ภายใต้การลงทุนสร้างท่าเรือสำราญของเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน นับตั้งแต่ทางการจีนริเริ่มผลักดันการท่องเที่ยงโดยเรือสำราญในช่วงปี 2550 ธุรกิจการเดินเรือสําราญเมืองเซี่ยเหมินมีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดโดยกระทรวงคมนาคมของจีนเปิดเผยข้อมูลว่าในช่วงสามเดือนแรก (ม.ค. – มี.ค.) ของปี 2562 ว่า ท่าเรือสําราญนานาชาติเมืองเซี่ยเหมินรองรับเรือสําราญจํานวน 32 ลํา เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และมีจํานวนการใช้ท่าเรือสูงถึงเกือบ 90,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
ขณะที่ในภาพรวมทั่วประเทศ ในปี 2561 จีนรองรับผู้โดยสารเรือสําราญสูงถึง 2,500,000 คน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปี 2560 ทั้งนี้
รัฐบาลจีนตั้งเป้าหมายเพิ่มจํานวนนักท่องเที่ยวโดยเรือสําราญให้เป็น 14 ล้านคนต่อปีภายในปี 2578
โดยออกนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวเรือสําราญสําหรับท่าเรือสําคัญของจีน ได้แก่
เซี่ยเหมิน เซี่ยงไฮ้ (เน้นพัฒนาการท่องเที่ยวโดยเรือสําราญตามเส้นทางแม่น้ำแยงซี)
กว่างโจว ไหโข่ว และชิงต่าว
ทั้งนี้ Cruise Lines International Association คาดการณ์ว่า ปี 2562 จะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางโดยเรือสําราญจํานวน 2.4 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ
ขณะที่ตลาดนักท่องเที่ยวจีนปัจจุบันถือเป็นนักท่องเที่ยวที่มีกําลังซื้อและมีจํานวนมากที่พร้อมที่จะเดินทางท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง
ๆ รวมทั้งมีแนวโน้มที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมท่องเที่ยวเรือสําราญเพิ่มขึ้นทุกปี
ทั้งนี้
ไทยสามารถใช้กรอบความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องของจังหวัดในไทยและเมืองเซี่ยเหมิน
เพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางเรือ (Marine
Tourism) และการท่องเที่ยวเรือสําราญเส้นทางเมืองเซี่ยเหมิน
– ไทย
ความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าว
เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2562 สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน ได้เชิญผู้บริหารบริษัท China International Travel Service Co., Ltd. (CITS) นําโดยนางเจิง หลาน รองผู้จัดการใหญ่บริษัท CITS สาขาเมืองเซี่ยเหมิน และผู้แทน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) สำนักงานกว่างโจวประจําเมืองเซี่ยเหมิน
เข้าร่วมการหารือเพื่อติดตามความคืบหน้าของแผนการดําเนินธุรกิจการเดินเรือสําราญเส้นทางจากเมืองเซี่ยเหมินไปยังไทย
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562
รวมทั้งเมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2562 นายหลี่
เสี่ยวผิง
อธิบดีสำนักงานต่างประเทศประจำเมืองเซี่ยเหมิน
ได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวกับเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง
ว่าจะเป็นประโยชน์หากจะผลักดันให้มีการท่องเที่ยวเรือสําราญเส้นทางเมืองเซี่ยเหมิน
– ไทย
โดยนางเจิง รองผู้จัดการใหญ่บริษัท CITS กล่าวว่า บริษัทฯ เริ่มให้ความสําคัญกับธุรกิจเดินเรือสําราญมากขึ้นตั้งแต่ปี
2559
เนื่องจากการท่องเที่ยวโดยเรือสําราญเริ่มเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจีน
เนื่องจากสามารถเดินทางไปยังหลายประเทศในคราวเดียว
แม้ว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวในการท่องเที่ยวทางเรือสําราญค่อนข้างสูง เช่น
ค่าห้องพักเริ่มต้นที่ประมาณ 2,000-10,000 หยวนต่อคืน
นอกจากนี้ นางเจิงยังให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2562 บริษัทฯ ได้ร่วมจัดแถลงข่าวเปิดตัวการซื้อเรือสําราญลําแรกของบริษัทฯ ชื่อ “กู่ล่าง-ยวู่” ซึ่งเป็น การร่วมทุนซื้อระหว่างบริษัท Astro Ocean international Cruise บริษัท CTS (China Travel Service Co., Ltd.) และบริษัท CITS โดยจัดตั้งศูนย์ดําเนินกิจการในเมืองเซี่ยเหมิน
เรือสําราญ “กู่ล่าง-ยวู่” มีน้ำหนัก
70,000 ตัน บรรทุกผู้โดยสารได้ 1,880 คน และมีอุปกรณ์อํานวยความสะดวกครบครัน
โดยมีแผนจะเริ่มเดินเรือในเดือน ก.ย. 2562 ไปยังฮ่องกงเป็นแห่งแรกและไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป
แต่เรือสําราญลำดังกล่าวมีขนาดใหญ่กว่าเรือ Star Cruise ที่บริษัทฯ
ให้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ในปัจจุบัน
จึงอาจไม่เหมาะสําหรับการเดินเรือไปประเทศไทย
เนื่องจากมีอัตราความเร็วในการเดินเรือช้า
อย่างไรก็ดี
นางเจิงได้แสดงความประสงค์ที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อไปเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจเรือสําราญเส้นทางเชี่ยเหมิน
– ประเทศไทย และเข้าใจดีว่าเรื่องนี้จะต้องใช้เวลาในการสํารวจศึกษา
รวมทั้งต้องมีการขอใบอนุญาตการเดินเรือสําราญทั้งจากฝ่ายไทยและจีนด้วย
ด้านสถานการณ์การท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน
นายอวู๋ เสี้ยวหมิ่น ผู้จัดการฝ่ายเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของบริษัท CITS แจ้งว่า
ฤดูการท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวจีน ได้แก่ ช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. และ ก.ค.
– ส.ค. และขณะนี้กลุ่มบริษัทนําเที่ยวนิยมขอรับการตรวจลงตราแบบ Visa on Arrival เพราะได้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียม
โดยใช้ระยะเวลาในการขอตรวจลงตราประมาณ 2 ชั่วโมงต่อหมู่คณะ
ทั้งนี้
สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวจีนจากทั้งเมืองเซี่ยเหมินและมณฑลฝูเจี้ยนยังคงเป็นกรุงเทพฯ
และพัทยา โดยบริษัท CITS พยายามเพิ่มแพคเกจท่องเที่ยวใหม่ ๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดภูเก็ต และเกาะช้าง รวมถึงหาเส้นทางใหม่ ๆ
ให้แก่กลุ่มลูกค้าเดิมรวมทั้งจังหวัดเมืองรอง แต่ปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
อ้างอิง : สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน