รู้จัก Smart Factory วิธีปรับกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ

SME Series
22/03/2025
รับชมแล้วทั้งหมด 17 คน
รู้จัก Smart Factory วิธีปรับกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ
banner

ชวนสำรวจแนวทางการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ Smart Factory สำหรับ SME ไทย เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิทัล

Content Summary:

  • Smart Factory คือโรงงานอัจฉริยะที่ผสมผสานเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับกระบวนการผลิต โดยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ IoT, AI, ระบบอัตโนมัติ, Big Data และ Cybersecurity 

  • การปรับเปลี่ยนเป็น Smart Factory ช่วยให้ SME ลดต้นทุนการผลิต ลดความผิดพลาดของมนุษย์ ปรับปรุงกระบวนการซัปพลายเชนให้แม่นยำ และยกระดับคุณภาพสินค้า 

  • "โรงหล่อ ก.เจริญ" เป็นกรณีศึกษาของ SME ไทยที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสู่ Smart Factory ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีอัตโนมัติกับองค์ความรู้ดั้งเดิมของช่างฝีมือ ส่งผลให้เพิ่มความแม่นยำในการผลิต ลดการสูญเสียวัตถุดิบ และบริหารจัดการพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Table of Contents:

  • Smart Factory คืออะไร?

  • องค์ประกอบหลักของ Smart Factory คืออะไรบ้าง?

    • 1. การใช้ IoT (Internet of Things) ในกระบวนการผลิต

    • 2. AI และ Machine Learning

    • 3. ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation & Robot)

    • 4. Big Data และ Cloud Computing

    • 5. Cybersecurity และความปลอดภัยในโรงงานอัจฉริยะ

  • ข้อดีของ Smart Factory สำหรับ SME

    • ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ

    • ลดความผิดพลาดของมนุษย์ในการทำงาน

    • ปรับปรุงกระบวนการซัปพลายเชนให้มีความแม่นยำมากขึ้น

    • เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม

  • วิธีการนำ Smart Factory มาใช้ในธุรกิจ SME

    • การเริ่มต้นใช้งาน IoT และ AI

    • การฝึกอบรมพนักงานให้พร้อมรับเทคโนโลยีใหม่

    • การเลือกซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มที่เหมาะสม

  • Case Study: “โรงหล่อ ก.เจริญ” ธุรกิจ SME ที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนเป็น Smart Factory

  • บทสรุปและแนวทางสู่ความสำเร็จ

ภาพของโรงงานที่เต็มไปด้วยหุ่นยนต์ทำงานอัตโนมัติ เซนเซอร์อัจฉริยะที่คอยตรวจวัดค่าต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ และระบบปัญญาประดิษฐ์ที่วิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับผู้ประกอบการ SME แต่ความจริงแล้ว การปรับเปลี่ยนสู่ Smart Factory นั้น ทุกธุรกิจสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องตั้งคำถามก่อนว่า จะเริ่มต้นอย่างไรให้เหมาะสมกับขนาดและทรัพยากรที่มีอยู่

หากคุณเป็นผู้ประกอบการ SME ที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดต้นทุน และพัฒนาคุณภาพสินค้า บทความนี้จะเป็นคู่มือที่ช่วยให้คุณค้นพบโอกาสและความเป็นไปได้ของการปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ Smart Factory ที่เหมาะสมกับบริบทของธุรกิจคุณ แม้แต่ธุรกิจเล็ก ๆ ก็สามารถเป็นโรงงานอัจฉริยะได้ด้วยเทคโนโลยีที่ใช่!

Smart Factory คืออะไร?

Smart Factory คือ โรงงานอัจฉริยะที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่มาบูรณาการเข้ากับกระบวนการผลิตเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน โดย Smart Factory จะใช้ระบบการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต (Internet of Things: IoT) ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Language: AI) เพื่อติดตาม วิเคราะห์ และปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง

องค์ประกอบหลักของ Smart Factory คืออะไรบ้าง?

1. การใช้ IoT (Internet of Things) ในกระบวนการผลิต

Internet of Things หรือ IoT เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ทำให้เกิด Smart Factory ด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องจักรต่าง ๆ ในโรงงานเข้ากับระบบเครือข่าย เพื่อเก็บข้อมูลการทำงานแบบเรียลไทม์

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ IoT ในโรงงาน SME ไทย เช่น

  • การควบคุมคุณภาพ ใช้กล้องอัจฉริยะและเซนเซอร์ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต ทำให้สามารถตรวจจับความผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว และลดของเสียที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการผลิต 

  • การติดตามวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง โดยใช้เทคโนโลยี RFID หรือ QR Code เพื่อติดตามวัตถุดิบตั้งแต่เข้าคลังจนถึงการผลิตเสร็จสิ้น ช่วยลดการสูญหายและเพิ่มความแม่นยำในการบริหารสินค้าคงคลัง 

