การค้าชายแดนไทย โอกาสของ SMEs ไทย

SME Update
22/08/2018
รับชมแล้วทั้งหมด 2257 คน
การค้าชายแดนไทย โอกาสของ SMEs ไทย
banner
ประเทศใน CLMV อันประกอบไปด้วย ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เป็นกลุ่มอาเซียนที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจโตต่อเนื่อง มีแร่ธาตุทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และมีค่าจ้างแรงงานที่ไม่สูงนัก โดยการทำการค้าชายแดนกับประเทศในกลุ่มนี้มีมูลค่าถึง 1.6 ล้านล้านบาทในปี 2560 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากปี 2559 โดยในปี 2561 คาดการณ์ว่ามูลค่าการค้าชายแดนอาจเติบโตถึงร้อยละ 14 เนื่องจากมีปัจจัยที่ขับเคลื่อนมาจากความต้องการสินค้าไทยที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนยังคงมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น

มีการคาดการณ์ว่าในปี 2561 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย เช่น เมียนมาจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.7 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 8 กัมพูชา อัตราการเจริญเติบยังอยู่ที่ร้อยละ 7.1 สปป.ลาว จะเติบเติบโตจากร้อยละ 6.9 เป็น 7 มาเลเชียยังเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 5.4

ประเทศที่มีการคาดการณ์ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสูงสุดร้อยละ 8 มีประชากรกว่า 60 ล้านคน คือประเทศเมียนม่า โดยมีการค้าขายผ่านชายแดนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นทำเลการค้าชายแดนที่มีศักยภาพอย่างยิ่ง เนื่องจากเส้นทางแม่สอด-เมียวดี เนื่องจากเส้นทางที่เข้าถึงเมืองย่างกุ้งได้ใกล้ที่สุด ในอนาคตยังจะสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นๆอย่าง บังกลาเทศ กากีสถาน อินเดีย อิหร่าน ตุรกี เข้าสู่ยุโรป และสินค้าจากประเทศไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นอกจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค เมียนมายังต้องการสินค้าอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างอีกมาก เนื่องจากประเทศอยู่ระหว่างการเติบโต ที่มีการก่อสร้างความสะดวกอย่างถนน อาคารบ้านเรือนมากมาย

กัมพูชา เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง มีธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ โลจิสติกส์ คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า เพื่อรองรับการขนถ่ายและกระจายสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการบริโภคภายในประเทศกัมพูชามีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะประชาชนในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยกลุ่มสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว นม เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

โลจิสติกส์ชายแดนของไทย (Cross-border Logistic) จะติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา กัมพูชา ลาวและมาเลเซีย มีจุดผ่านแดนถาวร ผ่านจังหวัดทั่วประเทศ 21 จังหวัด โดยเฉพาะมาเลเซีย ที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในกลุ่มอาเซียน มีจุดผ่านแดนถึง 8 จุดใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยที่จุดผ่านแดนทุกแห่งเป็นช่องทางสำคัญที่ทำให้ภาพรวมการค้าชายแดนไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นช่องทางที่ท่านผู้ประกอบการ SMEs เริ่มต้นส่งออกสินค้าที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องกฎระเบียบทางการค้าต่างๆ จึงเป็นสิ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด จะต้องศึกษาความต้องการ วัฒนธรรม และสังคมของประเทศคู่ค้า และหาพันธมิตรเครือข่ายที่เชื่อถือได้

และจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมากมูลค่าการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนมีมูลค้ารวม 115,184.99 ล้านบาท เพิ่มจากเดือนมีนาคม 2560 ที่มีมูลค่า 88,970.79 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.46 เป็นตัวเลขที่น่าสนใจ สำหรับท่านผู้ประกอบการอย่างยิ่ง

จากข้อมูลข้างต้นการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนเป็นตลาดที่น่าสนใจและน่าลงทุนอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุน เนื่องจากเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี อีกทั้งสินค้าจากประเทศไทยยังเป็นสินค้าที่ประเทศเพื่อนบ้านนิยมและเป็นที่ต้องการอีกด้วย

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

แจก 6 สูตรลับวางแผนการตลาดสร้างแบรนด์ SME ให้เป็นที่รู้จัก

แจก 6 สูตรลับวางแผนการตลาดสร้างแบรนด์ SME ให้เป็นที่รู้จัก

แจก 6 เทคนิคการสร้างแบรนด์สำหรับ SME เน้นสร้างตัวตนให้ชัดเจน ตรงใจลูกค้า พร้อมเผยกลยุทธ์ใช้งบน้อยแต่ได้ผลจริงในโลกออนไลน์เพราะแบรนด์ใหม่…
pin
7 | 23/06/2025
วางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวให้ราบรื่น สไตล์ไม่เครียด

วางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวให้ราบรื่น สไตล์ไม่เครียด

ธุรกิจครอบครัว (Family Business) เป็นหน่วยธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่กระจายตัวอยู่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยการส่งต่อความสำเร็จในธุรกิจครอบครัวจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง…
pin
25 | 04/06/2025
งาน TFBO 2025 งานแสดงแฟรนไชส์และโอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

งาน TFBO 2025 งานแสดงแฟรนไชส์และโอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

พบกับงาน TFBO 2025 งานแสดงแฟรนไชส์และโอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่ Website: thailandfranchising.comวันที่:…
pin
20 | 30/05/2025
การค้าชายแดนไทย โอกาสของ SMEs ไทย