1 ตุลาคม สรรพสามิตปรับขึ้นภาษีความหวาน

SME Update
11/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4749 คน
1 ตุลาคม สรรพสามิตปรับขึ้นภาษีความหวาน
banner

ภาษีความหวาน ผู้ประกอบการหลายท่านคงทราบแล้ว 1 ตุลาคม นี้ สรรพสามิตจัดเก็บภาษีความหวานภายใต้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต รอบใหม่ซึ่งมีการปรับ 2 ปีครั้งเริ่มครั้งแรกในปี 2560 ที่ผ่านมาและ รอบที่กำลังจะถึง คือ 1 ตุลาคม - 30 กันยายน 2564

โดยกรมสรรพสามิตได้เสนอแนวทางการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่ม โดยเพิ่มการจัดเก็บภาษีตามปริมาณน้ำตาลโดยเสนอปรับอัตราภาษีเป็นขั้นบันไดในทุก ๆ 2 ปี สูงสุดถึง 5 บาทต่อลิตร ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเกิดการปรับตัว ส่งผลให้มีการปรับพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่บริโภคน้ำตาลในปริมาณที่สูงเกินกว่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึง 2-3 เท่า ต่อการใช้พลังงานของร่างกายในแต่ละวัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) อาทิเช่น  โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ เป็นต้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีความหวานภายใต้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้ดีขึ้นและรองรับกับสังคมผู้สูงอายุ โดยการใช้มาตรการภาษีดังกล่าวสนับสนุนให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมลดปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่ม ปรับสูตรการผลิตเพื่อส่งเสริมเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลน้อยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด ส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคเครื่องดื่มมากขึ้น สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามนโยบายในการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานมากเกินความจำเป็นของร่างกายได้เป็นอย่างดี 

ภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท

นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี ในฐานะรองโฆษกกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่าจากการสำรวจความเห็นภาคประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ำตาลส่วนผสม พบว่าอุตสาหกรรมเครื่องดื่มปรับลดปริมาณการใส่น้ำตาลลงพร้อมติดโลโก้แสดงสัญลักษณ์เพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว  ผู้ที่ให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพมีอายุอยู่ในช่วง 30 ปีลงมา และ 60 ปีขึ้นไป ส่วนอายุในช่วงระหว่าง 30 ถึง 60 ปีไม่ค่อยความสนใจมากนัก

โดยผู้ตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับมาตรการภาษีความหวานและการตระหนักถึงอันตรายจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินความจำเป็นของร่างกาย มีไม่ถึง 50% สะท้อนให้เห็นถึงการประชาสัมพันธ์ที่ไม่เพียงพอตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นต้องเพิ่มช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งควรเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์สินค้าที่เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึงเพิ่มมากขึ้น และได้หารือกับคณะทำงาน และผู้ประกอบการเพื่อปรับเปลี่ยนโลโก้ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งแสดงสัญลักษณ์ที่ชัดเจนมากขึ้น


สำหรับแนวทางเพิ่มการจัดเก็บภาษีตามปริมาณน้ำตาลโดยเสนอปรับอัตราภาษีแบบขั้นบันไดในทุก  2 ปี ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มได้ปรับตัว ส่งต่อพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน และการจัดจัดเก็บภาษีปีที่ผ่านมารายได้ 2,000- 3,000 ล้านบาท และคาดว่าในปีงบประมาณ 2563 เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท

“Functional Foods” ตลาดนี้ โตได้อีกถ้ารู้ ‘เทรนด์’

สินค้าเกษตรไทย ยังอนาคตสดใสในต่างประเทศ



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
5 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
5 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
7 | 11/04/2025
1 ตุลาคม สรรพสามิตปรับขึ้นภาษีความหวาน