ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี
เพื่อเข้าสู่ “Thailand 4.0”
นั่นคือการผลักดันและพัฒนาภาคการเกษตรสู่เกษตร 4.0 ด้วยการดำเนินโครงการให้เกษตรกรยกระดับตัวเองเข้าสู่ยุค “เกษตรสมัยใหม่” ที่เรามักจะได้ยินคำว่า “สมาร์ท ฟาร์ม” (Smart
Farm) หรือ สมาร์ท ฟาร์มเมอร์” (Smart Farmer) คือ“เกษตรอัจฉริยะ”
ผู้นำเกษตรกรหรือผู้จัดการฟาร์มอย่างมืออาชีพ และขยับเข้าสู่ “สมาร์ท ฟาร์มมิ่ง” (Smart
Farming) คือเกษตรกรรมยุคใหม่ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในฟาร์มเกษตร
กระนั้นก็ตามการปั้นเกษตรกรรุ่นใหม่ทั้งสมาร์ท
ฟาร์มเมอร์ ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากมีปัจจัยหลายประการ อาทิ
เงินทุนที่มีจำนวนที่มากขึ้น
เนื่องเพราะเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะเกษตรกรรายย่อย ฐานะยากจน ทางออกคือ
ต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อใช้เทคโนโลยีร่วมกันในรูปแบบของบริหารของององค์กร
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme

Young Smart Farmer
อนาคตเกษตรไทย
การสร้าง Young Smart Farmer ถือเป็นการเริ่มเสริมสร้างความรู้ด้านการเกษตรแบบรุ่นใหม่ให้กับเยาวชนตั้งแต่สถาบันการศึกษาในระดับประถม
หรือเยาวชนทั่วไป ที่เยาวชนซึ่งเป็นบุตรหลายเกษตรกรให้รู้เรื่องการตั้งแต่ต้นน้ำ
คือ วิเคราะห์สภาพดิน การเตรียมดิน การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
การดูแลจัดการด้วยระบบเกษตรแม่นยำ การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การตลาดให้ครบวงจร เพื่อสร้างเยาวชนเหล่านี้เป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่มใหม่ในอนาคต
ที่สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ทั้งมีความภาคภูมิใจและความมั่นคงในการประกอบอาชีพทางการเกษตร พึ่งพาตนเอง
และเป็นที่พึ่งให้แก่เพื่อนเกษตรกรได้
แผนการขับเคลื่อนการพัฒนา Young Smart Farmer
1. เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรรุ่นใหม่แต่ละรุ่น
2. มีการพัฒนากิจกรรมการเกษตรด้วยนวัตกรรม
รวมทั้งบริการจัดการกิจกรรมเกษตรด้วยระบบ IoT (internet of Things)
3. พัฒนาเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ (Startup)
รวมทั้งพัฒนาระบบธุรกิจเกษตรด้วยนวัตกรรม Smart Farm Digital
Market
4. สินค้าเกษตรได้รับรองมาตรฐานสากล Go to Global และยกระดับผู้ประกอบการรุ่นใหม่สู่สากล
ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรได้ร่วมกับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
(อ.ต.ก.) และเครือข่าย Young
Smart Farmer ดำเนินโครงการ โดยมีเจ้าหน้าที่ อ.ต.ก.
มาเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาแนะนำ
ให้ความรู้ด้านระบบการบริหารจัดการตลาดแบบครบวงจรให้กับเครือข่าย Young Smart Farmer
ได้เรียนรู้การบริหารจัดการตลาด
การสร้างช่องทางการตลาด
เพื่อให้มีความพร้อมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อประเมินผลการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้การตลาดแบบหมุนเวียนของเครือข่าย และเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการตลาดของร้านค้า Young Smart Farmer พร้อมทั้งร่วมกันถอดบทเรียนการจัดการตลาดแบบหมุนเวียนในครั้งนี้ เป็นต้น
คุณสมบัติของ Young Smart Farmer
จะต้องมีความรู้เรื่องที่ทำ มีข้อมูลตัดสินใจ
มีการจัดการผลผลิต/ตลาด ใส่ใจคุณภาพ รับผิดชอบสังคม/สิ่งแวดล้อม ภาคภูมิใจที่เป็นเกษตรกร
โดยเกษตรกรรุ่นใหม่จะต้องได้รับการประเมินศักยภาพและต้องผ่านคุณสมบัติด้านรายได้ไม่ต่ำกว่า
180,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี และมีอายุระหว่าง 17-45 ปี
ทั้งนี้
เกษตรกรและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานเกษตรจังหวัด หรือสำนักงานเกษตรอำเภอ
ใกล้บ้านหรือสามารถรับสมัครได้กับเครือข่าย YSF Thailand ซึ่งก็จะประสานกับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรอีกทางหนึ่ง