ปัจจุบันสินค้าโอทอปยังมีโอกาสในตลาดที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้
เพราะมีจุดแข็ง จุดขายอันเป็นเอกลักษณ์ และมีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มสูงขึ้นทุกปี
หากพัฒนาดี จี้ถูกจุด ฉีกแนวจากสินค้าหน้าตาบ้านๆ สู่มาตรฐานระดับสากล และทำให้คนเข้าถึงได้ง่ายก็สามารถไปต่อได้
แม้ในวันที่ไม่สามารถจัดงานแสดงสินค้าออกร้านจำหน่ายในสินค้า OTOP ทั้งในกรุงเทพฯและส่วนภูมิภาคได้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ก็ตาม
จากเดิมงานแสดงสินค้า OTOP นั้นมีกรมการพัฒนาชุมชนเป็นแม่งานในการจัดงานทุกปี ในอัตราความถี่ปีละ 2-4 ครั้ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยส่วนของงาน OTOP CITY ที่จัดขึ้นในเมืองทองธานีนั้น จัดเป็นงานโอทอปใหญ่ระดับประเทศ เป็นงานแสดงสินค้าโอทอประดับ 3-5 ดาว ที่ผ่านการคัดสรรมาแล้วจากผู้ประกอบการโอทอปทั่วประเทศ ซึ่งมีกว่า 15,000 ราย ให้มาร่วมออกบูทครั้งละ 2,000 ถึง 2,500 ราย หรือประมาณ 20,000 ผลิตภัณฑ์
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สร้างความหวังให้ผู้ประกอบการโอทอป
ภายใต้การหนุนนำขับเคลื่อนของรัฐบาลมานาน เพราะการมาออกงานในแต่ละครั้งผู้ประกอบการสามารถทำเงินได้มากเป็นหลักแสนและหลักกว่า
10 ล้านบาท
ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ทำให้เกิดสภาพคล่องในกิจการและการใช้ชีวิตได้ตลอดรอบปี ด้วยยอดเงินสะพัดดีขนาดนี้ภายใต้ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลช่วยสนับสนุนไปจนถึงให้ฟรี
จึงทำให้ผู้ประกอบการบางรายใช้เวลาในการทำผลงาน
ชิ้นงานตลอดปีเพื่อมาขายงานนี้เพียงงานเดียว
แต่ในยุคที่มีโรคระบาดการจะกลับมาจัดงานแบบเดิมอีกคงไม่ง่าย
เพราะสถานการณ์ของโรคระบาดไม่ได้เพียงจะคร่าชีวิตผู้คน แต่ยังส่งผลถึงรับเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลกด้วย
ผู้ประกอบการณ์โอทอปจำต้องปรับเปลี่ยนรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
นำสินค้าสร้างรายได้รับ New Normal และปรับรับเทคโนโลยีโลกให้ทัน
ภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐที่เปลี่ยนบทบาทไปสนับสนุนการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แทนการจัดงานแสดงสินค้าเหมือนที่ผ่านมา
นั่นเท่ากับว่าผู้ประกอบการจะต้องเริ่มเดินเกมการตลาดด้วยตัวเองเป็นหลัก โดยการหันมาพัฒนาจุดด้อย
เสริมจุดแข็ง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าตัวเองมีข้อด้อยหรือจุดแข็งอย่างไร
จุดอ่อนของสินค้าโอทอป
1. สินค้าไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
ไม่มีความแตกต่าง บรรณจุภัณฑ์ หีบห่อไม่สวยงามหรือทันสมัย
2. ราคาไม่สอดคล้องกับต้นทุนของสินค้า
ทำให้ประสบปัญหาทางการเงินจนเกิดภาวะขาดทุน
3. ขาดช่องทางการจำหน่าย
ผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงสินค้า และไม่รู้จักแบรนด์
5
ช่องทางดันโอทอปท็อปฮิตในตลาดออนไลน์
จากการส่งเสริมสินค้าโอทอปของภาครัฐที่เปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น
โดยทำการส่งเสริมการขายออนไลน์ปรับตัวตอบโจทย์ยุค New
normal และผลักดันให้เกิดการซื้อขายในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี่จึงเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการโอทอป
จะได้สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคและปรับรับเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาสินค้าและสร้างช่องทางการตลาดมากขึ้น
ภายใต้การสับสนุนช่วยขับเคลื่อนสินค้าโอทอปสู่ตลาดออนไลน์ในหลายๆ โครงการของรัฐบาล
โดยกรมการพัฒนาชุมชน(พช.) ซึ่งกำลังดำเนินการเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. โครงการ OTOP Midyear 2020 Online : เป็นการร่วมมือกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่อย่าง Shopee ในแคมเปญ “OTOP Midyear 2020
Online” ที่จะมีสินค้าชุมชนและสินค้าเอสเอ็มอีคุณภาพดี ได้คัดสรรจากผู้ประกอบการทั่วประเทศให้ได้เลือกช้อปปิ้งกันอย่างจุใจในราคาพิเศษลดสูงสุด
20% ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.– 29 ส.ค. 2563 ที่ https://shopee.co.th/otop ภายใต้คอนเช็ปต์ “สั่งซื้อตรง
ส่งถึงบ้าน ช้อปสนั่นออนไลน์” แถมโปรโมชั่นจัดเต็ม
เพราะเพียงซื้อสินค้าโอทอปเพียง 1 ชิ้น ส่งผลให้ชาวบ้านมีกินมีใช้อีกหลายครอบครัว
2. โครงการ U-OTOP นำร่องโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (มร.สส.) : หวังส่งเสริมสินค้าชุมชนผ่านนักศึกษาที่สนใจหารายได้พิเศษ
