เจรจา RCEP เปิดตลาดการค้ามิติใหม่

SME Update
26/08/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 2273 คน
เจรจา RCEP เปิดตลาดการค้ามิติใหม่
banner

การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ระหว่างอาเซียน 10 ประเทศ กับคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้เข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการเจรจาแล้ว

หลังจากที่ล่าสุดนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค RCEP สมัยพิเศษ ครั้งที่ 8 ที่กรุงปักกิ่ง  ประเทศจีน เมื่อวันที่ 3 ส.ค.2562 ที่ผ่านมา ที่ประชุมรัฐมนตรีทั้ง 16 ประเทศ ได้ตัดสินใจในระดับนโยบายหาข้อสรุป 3-4 เรื่องที่ยังค้างคาอยู่ ประกอบด้วย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเปิดตลาดด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการจะนำไปสู่การปิดรอบการเจรจาตามเป้าหมายที่วางไว้ในปีนี้

โดยภายหลังการประชุมที่ปักกิ่ง ยังจะมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาจัดทำ RCEP และระดับรัฐมนตรี รวม 4 ครั้ง ก่อนที่จะสรุปผลการเจรจาให้ได้ เริ่มจากปลายเดือนสิงหาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาฯ นัดพิเศษ ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย, ต้นเดือนกันยายนจะมีการประชุมรัฐมนตรีอาร์เซ็ปครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ, ปลายเดือนกันยายนจะมีการประชุมคณะกรรมการเจรจาฯ ครั้งที่ 28 ที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม และสุดท้ายเดือนพฤศจิกายน 2562 การประชุมรัฐมนตรีอาร์เซ็ปที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะต้องปิดรอบการเจรจาให้ได้ 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


RCEP เปิดตลาดการค้ามิติใหม่

หากเป็นไปตามที่สมาชิกได้เจรจากันเอาไว้ จะช่วยสร้างโอกาสในการส่งออก การค้าบริการ และการลงทุนของไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะตลาดได้ขยายจากเดิมคือ อาเซียน 10 ประเทศ เป็น 16 ประเทศ และตลาดได้ขยายเป็นตลาดที่มีประชากรรวมกันมากถึง 3,500 ล้านคน คิดเป็น 48% ของประชากรโลก หรือเป็นตลาดที่ใหญ่เกือบครึ่งโลก

ทั้งนี้ในด้านการค้าความตกลง RCEP จะช่วยลดความซ้ำซ้อนเรื่องกฎถิ่นกำเนิดสินค้า มีการประสานกฎระเบียบและมาตรการทางการค้า ส่งผลให้กฎเกณฑ์การค้าของประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปมีมาตรฐานและสอดคล้องกันมากขึ้น รวมทั้งมีการกำหนดด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ไม่เพียงส่งผลดีต่อการเปิดตลาดเท่านั้น แต่ RCEP ยังช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถสรรหาแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายทั้งเชิงคุณภาพและราคามากขึ้น  ทำให้ไทยเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตและการกระจายสินค้าของภูมิภาค  ยกระดับคุณภาพมาตรฐานของสินค้าเกษตรและอาหารของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าน้ำตาล อาหารแปรรูป มันสำปะหลัง กุ้ง และข้าว ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารส่งออกที่สำคัญของไทย จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ตลอดจนผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยได้มากขึ้น

ทั้งนี้ หากการเจรจาจบลงในปีนี้ และประกาศความสำเร็จในเดือนพฤศจิกายนในการประชุมระดับสุดยอดผู้นำอาเซียน สมาชิกจะลงนามความตกลงร่วมกันได้ประมาณกลางปีหน้า จากนั้นแต่ละประเทศต้องดำเนินการภายในประเทศเพื่อให้สัตยาบรรณ ซึ่งในขั้นตอนนี้น่าจะใช้เวลา 1 ปีครึ่งถึง 2 ปี เมื่อสมาชิกให้สัตยาบรรณแล้ว ความตกลงจึงจะมีผลบังคับใช้ได้ และทุกประเทศจะได้รับประโยชน์ตามสิทธิพิเศษที่ตกลงกันไว้

อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เตรียมความพร้อมรองรับการบังคับใช้ความตกลงอาร์เซ็ปด้วยการจัดประชุมหารือกับทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและให้ข้อมูลความคืบหน้าการเจรจา และเตรียมการใช้ประโยชน์ต่อไป


สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ

“ท่าเรือฝางเฉิงก่าง” ทางเลือกสู่ตลาดจีน

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เข้าใจ Digital Transformation เปลี่ยนธุรกิจเก่าให้ทันยุคดิจิทัล

เข้าใจ Digital Transformation เปลี่ยนธุรกิจเก่าให้ทันยุคดิจิทัล

ท่ามกลางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในปัจจุบัน การปรับตัวเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกธุรกิจ ซึ่ง Digital Transformation หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงกระบวนการการทำงาน…
pin
2 | 03/07/2025
แจก 6 สูตรลับวางแผนการตลาดสร้างแบรนด์ SME ให้เป็นที่รู้จัก

แจก 6 สูตรลับวางแผนการตลาดสร้างแบรนด์ SME ให้เป็นที่รู้จัก

แจก 6 เทคนิคการสร้างแบรนด์สำหรับ SME เน้นสร้างตัวตนให้ชัดเจน ตรงใจลูกค้า พร้อมเผยกลยุทธ์ใช้งบน้อยแต่ได้ผลจริงในโลกออนไลน์เพราะแบรนด์ใหม่…
pin
9 | 23/06/2025
วางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวให้ราบรื่น สไตล์ไม่เครียด

วางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวให้ราบรื่น สไตล์ไม่เครียด

ธุรกิจครอบครัว (Family Business) เป็นหน่วยธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่กระจายตัวอยู่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการส่งต่อความสำเร็จในธุรกิจครอบครัวจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง…
pin
27 | 04/06/2025
เจรจา RCEP เปิดตลาดการค้ามิติใหม่