  • การตรวจสอบสภาพเครื่องจักร โดยติดตั้งเซนเซอร์วัดอุณหภูมิ การสั่นสะเทือน หรือระดับเสียงของเครื่องจักร ทำให้สามารถตรวจจับความผิดปกติก่อนที่จะเกิดความเสียหาย 

2. Big Data และ Cloud Computing

การผลิตในยุค Smart Factory จะสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) จากเซนเซอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยเทคโนโลยี Cloud Computing ที่ช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงทรัพยากรการประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงโดยไม่ต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีราคาแพง

ประโยชน์ของ Big Data และ Cloud Computing สำหรับ SME ในการพัฒนา Smart Factory ได้แก่

  • การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ Cloud Computing จะทำให้เจ้าของธุรกิจได้เห็นถึงข้อดีและจุดที่ควรปรับปรุงของตนเอง เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  • การวางแผนการผลิตที่แม่นยำ ด้วยการใช้ข้อมูลการขาย ข้อมูลจากซัปพลายเออร์ และข้อมูลการผลิตในการวางแผนการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการผลิตมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

  • การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์คุณภาพและระบบตรวจสอบในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาคุณภาพและหาทางแก้ไขให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้น

3. ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation & Robot)

ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยลดการพึ่งพาแรงงานและเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการผลิต สำหรับ SME ไทย การเริ่มต้นใช้ระบบอัตโนมัติไม่จำเป็นต้องลงทุนในระบบอัตโนมัติขนาดใหญ่ทั้งหมด แต่สามารถเริ่มจากการปรับปรุงขั้นตอนที่มีความสำคัญหรือเป็นคอขวดในกระบวนการผลิตก่อนได้ 

ตัวอย่างระบบอัตโนมัติที่ SME สามารถนำมาใช้ได้ เช่น

  • Collaborative Robots (Cobots) หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย มีราคาไม่สูงมากและติดตั้งใช้งานได้ง่าย 

  • ระบบขนส่งอัตโนมัติ (Automated Guided Vehicles: AGVs) ช่วยในการขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ภายในโรงงาน ลดความผิดพลาดและการเสียเวลาในการขนส่ง

  • ระบบบรรจุภัณฑ์อัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความเร็วและความแม่นยำในขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโดยใช้แรงงานเท่าเดิม

4. AI และ Machine Learning

อีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญที่ช่วยให้ Smart Factory สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเซนเซอร์ IoT และนำไปใช้ในการตัดสินใจ รวมถึงปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตตามความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว

การประยุกต์ใช้ AI ใน Smart Factory ของ SME มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น

  • การคาดการณ์ความต้องการตลาด AI สามารถวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการสินค้าจากข้อมูลการขายในอดีต ทำให้วางแผนการผลิตได้แม่นยำมากขึ้น 

  • การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) AI วิเคราะห์ข้อมูลจากเซนเซอร์เพื่อคาดการณ์เวลาที่เครื่องจักรอาจเกิดความเสียหาย ทำให้สามารถวางแผนซ่อมบำรุงก่อนที่เครื่องจะเสียจริง

  • การปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ AI สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถปรับพารามิเตอร์ในการผลิตให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น 

5. Cybersecurity และความปลอดภัยในโรงงานอัจฉริยะ

แน่นอนว่าเมื่อโรงงานมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับระบบเครือข่าย ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) ก็ย่อมเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น SME จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและข้อมูลสำคัญของบริษัท

มาตรการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่ SME ควรนำมาใช้ เช่น

  • การป้องกันพื้นฐาน เริ่มจากการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส การอัปเดตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด รวมถึงการตั้งค่ารหัสผ่านที่รัดกุม 

  • การแบ่งแยกเครือข่าย (Network Segmentation) แยกระบบการผลิตออกจากเครือข่ายสำนักงานและอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยจำกัดความเสียหายหากมีการโจมตีเกิดขึ้น

  • การฝึกอบรมพนักงาน สร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์แก่พนักงาน เนื่องจากในบางครั้ง ความเสี่ยงหลายอย่างก็เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของบุคลากร 

  • การสำรองข้อมูล จัดทำระบบสำรองข้อมูลสำคัญอย่างสม่ำเสมอ และทดสอบการกู้คืนข้อมูล เพื่อให้สามารถฟื้นฟูระบบได้รวดเร็วหากเกิดปัญหา

