โลจิสติกส์สู้ดิสรัปชั่น ปรับสู่อี-โลจิสติกส์

SME Update
18/04/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 1969 คน
โลจิสติกส์สู้ดิสรัปชั่น ปรับสู่อี-โลจิสติกส์
banner
พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการหันมาซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และเกิดความต้องการส่งสินค้าไปให้ลูกค้า ส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์หรือธุรกิจขนส่งสินค้าเติบโตตามไปด้วย เห็นได้จากการเข้ามาแข่งขันใน ธุรกิจโลจิสติกส์ มากมายทั้งจากผู้ประกอบการในประเทศไปจนถึงผู้ประกอบการข้ามชาติ
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


แน่นอนว่าเมื่อมีผู้ประกอบการจำนวนมากเข้ามาร่วมวงชิงตลาดโลจิสติกส์ ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรงและนำมาซึ่งการปรับตัวเพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่างๆ มีการพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทั้งผลดีของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่สามารถปรับตัวนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาบริการ ในทางกลับกันก็ถือว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาดิสรัปชั่นธุรกิจโลจิสติกส์ให้เกิดความท้าทายและต้องเร่งปรับตัวรับเช่นกัน

นอสตร้า โลจิสติกส์ โดย บริษัท จีไอเอส จำกัด ในกลุ่มบริษัทซีดีจี ได้เผยถึงความท้าทายของธุรกิจโลจิสติกส์ในยุคที่ภูมิทัศน์ของการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยชี้ให้เห็นว่า เผยธุรกิจโลจิสติกส์เริ่มมีการปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้นกว่า 30% และธุรกิจเอสเอ็มอี เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการดิสรัปของเทคโนโลยีโดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน สำหรับความท้าทายของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในยุคดิสรัปชั่น ประกอบด้วย

1.ต้นทุนการขนส่ง : เนื่องจากธุรกิจนี้ต้องแข่งขันกันที่ต้นทุนและบริการเป็นหัวใจสำคัญ ดังนั้นหากสามารถบริการจัดการต้นทุนได้ดีกว่าย่อมสร้างความได้เปรียบ ซึ่งเทคโนโลยีและข้อมูลจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ด้วยการใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนการจัดส่งสินค้า รวมถึงบริหารบุคลากรเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น วางแผนการใช้รถ การเลือกเส้นทางขนส่งที่ประหยัดเวลา การขับรถในระดับความเร็วที่เหมาะสมเพื่อประหยัดน้ำมัน

2.การบริหารจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล : ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถจัดการข้อมูลได้เหนือกว่าจีพีเอส เช่น เทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) ที่ใช้สื่อสารระหว่างรถขนส่งสินค้าและผู้ควบคุมงานจัดส่ง สามารถรับและส่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งรถ ความเร็วในการขับรถ การหยุดนิ่ง-จอด การเบรก การแซง ปริมาณน้ำมันที่เหลือ อุณหภูมิห้องเก็บความเย็น ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีอื่นร่วมด้วย เช่น ไอโอที, คลาวด์เซอร์วิส และ บิ๊กดาต้าอนาไลติกส์ เพื่อรับ-ส่งข้อมูล การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลในแบบเรียลไทม์ โดยนำบิ๊กดาต้ามาวิเคราะห์เพื่อวางแผนการใช้รถและประเมินพฤติกรรมการขับรถเพื่อการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุด อีกทั้งช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้จากการติดตามและวางแผนการใช้รถที่เหมาะสม

3.การพัฒนาบริการตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า :  ซึ่งถือเป็นเทรนด์สำคัญในการสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและครองใจลูกค้าได้อย่างตรงความต้องการของลูกค้าแต่ละราย เช่น การพัฒนาโซลูชั่นสำหรับองค์กรที่มีรถรับ-ส่งพนักงานที่เรียกว่า Bus on Mobile Service (BOMs) ที่มีฟังก์ชันการทำงานครอบคลุมตั้งแต่วางแผนเส้นทางเดินรถจนถึงการออกรายงาน  โดยผู้บริหารรถรับส่งสามารถทำงานบนเว็บแอปพลิเคชันตั้งแต่การสร้างเส้นทางและจุดรับส่งของรถแต่ละคัน การติดตามและตรวจสอบตำแหน่งรถ ณ ปัจจุบัน ระบบการจองรถด้วยตัวเองสำหรับผู้ใช้รถตลอดจนรายงานสรุปต่างๆ

4.การบริหารบุคลากร : เทคโนโลยีจะมาช่วยบริหารจัดการเวลาทำงานของบุคลากร เช่น พนักงานขับรถต้องขับต่อเนื่องไม่เกิน 4 ชั่วโมง ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในการทำงานของรถรับส่งพนักงานคือ องค์กรมีเครื่องมือที่ใช้สื่อสารเพื่อการจัดบริการรถพนักงาน สามารถติดตามรถได้ตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ทั้งยังสามารถวัดผลจากเกณฑ์ที่กำหนดหรือ KPI สำหรับพนักงานขับรถหรือผู้รับจ้างให้บริการรถด้วยข้อมูลที่ได้จากการบันทึกเวลาและพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถที่จัดเก็บไว้ในระบบได้อีกด้วย

5.การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังต่างๆ: โดยตั้งแต่ปี 2559 ที่ภาครัฐมีโครงการมั่นใจทั่วไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถโดยสารและรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป ติดตั้งระบบ GPS Tracking เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการขับขี่และการใช้ความเร็วของรถได้แบบ Real-time ทำให้ผู้ประกอบการการขนส่งต้องตื่นตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาการให้บริการของตนเองทัดเทียมกับผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด

ทั้งนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ให้บริการโลจิสติกส์ขั้นพื้นฐาน ก็จำเป็นต้องเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยจัดการงานขนส่ง เพื่อช่วยบริหารด้านต้นทุนขนส่งให้ต่ำลง และลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองให้มากที่สุด เพื่อรองรับตลาดโลจิสติกส์ที่กำลังเติบโตในยุคดิจิทัล

ธุรกิจโลจิสติกส์

ทั้งหมดนี้เห็นได้ชัดเจนว่า ในยุคดิสรัปชั่นที่สร้างทั้งโอกาสและความท้าทายในทุกภาคส่วน ธุรกิจโลจิสติกส์ที่ถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเล็กหรือใหญ่ ล้วนต้องเร่งปรับตัวในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้แก่ธุรกิจขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น ระบบจัดการงานขนส่งและคลังสินค้าด้วย Connected GPS, เทเลมาติกส์ , ไอโอที, บิ๊กดาต้าอนาไลติกส์ และ คลาวด์คอมพิวติ้ง เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทั้งเวลา ความเร็ว ความถูกต้อง และมีต้นทุนที่ต่ำลง

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
5 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
5 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
7 | 11/04/2025
โลจิสติกส์สู้ดิสรัปชั่น ปรับสู่อี-โลจิสติกส์