รุกสู่ตลาดออนไลน์สู้ภัยโควิด–19 โดยการให้นักศึกษานำสินค้า otop มาขายบนโลกออนไลน์ในช่วงเกิดปัญหาโควิด–19 ซึ่=-0987654งจะได้รับผลตอบแทนพอสมควรแบ่งเบาความเดือดร้อนของครอบครัวได้
ส่วนผู้ประกอบการโอทอปในแต่ละชุมชนก็จะได้ขยายตลาดบน online และได้ยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น
จึงเป็นโครงการร่วมสนับสนุนสินค้าชุมชนได้ออกสู่ตลาดยุคใหม่ 4.0
เพื่อการพัฒนาต่อยอดในลำดับต่อไปอย่างยั่งยืน
3. โครงการยืดอายุผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารถิ่นรสไทยแท้ (OTOP Authentic Thai
Taste) : จัดทำสินค้าต้นแบบเชิงพาณิชย์
สร้างสรรค์เมนูอาหารถิ่นรสไทยแท้ที่มีความโดดเด่นของส่วนประกอบที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น
10 เมนู เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้แก่อาหารถิ่นรสไทยแท้ที่เป็นอาหารปรุงสด
ให้เป็นอาหารที่มีอายุการเก็บรักษาเพื่อการบริโภคได้ยาวนานขึ้น
สะดวกต่อการรับประทานรองรับเทรนด์ในยุคปัจจุบัน
พร้อมขยายตลาดสู่เครือข่ายผู้ผลิตอาหารไทยและผู้บริโภค
โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาอาหารไทยที่มีสมุนไพรที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภคมาพัฒนา
นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตมาใช้เพื่อการยืดอายุผลิตภัณฑ์
พัฒนาเป็นสินค้าอาหารแปรรูปที่สะดวกต่อการบริโภค
สอดคล้องตามความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน รสชาติอร่อย แต่ยังคงคุณประโยชน์
คุณภาพ และความปลอดภัย เพิ่มการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ และใช้ตราสัญลักษณ์หรือแบรนด์
OTOP Thai Taste ระบุข้อมูลโภชนาการต่อหน่วยบริโภค
และจุดเด่นเรื่องราว (Story) ของผลิตภัณฑ์
ลงบนฉลากบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานสินค้าระดับสากล
4. พัฒนาแพลตฟอร์มการขาย Online ช่วยระบายสินค้า : ผู้ประกอบการสินค้าชุมชนทั่วประเทศประสบปัญหาการระบายสินค้า
ไม่มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว พช.ได้พัฒนาระบบการขาย Online ต้นแบบ เพื่อเป็นแนวทางให้แก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศได้เรียนรู้
โดยสามารถเข้าชมและเลือกช้อปได้ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.otoptoday.com/newweb
ซึ่งได้รวบรวมสินค้าจากทุกจังหวัดทุกภาคให้ผู้สนใจเข้ามาคลิ๊กค้นหาจากรายการสินค้าและมี
Link เชื่อมต่อไปยังผู้ขาย
และยังมีกลุ่มเฟซบุ๊กเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการโอทอปทั่วประเทศ นำสินค้าเด่นดังประจำจังหวัดมาฝากร้านขายของ
สร้างกิจกรรมให้ผู้ซื้อผู้ขายพบกันตลอด 24 ชั่วโมง ซื้อง่าย สั่งได้
พร้อมส่งถึงบ้าน โดยสามารถเข้าชมได้ที่กลุ่ม “OTOP TODAY ฝากร้านขายของ” https://web.facebook.com/groups/232930151121943
5. ช่องทางด่วนออนไลน์ผ่าน Live สด :
ซึ่งเป็นช่องทางด่วนเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้สามารถขายของได้อีกทางหนึ่งของ พช.
มีการจัดกิจกรรมไลฟ์สด (Live สด) ผ่านเฟซบุ๊ก OTOPTODAY
ซึ่งดำเนินการ 2 ระดับ คือ ในส่วนกลาง
กรมการพัฒนาชุมชนได้ร่วมกับโอทอปเทรดเดอร์ จัดกิจกรรม Live สด
ทุกวัน ระหว่างเวลา 12.00–13.00 น. สามารถติดตามชมได้ที่ https://www.facebook.com/OTOPTODAYTHAILAND และในระดับพื้นที่ได้สนับสนุนให้ทุกจังหวัดจัดกิจกรรม Live
สดโดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอจัดเอง อีกทั้งจังหวัด
และอำเภอได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการจัด Live สดขึ้นเองด้วย
โดยให้ประชาสัมพันธ์นัดวันเวลาล่วงหน้าเพื่อให้มีผู้เข้ามาติดตามจำนวนมาก ซึ่งมีการดำเนินการไปแล้วพบว่าได้รับผลตอบรับดีพอสมควร
การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มาหยุดกิจกรรมการชุมนุมแสดงสินค้าหรือพบปะผู้คนจำนวนมากในครั้งนี้ จัดเป็นฤกษ์งามอันดีที่ผู้ประกอบการสินค้าโอทอป จะได้ปรับใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีในธุรกิจตนมากขึ้น จนทำให้สามารถฉีกภาพลักษณ์สินค้าบ้านๆ ในแบบเดิมมาสู่สินค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงเป็นการกระตุ้นย้ำผู้ประกอบการโอทอปให้ตื่นตัวรุกตลาดด้วยตนเองมากขึ้น โดยไม่หวังพึ่งการตลาดแบบเดิม เพราะพฤติกรรมคนเปลี่ยนไปจากเดิมมากมายในยุค New Normal Thai Style 4.0