ปัญหาขยะพลาสติกที่ทวีความรุนแรงขึ้น
สร้างความตื่นตัวให้สังคมทั่วโลก องค์กรต่างๆ
ร่วมจัดการปัญหาขยะพลาสติกด้วยการลดใช้ ไม่เพิ่มปริมาณขยะพลาสติกใหม่เข้าไปในระบบ
แต่ขยะพลาสติกที่มีอยู่ในปัจจุบัน สร้างปัญหาไม่น้อย
หลายหน่วยงานจึงมีแนวคิดจัดการขยะพลาสติกที่มีอยู่ โดยใช้แนวคิด
“เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy)
สหภาพยุโรป (EU) ได้ประกาศใช้ “2018 Circular Economy Action Package” ครอบคลุมเป้าหมายและนโยบายในการลดขยะพลาสติก การลดการฝังกลบขยะ และเพิ่มปริมาณการรีไซเคิล สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจหมุนเวียนถูกผลักดันอย่างจริงจังทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลการส่งออกสินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์พลาสติกของไทยไปยัง EU อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและปรับเปลี่ยนธุรกิจตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมากยิ่งขึ้น
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
ในประเทศไทย คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก
พ.ศ.2561- 2573 เพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายในการบริหารจัดการขยะพลาสติกในภาพรวมของประเทศ
และเป็นการจัดการแบบบูรณาการของหลายหน่วยงาน กำหนดทิศทาง การดำเนินการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะพลาสติกของประเทศ แบ่งเป้าหมายการดำเนินการเป็น 2 ระยะ
ด้านที่ 1 ลด เลิกใช้พลาสติก และใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
แบ่งเป็นสองช่วง คือ ภายในปี 2562 จะให้เลิกใช้พลาสติก 3 ชนิด
ประกอบด้วยพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม พลาสติกผสมสาร อ็อกโซ่ และพลาสติกผสมไมโครบีด ระยะที่สองจะยกเลิกให้ใช้ภายในปี
2565 อีก 4 ชนิด
คือพลาสติกหูหิ้วที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร หลอดพลาสติก
ที่มีข้อยกเว้นสำหรับใช้กับเด็ก คนชรา และผู้ป่วย และแก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
ด้านที่ 2
การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570
โดยจะมีการศึกษาและกำหนดเป้าหมายในส่วนที่จะนำกลับมาใช้ประโยชน์
ขณะที่ของเสียจะถูกนำไปกำจัดให้ถูกวิธีโดยแผนปฏิบัติการจะแบ่งเป็น 3 มาตรการ
1.มาตรการลดการเลิกขยะพลาสติก ณ
แหล่งกำเนิด โดยจะมีการสนับสนุนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.มาตรการ ลด เลิกใช้พลาสติก ณ
ขั้นตอนการบริโภค โดยขับเคลื่อนการลด เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว
3.มาตรการจัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค
โดยจะมีการส่งเสริม
สนับสนุนการนำขยะพลาสติกเข้าสู่การนำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์
สำหรับกลไกการจัดการ จะมี 4 กลไก คือ
1.สร้างความรู้
ความเข้าใจหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการการ
2.รณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์
3.ใช้เครื่องมือและกลไกที่เหมาะสม เช่น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกภาคส่วน เร่งออกกฎหมาย และ
4.การจัดทำฐานข้อมูลขยะพลาสติกของประเทศ
ผลที่จะได้รับจากโรดแมปดังกล่าว
คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี
และสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 ล้านบาทต่อปี
หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้เริ่มขับเคลื่อนตามโรดแมปดังกล่าว
อาทิ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ร่วมกับสถาบันพลาสติก
นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
มาปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมพลาสติก โดยคำนึงถึง 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม
มุ่งเน้นการปรับโครงสร้างการผลิตที่คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและครบวงจร
ตั้งแต่กระบวนการผลิต การบริโภค การจัดการของเสียและการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่
อย่างไรก็ตาม
ที่ผ่านมาได้เปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต (ITC)
ด้านเทคโนโลยีรีไซเคิลและนวัตกรรมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก
เพื่อผลักดันผู้ประกอบการรีไซเคิลให้ดำเนินธุรกิจตามหลักวิชาการและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รวมถึงส่งเสริมการปรับรูปแบบธุรกิจ สร้าง Circular
Enterprises/Startups เช่น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานยาวนานและเอื้อต่อการนำไปรีไซเคิลได้ง่าย
การนำวัสดุจากการรีไซเคิลวัสดุชีวภาพ และวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ทั้งหมดมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับกระทรวงการคลังจัดทำมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้ซื้อบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชนิดที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะได้รับลดหย่อนภาษี 1.25 เท่า เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562-31 ธันวาคม 2564 และได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย Factory 4.0 เพื่อขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปสู่การปฏิบัติตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกระบวนการทางธุรกิจ
ขณะที่ปัจจุบัน
บริษัทเอกชนขนาดใหญ่และเล็กให้ความตื่นตัวกับการจัดการปัญหาขยะพลาสติกอย่างมาก
และนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไออาร์พีซี ได้ลงนามสัญญากับบริษัท
เทคซ่า เอนเนอร์ยี จำกัด และบริษัท วีเอ เอนเนอร์ยี จำกัด ซื้อน้ำมันจากขยะพลาสติกแปรรูป
ที่ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ 560 ตัน/เดือน
การลงนามดังกล่าว
ไออาร์พีซี จะได้รับน้ำมันแปรรูปจากขยะพลาสติก 300,000
– 400,000 ลิตร/เดือน เป็นน้ำมันที่ได้จากกระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) ลดปริมาณขยะพลาสติกได้ 560 ตัน/เดือน ช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกได้อย่างยั่งยืน
และสนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular
Economy) อีกทางหนึ่ง
สำหรับธุรกิจ
SMEs หารทำธุรกิจตามเทรนด์เศรษฐกิจหนุนเวียน
จะเป็นรูปแบบที่มีความยั่งยืนทั้งสามารถปรับตัวได้เร็วกว่าธุรกิจขนาดใหญ่
ดังนั้นเทรนด์นี้ไม่ได้มาเล่นๆ ดังนั้นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลง