บรรดานักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ต่างกำลังมุ่งมั่นกับการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ อาหารใหม่ด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ และบรรจุภัณฑ์ สำหรับถนอมอาหารรูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการอันหลากหลาย ทั้งอาหารสุขภาพ อาหารเพื่อผู้สูงอายุ อาหารเฉพาะบุคคล รวมทั้งการผลิตอาหารให้เพียงพอกับการบริโภค ของประชากรในอนาคต เรามาดูกันว่าปัจจุบันมีเทคโนโลยีใดบ้างที่มีความน่าจะเป็นทางเลือกในการบริโภคของคนรุ่นใหม่ใน 10-20 ปีข้างหน้า
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
3D FOOD PRINTING นวัตกรรมพิมพ์ก่อนกิน
เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นมาได้พักใหญ่ด้วย
โดยคุณลักษณะพิเศษที่สามารถผลิตสิ่งของได้เหมือนจริงโดยเริ่มนำมาใช้งานครอบคลุมทุกวงการไมว่าจะเป็นการแพทย์
เสื้อผ้าเครื่องประดับ สถาปัตยกรรม รถยนต์ และอุตสาหกรรมอาหาร
ใช่แล้วเรากำลังเข้าสู่ยุคสมัยที่นึกอยากจะกินอะไรก็ใส่วัตถุดิบลงในเครื่องพิมพ์สามมิติแล้วขึ้นรูปรอเพียงไม่กี่นาทีก็พร้อมเสิร์ฟได้ทันที
โดยบริษัท Food
Ink ได้นำร่องเทคโนโลยีนี้ด้วยการทดลองเปิดร้านอาหารป๊อบอัพขึ้นเป็นเวลา
3 วันในย่านเชอร์ดิชต์ กรุงดอนลอน ประเทศอังกฤษ โดยบริการลูกค้าด้วยเมนูอาหารที่จากเครื่องพิมพ์สามมิติ
3 รายการ รังสรรค์โดยเชฟที่เคยทำอาหารในร้านระดับมิชลินสตาร์ Boscana ประเทศสเปน
ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ใน Food Ink เพื่อให้เมนูแต่ละจานพิมพ์ออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด
สำหรับหลักการทำงานของการทำอาหารด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติก็ไม่ต่างอะไรกับการที่พ่อครัวใช้ถุงบีบขึ้นรูป
เพียงแต่เครื่องพิมพ์สามมิติจะใช้แขนกลขึ้นรูปที่มีระดับความแม่นยำและละเอียดกว่าที่มนุษย์จะทำได้
และก่อนที่นำอาหารที่พิมพ์เสร็จแล้วนำมาผ่านการอบ ทอด หรือปรุงสุกในรูปแบบต่างๆ
ก่อนที่จะเสิร์ฟให้แขกที่นั่งอยู่บนเฟอร์นิเจอร์ที่ทำขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ และรับประทานกับช้อนและส้อมที่ทำขึ้นจากเครื่องพิมพ์สามมิติด้วยเช่นกัน
แม้ร้านอาหารดังกล่าวจะเปิดขึ้นแค่ 3
วันเพื่อเป็นการทดลองเครื่องพิมพ์สามมิติกับอุตสาหกรรมอาหาร
แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เนื่องจากในปัจจุบันได้เริ่มมีการนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ในการทดลองผลิตอาหารมากขึ้น
รวมทั้งการทำของหวานเมนูง่ายๆ
และประสบความสำเร็จมาแล้ว เช่น การทำพิซซ่า พาสต้า แฮมเบอร์เกอร์ สปาเก็ตตี
ซูชิ คุกกี้ บิสกิต
เค้ก ซึ่งนอกจากจะช่วยลดขั้นตอนและความยุ่งยากในการประกอบอาหารแล้ว ยังตอบโจทย์ในเรื่องสุขภาพด้วยการเลือกวัตถุดิบที่ดีเข้าไปเสริมในส่วนผสมสำหรับปรับปรุงอาหารเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ
อย่างไรก็ตามสิ่งที่กำลังท้าทายนักวิจัยเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์สามมิติ คือ อาหารที่ได้จากเครื่องพิมพ์สามมิติ จะต้องมีรสชาติเนื้อสัมผัสและหน้าตาเหมือนกับอาหารที่คนในปัจจุบันทั่วๆไปคุ้นเคยซึ่งเรื่องนี้อาจจะต้องอาศัยเวลาและความรู้หลากหลายสาขาวิชาและวิทยาศาสตร์ขั้นสูงในการพัฒนาตั้งแต่โครงสร้างอาหารไปจนถึงการผลิตอาหารด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ ให้สามารถพิมพ์อาหารทั่วไปและรับประทานได้จริงๆ ไม่ใช่แค่การทดลองได้สำเร็จ ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้นี้คงได้เห็นอย่างแน่นอน
