อาเซียน-RCEP เลื่อนเจรจาเซ่นพิษโควิด

SME Update
04/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1744 คน
อาเซียน-RCEP เลื่อนเจรจาเซ่นพิษโควิด
banner

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังทวีความรุนแรงอยู่ในขณะนี้ ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากรทั่วโลกเท่านั้น แต่ในด้านเศรษฐกิจยังได้รับผลกระทบรุนแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2563 จำเป็นต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงสินค้า หรือเวทีการประชุมระดับโลก ทั้งการประชุมขององค์การการค้าโลก (WTO) การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปก รวมถึงการประชุมเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในกรอบอาเซียนต่างประกาศเลื่อนตามกัน 



อย่างไรก็ตาม ในบางการประชุมได้ปรับมาใช้รูปแบบการประชุมทางไกลเสมือนจริง (virtual meeting) แทน เช่น  WTO หรือ RCEP แต่กิจกรรมที่วางแผนจะดำเนินการภายใต้การประชุมก็ยังไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะในเวทีอาเซียนปีนี้ทางเวียดนามประเทศเจ้าภาพ ได้ประกาศเลื่อนการประชุมนัดสำคัญออกไปหมด


การประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ที่กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-9 เม.ย.2563 ณ เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ได้เลื่อนไปจัดในช่วงปลายเดือน มิ.ย.2563 แทน ขณะที่การประชุมสุดยอดอาเซียนของระดับผู้นำ (ASEAN Summit) ก็จะเลื่อนการประชุมเช่นเดียวกัน  


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ขณะที่ RCEP จำเป็นต้องเลื่อนการประชุมที่เดิมมีกำหนดจัดในเดือนมีนาคม เนื่องจากสมาชิกหลายประเทศมีมาตรการห้ามเดินทางเข้า-ออกประเทศ แต่ทุกประเทศจะร่วมกันปรับแผนการทำงานเพื่อให้การเจรจาเดินหน้าต่อไป และสามารถลงนามความตกลงภายในปี 2563 ตามเป้าหมายเดิม


โดยจะใช้วิธีการจัดประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างสมาชิก ซึ่งได้เริ่มใช้กับการประชุมคณะกรรมการเจรจาอาร์เซ็ป (TNC RCEP) ครั้งที่ 29 ระหว่างวันที่ 23-27 มีนาคมที่ผ่านมา แทนแผนเดิมที่กำหนดประชุมที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ณกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเวทีแรก

ทั้งนี้ แม้ว่าจะประชุมทางไกลเสมือนจริงได้ แต่ทว่าผลจากการที่ต้องระงับหรือเลื่อนการประชุมออกไป อาจทำให้ต้องเลื่อนการลงนามความตกลง RCEP ที่มีกำหนดจะต้องลงนามในปีนี้ลากยาวออกไปด้วย  


เป็นที่น่าจับตามองว่า สมาชิกในความตกลง RCEP ทั้ง 14 ประเทศ ยกเว้นอินเดียที่ได้ประกาศชะลอการลงนามออกไป จะเดินหน้าเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ ท่ามกลางความคาดหวังว่า RCEP จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาและลดการกีดกันทางการค้า รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตในภูมิภาค RCEP ซึ่งถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ ที่มีประชากรรวมกันกว่าครึ่งโลกหรือ 3,500 ล้านคน มีมูลค่า GDP กว่า 27 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 32 ของมูลค่า GDP โลก


ในส่วนของ "ไทย" ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าจะได้ประโยชน์อย่างมากหาก RCEP สำเร็จ ด้วยเหตุที่ในปี 2561 ไทยกับประเทศสมาชิก RCEP มีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 2.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 59.8% ของการค้ารวมทั้งหมดของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปยังประเทศสมาชิก RCEP กว่า 1.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 58.8% ของการส่งออกของไทยไปโลก และไทยนำเข้าสินค้าจากประเทศ RCEP กว่า 1.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 60.7% ของการนำเข้าไทยจากโลก


ขณะที่เวทีอาเซียนเองก็ได้เตรียมประชุมทางไกลเสมือนจริง และได้เร่งออกมาตรการตามแผนที่ได้มีการหารือกันไว้ โดยล่าสุดทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศระบุว่า เวียดนามประกาศปรับปรุงเงื่อนไขนำเข้ารถยนต์  (Decree 17/2020) โดยได้ผ่อนปรนให้ตรวจสอบคุณภาพเฉพาะล็อตแรกที่นำเข้า ยกเลิกการใช้หนังสือรับรองคุณภาพที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก และให้หน่วยงานของเวียดนามเข้าไปตรวจประเมินโรงงานการผลิตของประเทศผู้ส่งออกแทน




ซึ่งผลจากการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะช่วยอำนวยความสะดวกผู้ส่งออกไทยมากขึ้น และต้องติดตามกันต่อไปว่า อาเซียนจะลงนามบันทึกความร่วมมือ (MRA) เรื่องรถยนต์นำเข้าตามแผนที่วางไว้ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 สิงหาคม 2563 ได้หรือไม่  


ทั้งนี้ ในปี 2562 เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทย จำนวน 74,993 คัน มูลค่า 1,527 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีปริมาณการนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากปี 2561 โดยคาดว่าภายหลัง Decree 17 บังคับใช้ ประกอบกับการทำข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน จะทำให้ไทยสามารถส่งออกรถยนต์ไปเวียดนามได้มากขึ้น



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ผนึก RCEP รับมือการค้าโลกผันผวน

อาเซียนแถลงการณ์ รับมือ COVID-19


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
898 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1225 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1520 | 25/01/2024
อาเซียน-RCEP เลื่อนเจรจาเซ่นพิษโควิด