COVID-19 ติดมากับโอกาส ‘สินค้าเกษตรไทย’

SME Update
06/05/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3214 คน
COVID-19 ติดมากับโอกาส ‘สินค้าเกษตรไทย’
banner

นับเป็นประเด็นน่ากังวลเมื่อองค์การระหว่างประเทศ ทั้งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกมาเตือนว่าในบางพื้นที่ในโลกอาจประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร หากยังล้มเหลวในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะนี้รัฐบาลหลายประเทศพากันประกาศขยายการบังคับใช้มาตรการปิดเมือง และการรักษาระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing ออกไปอีก ส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจจนต้องออกไปซื้ออาหารมากักตุน 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในส่วนของประเทศไทย นายระพีภัทร์  จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรง ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจการเกษตรช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 (มกราคม - มีนาคม 2563) หดตัว 4.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี 2562 โดยสาขาพืช หดตัว 7.3% สาขาประมง หดตัว 2.2%     

ทั้งนี้ สศก. ประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 คาดว่ามีโอกาสจะขยายตัว 0.3% (อยู่ในช่วงติดลบ 0.2% ถึง 0.8%) โดยสาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ยังขยายตัวได้ มีการบริหารจัดการทั้งในด้านการผลิตและการตลาดที่ดี สำหรับสาขาพืชมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยคาดว่าจะสามารถทำการเพาะปลูกได้ตามฤถูกาลปกติ

จากการหดตัวลงมากในช่วงไตรมาส 1 ทำให้สาขาพืชในภาพรวมยังมีแนวโน้มหดตัว เนื่องจากผลผลิตพืชสำคัญในปี 2563 มีแนวโน้มลดลงโดยเฉพาะข้าว อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสับปะรดโรงงาน

อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ภาคเกษตรขยายตัว คือความต้องการสินค้าเกษตรมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น หลังจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่คาดว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายจะทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) เนื่องจากสะดวกในการบริโภคและสามารถเก็บรักษาได้นาน

นอกจากนี้คาดว่าจะมีความต้องการมันเส้นเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตแอลกอฮอล์ 75% และใช้ผสมทำเจลล้างมือเพื่อฆ่าเชื้อโรค รวมถึงถุงมือทางการแพทย์ ถุงมือยาง อาหารสุขภาพ หรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นต้น ขณะที่ยังมีปัจจัยลบจากสถานการณ์ COVID-19 เช่นกัน 


จากประเด็นดังกล่าวส่งผลให้ "ราคาสินค้าเกษตร" มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น อาทิ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่าราคาข้าวเปลือกเจ้าที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยตันละ 10,200-11,200 บาท คิดเป็นราคาข้าวสารตันละ 17,500 บาท ส่วนราคาส่งออกข้าวตันละ 575-580 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดรอบ 10 ปี

เพราะไม่เพียงผลผลิตไทยลดลง แต่ประเทศคู่แข่งขันมีข้อจำกัดในการส่งออกข้าวในช่วงโควิด-19 ระบาด เช่น อินเดียมีการล็อกดาวน์ ทำให้มีปัญหาในการขนส่งสินค้า เวียดนามจำกัดการส่งออกเหลือ 4 แสนตันต่อเดือน (เม.ย.-พ.ค.) กัมพูชาไม่ให้ส่งออกข้าวขาวให้ส่งออกเฉพาะข้าวหอม เมียนมาไม่ออกใบอนุญาตส่งออกข้าว

ขณะที่สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ระบุว่ากลุ่มผัก อาทิข้าวโพดหวานผลผลิตจะลดลง 30-50% ราคารับซื้อในช่วงนี้อยู่ที่ 5.20 บาทต่อกก. จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 4.80 บาทต่อกก. ส่วนหน่อไม้ฝรั่งที่มีช่วงเพาะปลูกเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ส่วนราคาผักที่ใช้ผลิตอาหารแปรรูปส่งออก เช่น กระเทียม ขิง ตะไคร้ ราคาปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 1-2 เท่า ขณะที่ผลไม้เช่น เงาะ ขนุน ลูกตาล คาดผลผลิตก็จะลดลง แต่ทุเรียนและมะม่วงจะได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการที่ตลาดชะลอการสั่งซื้อผลจากโควิด-19 กระทบต่อระบบโลจิสติกส์

ดังนั้นจึงประมาณการณ์ได้ว่า ปีนี้ถือเป็นปีเสี่ยงสำหรับสินค้าเกษตรของไทย เพราะถึงแม้ว่าทิศทางความต้องการสำรองอาหารโลกจะเพิ่มขึ้น แนวโน้มราคาสินค้าเกษตรหลายตัวปรับสูงขึ้น แต่ก็ต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งรุนแรง กระทบผลผลิตเสียหาย อาจจะไม่ได้รับอานิสงค์จากภาวะตลาดที่เติบโตขึ้นครั้งนี้



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


เปิดตลาดสินค้าฮาลาล UAE ไม่ยากอย่างที่คิด

"ธุรกิจอาหาร" โอกาสที่ติดมากับวิกฤติโควิด



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ส่องอนาคต ‘ไฮโดรเจนสีเขียว’ ทำไม? ถึงกลายเป็นแหล่งพลังงานใหม่ของไทย ไปสู่ Net Zero ไวขึ้น

ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีโจทย์สำคัญต้องเร่งแก้ นั่นคือ ภาวะโลกเดือด และปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งทั้ง 2 เรื่อง เป็นปัญหาใหญ่ที่มีความเชื่อมโยงกัน…
pin
30 | 15/12/2024
8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

8 สูตรลับ Festive Marketing เพิ่มยอดขายแบบประหยัด แต่ครองใจลูกค้าทุกเทศกาล

กลยุทธ์ Festive Marketing คืออะไร?Festive Marketing หรือการตลาดช่วงเทศกาล เป็นกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นการสร้างแคมเปญและกิจกรรมทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลต่าง…
pin
26 | 13/12/2024
พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

พลิกโฉมอุตสาหกรรม อะลูมิเนียมไทย ให้คาร์บอนต่ำ สู่เส้นทางอุตสาหกรรมสีเขียว

วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ กำลังส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เร่งให้เกิดภาวะโลกร้อนคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงอย่างอุตสาหกรรมโลหะ…
pin
34 | 07/12/2024
COVID-19 ติดมากับโอกาส ‘สินค้าเกษตรไทย’