SUPER
FOOD อาหารที่วิวัฒน์ขึ้นในห้องทดลอง
อาหารแห่งอนาคตเริ่มต้นในห้องแล็บของนักวิทยาศาสตร์ด้านอาหารของบริษัท
Food Startups รุ่นใหม่หลายต่อหลายแห่งที่กล้าคิด
กล้าลงมือทำ เช่น บริษัท Hampton Creek Foods ที่มีพันธกิจในการเปลี่ยนให้มนุษย์เลิกล้มความจำเป็นในการบริโภค
อาหารที่มาจากสัตว์ โดยเน้นการวิเคราะห์และวิจัยพืชผักหลากหลายชนิด โดยเอาจุดเด่นมาผสมพันทางเคมี
เพื่อให้เกิดสารอาหารที่จะมาทดแทน ล่าสุดพวกเขาสามารถสร้างสารอาหารทดแทนไข่ไก่ลักษณะคล้ายแป้งในชื่อ
Beyond Eggs
ขึ้นโดยลองนำสิ่งทดแทนไข่
ไปผสมกับการทำขนมหรืออาหารในกระบวนการผลิตอาหารกลับไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางรสชาติ
พร้อมปราศจากข้อเสียของไข่ไก่
อย่างเรื่องคอเลสเตอรอลแถมยังสามารถปรับปรุงสูตรให้ดีขึ้นได้หากจำเป็น รวมถึงอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์
อย่าง Just Mayo
มายองเนสที่ไร้ส่วนผสมของไขไก่
แต่กลับมีรสชาติไม่ต่างจากมายองเนสทั้วไปที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจคือ Soylent ที่คิดค้นอาหารเหลวสำหรับการดื่ม
และให้พลังงานถึง 550 แคลลอรีต่อการดื่มหนึ่งครั้ง พร้อมคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ในทุกด้าน
และแม้จะยังมีไขมันอยู่แต่ถือว่ามีปริมาณที่น้อยกำลังพอดี จึงไม่แปลกที่ Soylent
จะมองตัวเองว่าเป็นอาหารทางเลือกที่เหมาะสำหรับทุกคน
ส่วนอีกหนึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันคือ Cultured Meat, Lab-Grown Meat หรือเนื้อสังเคราะห์ หรือที่บ้านเราเรียกเนื้อปลูก โดยแนวคิดเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของสัตว์ในห้องแล็บจากเซลล์ต้นกำเนิดถือเป็นแนวคิดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการฆ่าสัตว์เพื่อนำมาทำอาหารโดยเฉพาะ ทั้งนี้ลักษณะของเนื้อเยื่อที่ได้คล้ายเนื้อบดที่อยู่ในแฮมเบอร์เกอร์ การคิดค้นในห้องแล็บเหล่านี้จะเป็นทางเลือกสำหรับอาหารในอนาคต
SMART
PACKAGING บรรจุภัณฑ์อาหารอัจฉริยะ
บรรจุภัณฑ์ที่ว่าไม่ใช่แค่ย่อยสลายหรือกินได้เท่านั้นแต่บรรจุภัณฑ์อาหารของโลกอนาคตจะต้องฉลาดล้ำขนาด
บอกเราได้ว่าเมื่อไรคือช่วงเวลาที่เหมาะหรือไม่เหมาะในการกินอาหารที่บรรจุอยู่ในนั้น
นี่คือสิ่งที่สถาบันวิจัยวัสดุและวิศวกรรมหรือ IMRE กำลังค้นคว้าและทดลอง
โดยนักวิจัยกำลังพัฒนาเซนเซอร์ ที่ประกอบด้วย Nanocapsules
ที่มีหน้าที่ตรวจสอบจับอุณหภูมิของอาหารที่สูงเกินไปหรืออาหารมีรสเปรี้ยวซึ่งเมื่อพบสิ่งผิดปกติแล้วเปลือกของแคปซูลจะสลายตัวและเปลี่ยนสีในทันที
และคุณจะรู้ว่านั่นกินไม่ได้แล้ว
นอกเหนือจากนั้นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ในประเทศอังกฤษ ยังร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี Novalia ในการวิจัยผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมหน้าจอโพลิเมอร์แอลอีดีซึ่งแสดงข้อความง่ายๆ และนับถอยหลังก่อนจะถึงวันหมดอายุ และหลังจากนั้นพวกเขายังพัฒนาให้ข้อมูลเหล่านี้ ให้สามารถพิมพ์บนพื้นผิวอื่นๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และถ้าอยากฆ่าเชื้อแบคทีเรียก็สามารถทำได้ในทันทีเพียงใช้กระดาษที่ฉาบ Anti-bacterial Silver Nanoparticle ซึ่งด้วยอนุภาคระดับนาโนจึงตรงเข้า จัดการเชื้อโรคได้ทันทีชนิดที่ไม่ทำให้อาหารเน่าเสียได้อย่างแน่นอนทั้งยังสามารถดูดซับอ๊อกซิเจนเอาไว้ทำให้อาหารสดใหม่อยู่เสมอ เทคโนโลยีนี้จะลดการเน่าเสียของอาหารได้อีกมาก
