การรุกคืบของทุนจีนเข้ามายังอาเซียนรวมถึงไทย กลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายต่างให้ความสนใจ
ด้วยศักยภาพการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มีเม็ดเงินทุนสำรองจำนวนมาก
ประกอบกับสงครามการค้ากับสหรัฐฯ กลายเป็นแรงบีบสำคัญที่ทำให้ทุนจีนต้องขยับหาฐานการลงทุนแห่งใหม่
เพื่อลดปัญหาการถูกสหรัฐฯโจมตีด้วยการขึ้นกำแพงภาษี
อาเซียน กลายเป็นประเทศหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่ทุนจีนรุกคืบเข้ามา ด้วยความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ และสายสัมพันธ์ที่มีต่อกันมาอย่างยาวนาน
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เมื่อเร็วๆ นี้
มีผลการศึกษาภาพรวมการลงทุนโดยตรง (FDI) ของจีนที่รุกเข้ามาใน
CLMV หรือ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยนายอัทธ์
พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับจากปี 2557-2561 การลงทุนโดยตรง( FDI) ของจีนเข้ามายัง CLMV เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี จากปี 2557 มูลค่า 1,448 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 3,388
ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นเกิน 1 เท่าตัว หากเทียบกับเม็ดเงินลงทุน FDI ของจีนไปยังทั่วโลกซึ่งไม่ได้เพิ่มขึ้นทุก
ยกตัวอย่างเช่นใน ปีล่าสุด 2561 มีมูลค่า 130,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2560 ซึ่งมีมูลค่า 158,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ หากวิเคราะห์ลงรายประเทศ ในปี 2561 เทียบกับปี 2560 จะพบว่า
จีนเข้าไปลงทุนในเวียดนามสูงสุด 1,077 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่ลงทุน 852 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รองลงมา คือ ในลาว 1,045 ล้านเหรียญสหรัฐ กัมพูชา 798
ล้านเหรียญสหรัฐ และเมียนมา 467 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับประเภทธุรกิจที่จีนเข้าไปลงทุนในเวียดนาม คือ อุตสาหกรรมเบา สินค้าอุปโภคบริโภค โรงแรม ร้านอาหาร ที่พักอาศัย อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร และก่อสร้าง
ส่วนในลาว จะเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่
การเกษตร สถาบันการเงิน พลังงานไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม ร้านอาหาร
ที่พักอาศัย คลังสินค้า การขนส่ง การก่อสร้างถนน ทางรถไฟ
ส่วนการลงทุนในกัมพูชา จะเป็นเสื้อผ้า
การก่อสร้าง ไฟฟ้า โรงสี ธุรกิจการเกษตร เหมืองแร่ พลังงานถ่านหิน คาสิโน คอนโดมิเนียม
โรงแรม ร้านอาหาร สถานบันเทิง การท่องเที่ยว และการลงทุนในเมียนมา จะเป็นพลังงานไฟฟ้า
น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เหมืองแร่ และการเกษตร
ขณะที่การเข้ามาลงทุนในไทยนั้น มีมูลค่า 518 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีการลงทุนเพียง 79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น
หากปัญหาสงครามการค้ายังไม่ยุติ
และหากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) สำเร็จในปี 2563 ส่งผลให้ประเทศสมาชิก 16 ประเทศ ซึ่งรวมถึงจีนสามารถค้าขายระหว่งกันได้อย่างเสรี
ก็จะเป็นหนุนการขยายการลงทุนในกลุ่มภูมิภาคมากขึ้น
ดังนั้น ไทยควรปรับตัวผ่าน 3 ยุทธศาสตร์ คือ
1. ยุทธศาสตร์บินไปกับพญามังกร
กล่าวคือ ไทยควรร่วมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุตสาหกรรมหรือธุรกิจจีนเพื่อขายให้กับ
ประชาชนลาวหรือเป็นฐานการผลิตส่งออกไปประเทศที่สาม
2. ยุทธศาสตร์เสียบปลั๊ก
หมายถึง
จังหวัดของไทยที่ใกล้กับเส้นทางรถไฟจีน-ลาวผ่านต้องรีบเข้าไปหาลู่ทางธุรกิจ
อาจจะสร้างศูนย์กระจายสินค้าของจังหวัด เช่น
จังหวัดน่านใกล้วกับสถานีรถไฟหลวงกรบางมากที่สุด
3. ยุทธศาสตร์ปลายซอย
หมายยถึง ธุรกิจไทยจะเข้าไปช่วยเติมเต็มธุรกิจจีน เช่น ธุรกิจโรงแรมจีน และธุรกิจ
ห้างสรรพสินค้าจีน จะมีสินค้าสำเร็จรูปไทยเข้าไปจำหน่าย
ในอนาคตการทำการค้าในลักษณะการสร้างพันธมิตรธุรกิจและเติบโตไปด้วยกันจะกลายเป็นจุดแข็งในกลุ่มภูมิภาค ไทยต้องวางบทบาทของตัวเอง กำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป