เรื่องด่วนควรทำ เมื่อธุรกิจเริ่ม 'เงินหมุนไม่ทัน'

SME Update
06/05/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 5121 คน
เรื่องด่วนควรทำ เมื่อธุรกิจเริ่ม 'เงินหมุนไม่ทัน'
banner

เงินขาดสภาพคล่อง ไม่พอกับรายจ่าย หมุนเงินไม่ทัน ต้องการเงินหมุนสำหรับธุรกิจ สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอสำหรับเจ้าของกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบจนอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวกับธุรกิจของเรา ผู้ประกอบการจึงควรคิดหาวิธีรับมือเพื่อให้ยอดกระแสเงินสดลื่นไหลไม่มีปัญหา

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. พิจารณาค่าใช้จ่ายประจำในแต่ละเดือน

อาจจะทำเป็นบัญชีรายรับ รายจ่ายขึ้นมาเลย อาจเป็นบัญชีง่ายๆ เมื่อเราพอจะเห็นแล้วว่าอย่างน้อยต้องมีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องจ่ายประจำ เช่น ค่าเช่าตึก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน ภาษี แล้วรายรับที่ได้รับนั้นสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ เพียงพอสำหรับหมุนเวียนในแต่ละเดือนหรือเปล่า

 

2. ให้ลูกค้าวางมัดจำ

การวางมัดจำเป็นการลดความเสี่ยงในการทำงานของเรา และยังสามารถนำเงินมัดจำนั้น มาใช้ในการทำโปรเจกต์ดังกล่าวได้ด้วย

 

3. ทำบัญชีเงินสดรับ เงินสดจ่ายล่วงหน้า

วิธีนี้เหมือนกับการกางแผนที่ จะทำให้เห็นภาพรวมว่าธุรกิจมีกระแสเงินสดเป็นอย่างไร อีกเดือนสองเดือนข้างหน้าเงินสดพอหรือไม่ ถ้าไม่พอรายการไหนบ้างที่สามารถปรับเพื่อช่วยให้มีเงินหมุนเวียนมากขึ้น

หากใครไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ลองเริ่มแบบง่ายๆ ด้วยการ List รายการที่เป็นกระแสเงินสดรับทั้งหมดของเดือนหน้าออกมา นำมาลบกับ List รายการที่เป็นกระแสเงินสดจ่ายทั้งหมดของเดือนหน้า ก็จะเท่ากับเงินสดคงเหลือเดือนหน้า จากนั้นก็ยกยอดเงินสดที่เหลือไปเดือนถัดไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้ล่วงหน้าหลายๆ เดือน ถ้าเงินสดคงเหลือเดือนไหนติดลบ รีบหาสาเหตุวางแผนแก้ไขล่วงหน้า เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในเดือนนั้นๆ

 

4. ปรับธุรกิจให้มีรายได้หลากหลายช่องทาง

ถ้าธุรกิจใครได้รับเงินเป็นก้อนตามโปรเจกต์ ซึ่งกว่าจะได้รับเงินแต่ละก้อนก็หลักเดือน อาจจะลองปรับธุรกิจให้มีรายได้แบบอื่นด้วย เช่น เก็บรายเดือน หรือมีโปรเจกต์เล็กๆ บ้าง เพื่อจะได้เก็บเงินได้เร็วขึ้น แม้ว่าส่วนใหญ่กำไรจะน้อยกว่าโปรเจกต์ใหญ่ๆ แต่ก็เป็นส่วนที่ช่วยให้มีเงินทุนหมุนเวียนสม่ำเสมอ

 

5. ขอเลื่อนเวลาการชำระเงินออกไป

เมื่อกระแสเงินสดได้รับผลกระทบ หนึ่งในมาตรการป้องกันแรกที่ต้องพิจารณา คือการชะลอการชำระเงิน เจ้าของกิจการอาจเจรจาต่อรองขยายกำหนดเวลาการชำระเงินกับผู้ขายและซัพพลายเออร์รายอื่นๆ แทน ซึ่งถ้ามีประวัติการจ่ายตรงเวลาก่อนหน้านี้ พวกเขาอาจยินดีที่จะเลื่อนเวลาการจ่ายเงินให้เพิ่มอีก 2-3 วัน หรือหลายสัปดาห์ ฉะนั้นการชำระเงินตรงที่เวลาสามารถช่วยยามฉุกเฉินได้

 

