวต่ำ โดยคิดง่าย ๆ ว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็มีโรงงานมาเหมา แต่สุดท้ายเมื่อวัตถุดิบไม่มีคุณภาพ โรงงานก็ต้องเอาไปเติมแต่ง 

“แล้วสุขภาพของผู้บริโภคล่ะ”
 แน่นอนสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในอนาคต ผู้คนจะสุขภาพแย่ลง เพราะบริโภคแต่สารเติมแต่ง แต่หากเกษตรกรทำให้ผลผลิตมีคุณภาพตั้งแต่ต้นทาง แล้วมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในตลอดกระบวนการผลิตก่อนจะถึงมือผู้บริโภค นอกจากสินค้าจะมีคุณภาพแล้ว ยังสามารถผลิตได้จำนวนมาก และช่วยยืดอายุได้นานขึ้นอีกด้วย 

การดำเนินการดังกล่าว อยู่ภายใต้นโนบาย  2Q ประกอบด้วย Q1 คุณภาพ (Quality) ต้องผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน และ Q2 ปริมาณ (Quantity) ต้องทำให้ได้ปริมาณเพียงพอกับความต้องการของตลาด หากเราสามารถยึดหลัก 2Q และสามารถทำได้ตามนโยบาย เกษตรกรจะอยู่รอดได้เพราะทุกคนจะเข้ามาหาเรา เพราะสินค้าเรามีทั้งคุณภาพและปริมาณ

อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้นับเป็นความท้าทาย เนื่องจากจากประสบการณ์ของบริษัท คือ องค์ความรู้ของเกษตรกรค่อนข้างน้อยมาก หลายคนเลือกสินค้าจากความรู้สึก จากสิ่งที่เห็น จากคนรอบข้างที่ใช้งาน แตไม่ได้เลือกจากสิ่งที่เขาต้องการ เช่น ข้างบ้านมีรถแบบนี้ ฉันต้องมีแบบนี้ มีเครื่องตัวนี้ ฉันก็ต้องมีเครื่องตัวนี้ แต่เขาอาจไม่ได้ถามความต้องการของตัวเองว่า เราต้องการรุ่นนี้แบบนี้ไหม 



ยกตัวอย่างคำถามว่า การจะปลูกข้าว ต้องพรวนดินลึกกี่ ซ.ม. บางครั้งเกษตรกรก็ตอบว่าเอาแบบลึก ๆ ยิ่งลึกยิ่งดี หลายครั้งก็ต้องย้อนกลับมาดู เช่น รากข้าว มีความยาวประมาณ 15 ซ.ม. ดังนั้น เกษตรกรต้องมีองค์ความรู้เหล่านี้ เช่น ไถให้เกิน 15 ซ.ม. เพื่อให้รากพืชยึดเกาะได้ ส่วนเครื่องจักรที่ต้องการใช้ ก็ต้องไปศึกษาว่า เครื่องไหนทำแบบนั้นได้ 

เหล่านี้จึงนับเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับบริษัท นั่นก็คือ ‘ความไม่รู้’ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่บริษัทต้องทำคือ ต้องใส่ความรู้ให้กับเกษตรกร   

วิสัยทัศน์ การพัฒนา “ฮิโนต้า” สู่การแข่งขันเกษตรอาเซียน หรือ ท่องสู่การแข่งขันเกษตรอาเซียน ด้วยวิสัยทัศน์การพัฒนา ‘ฮิโนต้า’

นอกเหนือจากสิ่งที่ต้องต่อยอดจากปัจจุบัน วิสัยทัศน์ในอนาคตของบริษัทต่อภาคการเกษตร ก็ต้องทำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เรื่องตัวเลข การวิเคราะห์ธาตุอาหาร ปริมาณธาตุอาหาร เกษตรกรจำเป็นต้องรู้ว่าในดินแต่ละประเภท เหมาะสมกับการปลูกพืชอะไร และพืชที่ปลูกอยู่ ต้องการธาตุอะไร และในดินมีเพียงพอไหม ตลอดจนเรื่องสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม มรสุม เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และหาแนวทางปฏิบัติเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ได้อย่างทันเวลา ซึ่งเรามองว่าสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องมี “แพลตฟอร์ม” เป็นตัวช่วยทางการเกษตร 

ส่วนทางด้านบุคลากร ต้องบอกว่า ปัจจุบันเกษตรกรขาดทักษะเหล่านี้ ก็ต้องมาบ่มเพาะเขา มาเพิ่มทักษะ ด้วยการจัดอบรมแบบ  On the Job Training เป็นเสมือนการสร้างการเรียนรู้ควบคู่กับการทำงานจริง



