องค์กร Food and Agriculture Organization หรือ
FAO ได้ประมาณการไว้ว่า
ในปี 2593 ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.6 พันล้านคน หรือมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรประมาณ
35% โดยทวีปแอฟริกาจะเป็นเบอร์หนึ่งของโลกที่มีประชากรเพิ่มขึ้นถึง
109 % ส่วนลาตินอเมริกา ,อเมริกาเหนือ
และเอเชีย ประชากรจะเพิ่ม 20% ยกเว้น จีน
ไทย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะที่ยุโรปการเพิ่มขึ้นของประชากรจะติดลบที่
-4
สิ่งที่น่าจับตาของการเพิ่มขึ้นของปริมาณประชากรโลกในแต่ละพื้นที่คือ “ความต้องการอาหาร” ที่เพียงพอ อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันประชากรโลกในบางพื้นที่ยังมีการขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม ขณะเดียวกันในหลายพื้นที่ทั่วโลกประชากรมีปัญหาด้านน้ำหนักตัวมากเกินไป และ 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตขึ้นในโลกนี้จะกลายเป็นของเสียทั้งจากการบูดเน่า นี่จึงเหตุผลที่โลกต้องการสมดุลด้านอาหาร หรือที่เรียกเทรนด์นี้ว่า “อาหารเพื่อความยั่งยืนของโลก”
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme
ลองดูข้อเท็จจริงเหล่านี้
โลกที่หิวโหย - 300 ล้านคนเป็นตัวเลขของเด็กๆทั่วโลกที่ยังอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร(อ้างอิงจากตัวเลขขององค์การอาหาร
และการเกษตรแห่งสหประชาชาติFAO)
The Most
Innovative Country in Food Tech - สหรัฐอเมริกาอินเดียจีนเยอรมนีและสหราชอาณาจักร คือ 5 ประเทศที่มีการลงทุนเรื่องนวัตกรรมอาหารสูงที่สุด
ในโลก
Tech in Food
Industry Big Data -การใช้ส่วนประกอบใหม่ๆในการปรุงอาหาร
และเทคโนโลยีการผลิตอาหารเพื่อทดแทนสิ่งเดิม เป็น 3 เรื่องที่ผู้ผลิตให้ความสนใจมากในอุตสาหกรรม
การเกษตรแบบมหภาค
สำหรับเรื่องของอุตสาหกรรมอาหารในปัจจุบัน มีเมกะเทรนด์ของโลกที่จะส่งผลกระทบแนวคิดการสร้างความยั่งยืนด้านอาหารของโลก
คือ
1.ประชากรโลกเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณความต้องการอาหารของโลกเพิ่มขึ้นทุกปี
2.EU เอเชีย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
3.แอฟริกา อัตราการเพิ่มขึ้นของประชาการอย่างรวดเร็ว
4.สภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวนทำให้โลกผลิตอาหารได้น้อยลง
5.นวัตกรรมอาหารจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น
มีการนำนวัตกรรมไปต่อยอดเพื่อการพัฒนาด้านอาหาร
6.ระบบเศรษฐกิจหนุนเวียนจะมีบทบาทมากขึ้น-บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
7.เทรนด์ผู้บริโภคจะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
Circular
Economy สร้างความยังยืนด้านอาหารของโลก
เราทราบดีว่าอุตสาหกรรมอาหารจึงถือเป็นกุญแจหลักสำคัญ
ที่จะชี้วัดความยั่งยืนของมนุษย์ในอนาคต
จึงมีการรณรงค์ให้อุตสาหกรรมอาหารในอนาคตเน้นกระบวนการผลิตเพื่อสร้างความยั่งยืน
ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ “Circular Economy”
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า Circular Economy คืออะไร
Circular
Economy คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยพลังงานหมุนเวียน
การให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
และตั้งราคาที่สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริงซึ่ง Circular Economy สามารถทำได้ทั้งในระดับบุคคล
ภาคธุรกิจ สังคม ประเทศ และนำมาประยุกต์ได้ทั้งทุกภาคส่วน ในระดับบุคคล
แค่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และทำให้เกิดการสูญเสียให้น้อยที่สุด ภาคธุรกิจ
ถือเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องคิดแทนผู้บริโภคด้วยการหาวิธีที่ทำให้สินค้า
หรือบรรจุภัณฑ์ที่ตนผลิตนั้นย่อยสลายให้ได้มากที่สุด
หรือนำมากลับมาใช้ใหม่อย่างไรได้บ้าง เช่น
ผู้ผลิตเครื่องดื่มอาจจะใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วแทนพลาสติก
โดยใช้น้ำฝนในการล้างบรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาบรรจุใหม่ หรือ
การออกแบบบรรจุภัณฑ์เฉพาะที่สามารถนำไปเติมเครื่องดื่มได้ตามตู้กดเมื่อต้องการ เรียกรวมว่าทุกอย่างต้องคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
ขณะที่ในมุมของการสร้างความยั่งยืนในด้านอาหาร ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่มีการผลิตยังไม่ตอบโจทย์ความยั่งยืนใช้ทรัพยากรเกินความต้องการ
เกิดของเสีย ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ สาเหตุใหญ่ที่ทำให้โลกใบนี้แปรปรวนเพราะขาดความสมดุล
ที่สำคัญการผลิตแบบอุตสาหกรรมอาหารในแบบเดิม
กลับไม่ได้สร้างผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ปลอดภัย
มีคุณค่าอาหารสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
มาร์ค บัคลี่ย์
ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Adaptive Nutrition Joint ในฐานะผู้ก่อตั้งบริษัทฯ
ผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 100%
ผู้ที่มีความปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงโลก ยกตัวอย่างว่า กระบวนการผลิตอาหารตามแนวคิด Circular Economy ว่าที่ผ่านมาบริษัทมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นเองเป็นแห่งแรก เช่น การทำการเกษตรแนวดิ่ง (Vertical Farming) ด้วยการนำน้ำฝนมาใช้รดน้ำต้นไม้
นับได้ว่าเป็นการทำการเกษตรระบบปิดที่นำทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้มาใช้ในการผลิตอาหาร
โดยไม่ต้องกังวลกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปตลอดทั้งปี
ทำให้สามารถปลูกผลการผลิตได้ถึง 30 ครั้ง
ถ้าเทียบกับการทำการเกษตรแบบดั้งเดิมที่พึ่งพึงธรรมชาติ
ไทย กับความยั่งยืนด้านอาหาร
สำหรับประเทศไทยมีขีดความสามารถในการเป็นผู้ผลิตอาหารระดับโลก
ประชากรในประเทศกว่า 38.9 ล้านคนอยู่ในกลุ่มสินค้าเกษตร เป็นผู้ส่งออกอาหารอับดับที่
12 ของโลก โดยในปี 2562 สถาบันอาหารคาดว่าการส่งออกอาหารไทยจะมีมูลค่า 1,120,000
ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.5% จากปี 2561 โดยกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด
5 อันดับแรก ได้แก่ ข้าว ไก่แช่แข็ง น้ำตาลทราย ปลาทูน่ากระป่อง และกุ้งแช่แข็ง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกของเรากำลัง เผชิญการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่หลายต่อ หลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็น “สภาวะโลกร้อน” ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรอย่างชัดเจน ทำให้ปริมาณผลผลิตลดลงและไม่สม่ำเสมอ ควบคุมไม่ได้ส่งผลเป็นลูกโซ่ไปยังอุตสาหกรรม อาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง “ปัญหาจำนวนประชากรล้นโลก”
ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ จุดเริ่มต้นของการ
“ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่” ที่เทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ ทั้งปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
เครื่องพิมพ์ สามมิตินาโนเทคโนโลยีเทคโนโลยีชีวภาพ วัสดุศาสตร์และอื่นๆ
จะเข้ามามีบทบาทและ
เปลี่ยนโฉมทุกภาคส่วนไปจากที่เราคุ้นเคยกัน มาก่อน
ในแง่ของผู้ประกอบการ นวัตกรรมจะช่วยลดต้นทุนในระยะยาวการบริหารจัดการวัตถุดิบ
ปรับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างผลิตภัณฑ์และประโยชน์อีกมากมายของ
“อาหารเพื่ออนาคต” และเทรนด์อาหารที่กำลังมา
ผศ.ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) กล่าวว่า
ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ปลูกลดลง ทั้งยังมีความต้องการอาหารของประชากรโลกมีความหลากหลายมากขึ้น
ทำให้ ‘นวัตกรรมอาหาร’ จึงมีบทบาทสำคัญในภาคเกษตร ทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสม
การแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
ขณะที่บริบทของประเทศไทย การทำเกษตรสมัยใหม่
เกษตรกรต้องใช้การตลาดนำการผลิต ตลอดจนใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า
เรียนรู้การเกษตรแบบ ‘ทำน้อย แต่ได้มาก’ หรือที่เรียกว่าการทำเกษตรแบบประณีต
ผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพ ราคาสูง เพื่อคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น
ด้านวิธีคิด คือ การนําเสนอคุณค่า (Value Proposition) ของสินค้าเกษตร
ต้องคิดให้ได้ก่อนว่าเราผลิตสินค้าเพื่อขายใคร คุณค่าสินค้าที่เรานำเสนอ คืออะไร
ยกตัวอย่างเช่น เราปลูกแตงโมหวานน้อยเพื่อคนเป็นโรคเบาหวาน
ปลูกข้าวคุณภาพดีปลอดสารพิษเพื่อคนรักสุขภาพ,ผลิตอาหารเพื่อกลุ่มผู้สูงอายุ
หรือ นักกีฬา ซึ่งทุกอย่างจะสรุปเองไม่ได้แต่ต้องดูสิ่งที่เรียกว่า ‘เทรนด์’ และ
‘ไลฟ์สไตล์’ ‘พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน
ผศ.ดร.อัครวิทย์ เน้นย้ำว่า ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน อาหารยังคงมีความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต แต่อุตสาหกรรมอาหารของไทยก็ต้องปรับตัวให้ทันด้วย ซึ่งทุกวันนี้ “นวัตกรรมอาหาร” จะสร้างความยั่งยืนต่อธุรกิจและความยังยืนของโลกได้อย่างแท้จริง
Circular Economy วิถีเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน
เศรษฐกิจหมุนเวียน เมกะเทรนด์ของโลก