6. เจรจาเงื่อนไขการชำระเงินใหม่

หากเจ้าหนี้เปิดโอกาสให้ชำระเงินล่าช้าในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ลองใช้จังหวะนี้เปิดการเจรจาถึงโครงสร้างการชำระเงินที่มีอยู่ให้เป็นแบบระยะยาวมากขึ้น เช่น ถ้าปกติกำหนดการชำระเงินอยู่ที่ 30 วัน แต่คิดว่าจะต้องเจอกับปัญหากระแสเงินสดแบบนี้ทุกๆ เดือน ลองเจรจาขยายกรอบการชำระเงินออกไปเป็น 45 วัน เพื่อให้มีเวลาในการหาเงินมาจ่ายได้มากขึ้น

 

7. การขาย Cheque

บางครั้งหากหมุนเงินไม่ทันจริงๆ การขายเช็ค หรือขายเงินล่วงหน้า (Account Receivable) ก็เป็นสิ่งจำเป็น (Factoring) แต่ต้องไม่ลืมดูว่าการที่ธุรกิจจะได้เงินน้อยลงนั้นคุ้มค่ามากกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียหรือไม่ นอกจากนี้ควรลองเช็กค่าใช้จ่ายกับดอกเบี้ยธนาคารที่ต้องกู้ยืมมาด้วย

 

8. เซฟค่าใช้จ่าย

เมื่อเข้าสู่ช่วงวิกฤตทางการเงิน คนทำธุรกิจยิ่งต้องเข้าไปดูเรื่องของการใช้จ่ายแบบใกล้ชิดมากเท่านั้น โดยเฉพาะต้องทำการตรวจสอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพื่อดูว่ามีอะไรที่สามารถระงับ-ตัดออกได้หรือไม่ เช่น หากยอดขายลดลง การลดคำสั่งซื้อสินค้ารายสัปดาห์หรือรายเดือน อาจเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างหนึ่ง รวมถึงลดการบริการสมัครสมาชิกซ้ำลง ดังนั้นยิ่งตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้มากเท่าไร ยิ่งสามารถนำกระแสเงินสดกลับคืนมาได้มากขึ้นเท่านั้น

 

9. อย่าสต็อกเยอะเกินไป

ยิ่งสต็อกเยอะ กระแสเงินสดจ่ายก็จะยิ่งมากตามไปด้วย จนอาจทำให้กระแสเงินสดรับขาดสภาพคล่อง ดังนั้นควรวางแผนดีๆ หากจำเป็นต้องซื้อวัตถุดิบเยอะจริงๆ ก็ควรหาเงินสดรับให้เพียงพอด้วย

 

10. ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน

เพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่อง ช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เมื่อการเงินเดินสะดวก กิจการก็จะไม่เสียเครดิต และยังเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตได้อีกทางหนึ่งด้วย

การหมุนเงินสำหรับธุรกิจมีหลายวิธี ที่สำคัญคือการเลือกใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และกิจการของตัวเอง นอกจากนี้การบริหารเงินที่ดีจะช่วยเพิ่มทรัพยากรให้กับบริษัทอย่างมหาศาล ถึงแม้บริษัทจะมีขนาดเล็ก ทุนสำรองไม่มาก ก็สามารถเติบโตได้หากผู้บริหารรู้จักเทคนิคการหมุนเงินที่ดี 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

Personal Branding สําหรับเจ้าของธุรกิจ SME: ทําอย่างไรให้คุณเป็นที่จดจําในวงการธุรกิจ

กระแสการเติบโตของอินฟลูเอนเซอร์และสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้แนวคิดเรื่อง Personal Branding ถูกนำมาพูดถึงอย่างกว้างขวางอีกครั้ง เพราะในวันนี้ที่โลกมีคนเก่งเกิดขึ้นมากมาย…
pin
5 | 17/04/2025
สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

สาย SME ต้องรู้ไว้! AI คืออะไร ทำงานอย่างไร พร้อมตัวอย่าง AI สำหรับใช้ปั้นธุรกิจให้โต

แนวโน้มการใช้ AI และประโยชน์ต่อการเติบโตของ SMEในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อธุรกิจ…
pin
5 | 16/04/2025
ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

ทรัมป์ขึ้นภาษี 37% กระทบอะไรบ้าง และ SME ไทยต้องปรับตัวยังไง?

Topic Summary: นโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ต่อการค้าโลก มาดูกันว่าเหตุการณ์นี้กระทบ…
pin
7 | 11/04/2025
เรื่องด่วนควรทำ เมื่อธุรกิจเริ่ม 'เงินหมุนไม่ทัน'