(เราเป็นคนออกแบบ และรอให้หน่วยงานที่มีความพร้อม มาใช่ผลิต ODM หรือ Original Design Manufactuere คือ ผู้รับจ้างที่ออกแบบและ ผลิตสินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง ซึ่งโรงงานประเภทนี้ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกับประเภท OEM โดยผู้รับจ้างจะมีความสามารถทั้งการผลิตและออกแบบ โดยสามารถพัฒนารูปแบบสินค้าได้เองและนำแบบสินค้านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้าที่มีแบรนด์แล้ว หรือเป็นการออกแบบร่วมกัน โดยที่ลูกค้ามีน่าที่ในกระบวนการขายและกระจ่ายสินค้าสู่ตลาดเอง การออกแบบเหล่านี้มีทั้งที่เป็นExclusive คือออกแบบให้เฉพาะราย โดยมีการคิดค่าออกแบบที่แพง เพราะถือว่าลูกค้าเพียงรายเดียวจะได้ประโยชน์ไปอย่างเต็มที่หรือnon exclusiveคือให้สิทธิได้กับหลายรายในราคาค่าออกแบบที่ถูกลงนั่นเอง)

แผนธุรกิจในอนาคต เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต และสามารถเปิดตลาดต่างประเทศได้ เราจึงเลือกที่จะทำในรูปแบบ ODM หรือ Original Design Manufactuere เรามีโรงงานหลักในไทย เน้นเรื่อง Robot และในต่างประเทศ อาทิ ลาว กัมพูชา ที่ส่วนใหญ่เน้นงานด้านเครื่องจักร และมีแผนจะขยายไปพม่า เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ในอนาคต

ทิ้งท้ายถึงเกษตรกรไทย ผลักดัน “นักพัฒนาการเกษตร” 

คุณโอฬาร กล่าวเสริมถึงภาคการเกษตรของประเทศไทยว่า นอกจากการที่มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาซีอีโอ บริษัท ฮิโนต้า จำกัด ผมยังวางตัวเองเป็น “นักพัฒนาการเกษตร” อีกด้วย เพราะมองว่าประเทศไทยยังขาดตำแหน่งนี้ เนื่องจากเรามีทั้งเกษตรกร และนักวิชาการจำนวนมาก แต่เราขาดนักพัฒนา ซึ่งประเทศไทยเคยมีนักพัฒนาที่เก่งมาก นั่นคือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านคือ นักพัฒนาการเกษตร เราเห็นท่านเป็นต้นแบบในการวางรากฐานต่าง ๆ เรื่องจุลินทรีย์ 

ปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารจุลินทรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดจากดิน เป็นสิ่งที่ต้องมีคนเข้าใจและไปต่อยอดสิ่งนี้ออกมา แม้บริษัทจะเน้นทำเครื่องจักรด้านการเกษตร แต่เรายังคงมีความสนใจในเรื่องของไบโอเทค รวมถึงในเรื่องการเกษตรด้วย 

ทั้งหมดนี้จึงทำให้เราอยากจะเป็น “นักพัฒนาการเกษตร” เพื่อนำสิ่งที่เราได้เรียนรู้ไปช่วยพัฒนาเกษตรกร เพราะเครื่องจักรของบริษัทเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเกษตรเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จะทำอย่างไรให้เกษตรกรได้มีผลผลิตที่ดี ตามหลัก 2 Q นโยบายที่เรามุ่งมั่นผลักดันให้เกิดขึ้นจริงกับเกษตรกรทุกคน    

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน

แม้ในปัจจุบัน มนุษย์จะมีองค์ความรู้มากขึ้นเพียงใดก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในแทบทุกวงการ มนุษย์ก็ต้องการเครื่องทุ่นแรง เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องต่าง…
pin
2 | 05/02/2025
ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

ราชินีแห่งดอนตูม รวมกลุ่มเกษตรกร ส่งต่อมะเขือเทศผ่านแนวคิดพอเพียง

เสิร์ฟสานความสดใหม่ ร่วมมือร่วมใจเกษตรกรแข็งขัน องค์ความรู้เก่า แนวคิดใหม่ ส่ง “มะเขือเทศราชินี” สู่การแข่งขันจากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง…
pin
5 | 04/02/2025
“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

“น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” จากธุรกิจครอบครัว สู่แบรนด์ระดับโลก สร้างความยั่งยืนธุรกิจเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG

เจาะกลยุทธ์ “น้ำปลาร้าแม่บุญล้ำ” สร้างความยั่งยืนธุรกิจ ด้วยแนวคิด ESG เติบโตเคียงคู่ดูแลสิ่งแวดล้อม สู่แบรนด์ระดับโลกช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา…
pin
8 | 21/01/2025
ขับเคลื่อนเกษตรกรไทยด้วยแนวทาง 2 Q เปิดสวิตช์ติดเครื่อง ฟื้นคืนวัฏจักร ผลักดันสู่อาเซียน