ถ้าพูดถึง “อาหารอนาคต “หรือ Future Food แล้วหลายคนคงนึกไม่ออกว่ารูปร่างหน้าตาจะเป็นเช่นไร
แต่หลายๆคงจะนึกถึงอาหารของนักบินอวกาศขึ้นมาทันทีอันที่จริงแล้ว
อาหารอนาคตเป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆ ใกล้ตัวขนาดที่เราอาจไม่รู้ว่าสิ่งนี้ก็คือหนึ่งในอาหารอนาคตเหมือนกัน
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้
อาหารอนาคต ถูกพูดถึงกันมากเพราะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นไปตามวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในโลกนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปแบบคาดไม่ถึง
ทั้งนี้ผู้บริโภคยุคใหม่จะให้ความสำคัญกับอาหารที่รับประทานได้สะดวก รวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับสุขภาพ
และความปลอดภัย ไปพร้อมๆกัน
ตรงนี้นี่เองที่เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารในอนาคต
ดังนั้นผู้ประกอบการอาหารของไทยที่มองการณ์ไกลจะต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ให้ได้
จะต้องเปิดโลกทัศน์รับองค์ความรู้ใหม่ๆที่เข้ามาทุกวัน ต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยซึ่งทุกวันนี้หน่วยงานรัฐให้การสนับสนุนค่อนข้างมากทั้งสนับสนุนเงินทุน
นวัตกรรม เทคโนโลยี บุคลากร อุปกรณ์รวมถึงคำปรึกษาแบบครบวงจรเลยทีเดียว
เหนือสิ่งใดผู้ประกอบการที่จะปรับตัวได้ทันจะต้องเป็นคนที่คิดนอกกรอบและมีความคิดสร้างสรรค์
เพราะการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเนื่องจากเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
อีกทั้งกระบวนการผลิตก็มีความสลับซับซ้อน ต้องใช้องค์ความรู้หลากหลาย และเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme

กลุ่มแรก
“อาหารเกษตรอินทรีย์” (Organic Foods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรที่มีความเป็นนวัตกรรมอยู่ที่กระบวนการผลิต
คือเป็นกระบวนการผลิตอาหารที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆหรือปลอดภัยจากสารเคมี
ทั้งสิ้นนั่นเอง จึงถือเป็นหนึ่งใน Future
Food เหมือนกัน
ที่น่าสนใจแล้วก็ใกล้ตัวไม่น้อยคือ “กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเสริมสุขภาพ”
หรือ Functional Food หรือบางคนเรียกว่าอาหารฟังก์ชั่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถให้คุณค่าอาหารที่จำเป็นให้กับร่างกาย
เช่น ปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่าง ๆ หรืออาจจะบอกว่าอาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่กินเพื่อเสริมและส่งผลดีต่อสุขภาพของคนกิน
เรียกได้ว่าเป็นอาหารที่มีสารอาหารหรือส่วนประกอบในอาหารทำหน้าที่พิเศษกว่าการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายทั่ว
ๆ ไป ซึ่งจะต่างจากพวกวิตามินอาหารเสริมตรงที่อาหาร ฟังก์ชั่นนัล ฟูดส์จะไม่อยู่ในรูปแบบแคปซูล
เม็ดยา หรือวิตามิน แต่หน้าตาเหมือนอาหารทั่วไปที่เรากิน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น
โยเกิร์ต สิ่งที่ทำให้โยเกิร์ตที่ถือเป็น ฟังก์ชั่นนัล ฟูด ต่างจากโยเกิร์ตเดิม ๆ
ทั่วไปคือมีการเติมโปร-ไบโอติก ที่เป็นจุลินทรีย์เพื่อสุขภาพเสริมลงไปนั่นเอง
นอกจากนี้ “อาหารทางการแพทย์
“(Medical Foods) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริม
เป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยเฉพาะโรค
หรือผู้ที่ไม่สามารถทานอาหารปกติได้ รูปแบบรับประทานหรือดื่มแทนอาหารหลัก
หรือเสริมบางมื้อหรือเป็นอาหารทางสายยาง
อีกอย่างที่อาจจะพบเห็นกันได้ไม่ยากหลายคนน่าจะเคยผ่านตาก็คือเจลลี่โภชนา
อาหารพระราชทานจากล้นเกล้ารัชกาลที่เก้าเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็งช่องปาก
อาหารแนวนี้จะเป็นอาหารทางการแพทย์ที่ออกแบบโดยมีจุดประสงค์ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยเฉพาะโรค
เช่น โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น
เนื่องจากผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังในเรื่องอาหารมากเป็นพิเศษ
สุดท้าย กลุ่มอาหารที่ถือเป็น อาหารอนาคต
คือ “อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางนวัตกรรม “หรือ Novel Food อาหารกลุ่มนี้หมายถึงอาหารรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรมสูงมาก
ซึ่งทางแถบยุโรป จะให้คำจำกัดความว่าเป็นอาหารพวกที่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบใหม่
ไม่เคยมีการผลิตมาก่อน
หรือเป็นอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิม
หรือเป็นอาหารที่มีการปรับแต่งโดยกระบวนการผลิตแบบใหม่ เช่น การใช้นาโนเทคโนโลยี
หรือพวก Nano Food ก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน อย่างพวกน้ำพริกกะปิผง รวมถึงแหล่งอาหารใหม่ คือ
แมลง สาหร่าย และยีสต์ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าอาหารอนาคต มีความหลากหลาย
ใช้บรรเทาโรค เสริมสร้างพลังงานในแต่ละช่วงวัยที่มีความต้องการสารอาหาร
มีกระบวนการดูดซับสารอาหารที่แตกต่างกัน ที่สำคัญคือต้องทานง่าย
และมีรสชาติดีด้วยจะเห็นได้ว่าอาหารอนาคต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่อย่างใด
และแน่นอนว่ายังมีศักยภาพในการพัฒนาและส่งเสริมในระดับอุตสาหกรรมไปได้อีกไกล
อย่างไรก็ตามอาหารอนาคตอาจเป็นเรื่องใหม่
สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กพวกSMEsที่ยังขาดองค์ความรู้อยู่มาก ดังนั้นการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการเป็นสิ่งจำเป็น
เพื่อให้ทราบถึงทิศทางและเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ
อีกทั้งเตรียมความพร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน การเพิ่มมูลค่าและผลิตภาพ ที่จำต้องขยับไปอีกขั้นจาก “ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า”เป็น “ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง” อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการก็ควรเตรียมตัวให้พร้อม มองหาลู่ทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หาแนวร่วมจากองค์กรภาครัฐที่สนับสนุน โดยเฉพาะตลาดส่งออก ที่มีกำลังซื้อสูง
สำหรับในส่วนของผู้บริโภคนั้น มีแนวโน้มการบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่บางส่วนยังไม่ค่อยเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท หน่วยงานที่รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องสื่อสารให้ความรู้เช่นกัน เห็นได้ว่าอาหารอนาคต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่อย่างใด และแน่นอนว่ายังมีศักยภาพในการพัฒนาและส่งเสริมในระดับอุตสาหกรรมไปได้อีกไกล