โควิดสะเทือนจีน ตลาดเบอร์ 1 ผลไม้ไทย

SME Update
24/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2911 คน
โควิดสะเทือนจีน ตลาดเบอร์ 1 ผลไม้ไทย
banner

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประเทศ "จีน" ซึ่งถือเป็นตลาดผลไม้ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของไทย โดยเฉพาะกลุ่มผลไม้สดไทยส่งออกไปจีน ปี 2562 มากกว่า 64,000 ล้านเหรียญสหรัฐต้องสั่นสะเทือน ไม่เพียงเท่านั้นนักท่องเที่ยวจีนซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวเบอร์ 1 ของไทย ที่นิยมบริโภคผลไม้ไทยก็คาดว่าจะหายไปไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคนในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2563 และถ้าหากสถานการณ์ยังยืดเยื้อไปถึงเดือนมิถุนายน จำนวนนักท่องเที่ยวจะหายไปมากถึงกว่า 4.37 ล้านคน 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดว่าจากปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกผัก ผลไม้สด ในช่วง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม 2563) ให้หดตัว 0.33%  เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดไปจีน หรือคิดเป็นมูลค่า 940 ล้านบาท  แต่หากสถานการณ์ยังยืดเยื้อถึงเดือนมิถุนายน 2563 แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกผัก ผลไม้ หดตัว 2% เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนทั้งหมด หรือคิดเป็นมูลค่า 5,278 ล้านบาท

เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงให้ผลของทุเรียน และมังคุด ซึ่งกว่า 50% ผลผลิตทุเรียนส่งออกไปยังตลาดจีน ทำให้เกิดความกังวลว่าสถานการณ์ราคาผลไม้ปีนี้อาจจะลดลงอย่างหนัก

คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือ Fruit Board ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 โดยจะนำข้อมูลการผลิตเพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้อ มาบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จ โดยอาศัยระบบสหกรณ์มาช่วยอย่างรัดกุม ทำแผนเผชิญเหตุกรณีเกิดผลผลิตส่วนเกินในช่วง peak ที่จะมีขึ้นราวกลางเดือนมีนาคม - เมษายน

โดยโฟกัสไปที่ "ทุเรียน" ในภาคตะวันออก ซึ่งจะเป็นผลไม้ที่คาดว่าจะกระทบมากที่สุด หากส่งออกไปจีนไม่ได้ จะต้องวางแผนการกระจายผลผลิตทั้งในและต่างประเทศ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต เช่น การแปรรูป การแช่แข็ง รวมถึงประชาสัมพันธ์กระตุ้นการบริโภคในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ จนสิ้นสุดฤดูกาล

ในด้านมาตรการด้านการตลาดทางกระทรวงพาณิชย์ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ประชุมขับเคลื่อนมาตรการช่วยผลไม้ไทยสู้ภัย COVID-19  ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตัวแทนภาคเอกชนจากระบบการค้าส่ง ค้าปลีก แพลตฟอร์ม สายการบิน และสมาคม โลจิสติกส์และธนาคารเพื่อเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ประเมินชัดเจนว่าต้องออกมาตรการ 9 ด้านรองรับผลผลิต ที่จะออกมาประมาณ 3,000,000 ตันเพิ่มขึ้น  10%  ให้ทันตั้งแต่เดือนเมษายน 


9 มาตรการช่วยส่งออกผลไม้ ประกอบด้วย 

1. กรมวิชาการเกษตรต้องให้การรับรองสวนผลไม้ให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายผลไม้ออกสู่ตลาด รวมถึงการจัดหาแรงงานช่วยในการเก็บเกี่ยว 

2. ตั้งศูนย์รวบรวมผลไม้ขึ้นที่ จ. จันทบุรี

3. วางระบบการกระจายผลไม้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยประสานงานร่วมกับสมาคมตลาดกลางที่มีสมาชิก 20 แห่งทั่วประเทศ ให้ช่วยดูดซับผลผลิตผลไม้ 60-70% และมีโมเดิร์นเทรดต่างๆ  รับหน้าที่กระจายสินค้า ขณะที่ผู้ประกอบการสายการบิน 6 สายการบิน คือ แอร์เอเชีย ไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ นกแอร์ ไลออนแอร์ และการบินไทย จะให้บริการผู้โดยสารสามารถหิ้วผลไม้ขึ้นขึ้นเครื่องฟรี คนละ 20 กิโลกรัม 

 4. การกระจายผลไม้ด้วยระบบแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยอาศัยความร่วมกับ  Post Mart ของไปรษณีย์ไทย ให้บริการในการรับออเดอร์ซื้อผลไม้ และไปรษณีย์ไทยช่วยกระจายผลไม้ ไปยังผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีลาซาด้า ช็อปปี้ จตุจักรมอล์ ไทยเทรดดอทคอม เป็นต้น

5. การจัดทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขายในประเทศร่วมกับภาคเอกชน และโมเดิร์นเทรด  และมาตรการส่งเสริมการขายในต่างประเทศ ทั้งการจัดโรดโชว์ เช่น เทศกาลผลไม้ในต่างประเทศ และกิจกรรมนำคณะผู้นำเข้ามาร่วมการจับคู่ธุรกิจด้วย 

6. การแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ด้วยการชดเชยดอกเบี้ย 3% ให้กับผู้ส่งออก สหกรณ์การเกษตร ที่มาช่วยรวบรวมรับซื้อผลไม้ในประเทศ ด้วยวงเงิน 1,000 ล้านบาท 

7. การแก้ปัญหาล้งรับซื้อผลไม้กดราคารับซื้อ ใช้กฎหมายมาดูแลสร้างความเป็นธรรมการทำเกษตรพันธสัญญา รวมถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องการตรวจสอบคุณภาพผลไม้ส่งออกเพื่อลดความซ้ำซ้อน

 8. ระบบโลจิสติกส์ ขอความร่วมมือให้การบินไทยเข้ามาช่วยเสริมบริการคาร์โก้ เพื่อให้เกิดสะดวกรวมถึงการขนส่งทางบกภายในประเทศด้วย 

9. กระทรวงเกษตรจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังผลกระทบจากสินค้าการเกษตรที่เกิดจาก COVID-19 ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถให้ข้อมูลและขอความช่วยเหลือห้องเรียนได้ที่ www.nabc.go.th ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อย่างไรก็ตาม ยังเหลือเวลาอีก 1 เดือนหลังจากนี้ ชาวสวนยังต้องศึกษากฎระเบียบการใช้มาตรการที่ภาครัฐกำหนดขึ้น ให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และเตรียมพร้อมมาตรการอื่น เช่น การส่งเสริมการแปรรูปผลไม้ เพื่อสร้างมูลค่า และเพิ่มอายุการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นทางออกอีกทางที่ช่วยได้



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


ส่องโอกาสผลไม้ไทยในตะวันออกกลาง 

ส่องตลาดส่งออกผลไม้ในเกาหลีใต้

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1874 | 25/01/2024
โควิดสะเทือนจีน ตลาดเบอร์ 1 ผลไม้ไทย