SMART
ALGAE สาหร่ายพลังสูงดีต่อสุขภาพ
อย่างที่เราเคยทราบดีว่าสาหร่ายทะเลสามารถนำมาเป็นอาหารได้ทั้งมนุษย์และสัตว์
ที่สำคัญคือสามารถเพาะเลี้ยงได้ด้วย ด้วยเหตุนี้ วงการวิจัยและวิทยาศาสตร์ต่างให้ความสนใจอย่างมากในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายที่ขึ้นตามทะเลสาบและชายทะเลซึ่งให้สามารถตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาวิกฤติอาหารโลกเท่านั้น
แต่ยังสามารถเติมเต็มปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงไปในตัวเพราะสาหร่ายบางชนิด
สามารถผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำมันปิโตรเลี่ยม
อีกทั้งคุณสมบัติการสังเคราะห์แลงของสาหร่ายยังมีส่วนลดโลกร้อนได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามมีการคาดว่าสาหร่ายประมาณ 3 แสนถึง
10 ล้านสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี Spirulina นั้นมีคุณสมบัติสารย้อมสีฟ้าตามธรรมชาติอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบันจึงนำมาใช้เติมสีสันในหมากฝรั่ง
และไอศกรีมและใช้รับประทาน เป็นอาหารเสริมในรูปแบบยาเม็ด Spirulina จึงได้รับฉายาว่าอาหารแห่งอนาคต
แต่ถ้าจะกินสาหร่ายให้อร่อยราวกับกินเบคอนก็ต้องเป็นสาหร่ายสายพันธุ์ Dulse เพราะสาหร่ายทะเล สีแดงชนิดนี้ที่ชาวยุโรปเคยนำไปใช้ประโยชน์แค่ป่นเป็นผงแล้วโรยบนอาหาร ซึ่งได้ถูกพลิกโฉมขึ้นใหม่ โดยนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยแห่ง รัฐโอเรกอนสหรัฐอเมริกา ที่ได้ทำการพัฒนาสายพันธุ์จนสาหร่าย Dulse เมื่อนำไปทอดแล้วมีรสชาติเหมือนเบคอนไม่มีผิดและยังคงคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเทคโนโลยีการอาหารเพื่ออนาคต
PERSONALISED
FOOD อาหารที่มีสรรพคุณเฉพาะบุคคล
แม้อาหารเฉพาะบุคคลจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในอนาคตนักวิจัยได้ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตอาหารเฉพาะบุคคลซึ่งเกิดจากการนำข้อมูลด้านสุขภาพของแต่ละบุคคลมาใช้
วิเคราะห์แล้วออกแบบขึ้นมาเป็นอาหารแต่ละจานแต่ละมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำแบบนี้ได้ต้องอาศัยข้อมูลทางชีวภาพจำนวนมากและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงด้วย
กระนั้นในปัจจุบันมีห้องแล๊บหลายแห่งเริ่มบุกตลาดอาหารสุขภาพแบบเฉพาะเจาะจงบางแล้ว
โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างจากดีเอ็นเอในน้ำลายของผู้ใช้
เพื่อนำไปวิเคราะห์หาเอกลักษณ์ทางพันธุกรรมแล้วนำไปพัฒนาในการวางแผนผลิตอาหารเพื่อเฉพาะเจาะจงและดีต่อสุขภาพสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม
ซึ่งปัจจุบันมีให้เห็นบ้างแล้วในต่างประเทศแต่ยังถือว่าราคายังสูงมากแต่เชื่อว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
การแข่งขันในวงการนี้จะสูงขึ้นและราคาจะลดลง
ทั้งหมดนี้เป็นเทคโนโลยีด้านอาหารที่จะตอบโจทย์ความต้องการอาหารในอนาคตซึ่งผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารต้องเรียนรู้และปรับตัว
เพราะแม้ข้อเท็จจริงว่าโลกมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่โลกก็แสวงหาความแปลกใหม่และความยั่งยืนเช่นกัน
ดังนั้นจึงควรเรียนรู้เทรนด์ต่างๆและปรับตัวอยู่เสมอ
อ้างอิง : รายงานอาหารเพื่ออนาคต โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)