ข้อดีของ Smart Factory สำหรับ SME

ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ

งานวิจัยเรื่อง "Predictive Maintenance and Intelligent Sensors in Smart Factory" ยืนยันว่า Smart Factory ที่ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์อัจฉริยะและระบบวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้พลังงาน และลดของเสียจากกระบวนการผลิต ซึ่งช่วยลดต้นทุนของธุรกิจขนาดเล็กและกลาง (SME) ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ลดความผิดพลาดของมนุษย์ในการทำงาน

การใช้เทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robots) และระบบ AI สามารถช่วยลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นในสายการผลิต ไม่ว่าจะเป็นความผิดพลาดในการประกอบผลิตภัณฑ์หรือข้อผิดพลาดด้านการจัดการข้อมูล เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความแม่นยำและทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสม่ำเสมอมากขึ้น

ปรับปรุงกระบวนการซัปพลายเชนให้มีความแม่นยำมากขึ้น

เนื่องจาก Smart Factory คือโรงงานที่เชื่อมโยงข้อมูลจากทุกส่วนของซัปพลายเชน ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า ทำให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มความต้องการของตลาดได้อย่างแม่นยำ ลดปัญหาความล่าช้าในการผลิต และช่วยให้ธุรกิจ SME สามารถบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เพิ่มความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรม

หากธุรกิจ SME ปรับเปลี่ยนสู่การเป็น Smart Factory ก็จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวให้รวดเร็วขึ้น ลดเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ SME สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

วิธีการนำ Smart Factory มาใช้ในธุรกิจ SME

การเริ่มต้นใช้งาน IoT และ AI

การติดตั้งเซนเซอร์ IoT ในเครื่องจักรช่วยให้สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานได้แบบเรียลไทม์ ลดปัญหาการหยุดชะงักในการผลิต ขณะที่ AI สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อช่วยตัดสินใจด้านการผลิต เช่น การคาดการณ์อัตราการใช้วัตถุดิบ หรือการวิเคราะห์แนวโน้มความต้องการของลูกค้าได้

การฝึกอบรมพนักงานให้พร้อมรับเทคโนโลยีใหม่

แม้ว่าระบบอัตโนมัติจะช่วยลดภาระงานของมนุษย์ แต่พนักงานก็ยังคงมีบทบาทในกระบวนการผลิต การฝึกอบรมพนักงานให้สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การใช้งานระบบ IoT หรือซอฟต์แวร์สำหรับการบริหารจัดการโรงงาน

การเลือกซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มที่เหมาะสม

ธุรกิจ SME ควรเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่สามารถรองรับความต้องการเฉพาะของตนเอง เช่น ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) สำหรับการจัดการซัปพลายเชน หรือระบบ MES (Manufacturing Execution System) สำหรับการควบคุมกระบวนการผลิต ทั้งนี้ ควรเลือกโซลูชันที่เหมาะสมและสามารถขยายขนาดได้ในอนาคตเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ

Case Study: “โรงหล่อ ก.เจริญ” ธุรกิจ SME ที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนเป็น Smart Factory

โรงหล่อ ก.เจริญ เป็นแบบอย่างความสำเร็จของ SME ไทยในอุตสาหกรรมเหล็กหล่อ ที่สามารถปรับตัวสู่การเป็น Smart Factory ได้อย่างโดดเด่น โดยบริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2515 จากโรงหล่ออะลูมิเนียมขนาดเล็ก สู่การเป็นผู้นำตลาดที่มีประวัติยาวนานกว่า 50 ปี

ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของบริษัท คือ การนำแนวคิด Lean Manufacturing และ Automation มาประยุกต์ใช้ จากเดิมที่กระบวนการผลิตต้องพึ่งพาทักษะช่างฝีมือซึ่งอาจเกิดความคลาดเคลื่อน มาสู่การใช้ระบบอัตโนมัติในการผสมทรายและขึ้นรูปแม่พิมพ์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำและลดการสูญเสียวัตถุดิบได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาด 1 เมกะวัตต์ และการหลอมโลหะในช่วง Off-Peak เพื่อลดต้นทุน รวมถึงการพัฒนา R&D ที่มุ่งเน้นการออกแบบแพตเทิร์นให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า แต่ที่น่าสนใจ คือ การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและองค์ความรู้ดั้งเดิม โดยนำ Know-How จากช่างฝีมือที่สั่งสมมาหลายสิบปีมาพัฒนาเป็น Work Standard และระบบ Data-Driven Manufacturing ทำให้สามารถถ่ายทอดความเชี่ยวชาญไปยังระบบอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน โรงหล่อ ก.เจริญ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการรักษาจุดแข็งด้านคุณภาพ เพื่อรับมือกับการแข่งขันในตลาดโลกและก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืน

บทสรุปและแนวทางสู่ความสำเร็จ

การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตสู่ Smart Factory คือก้าวสำคัญที่จะช่วยให้ SME ไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคปัจจุบันได้ จากกรณีศึกษาและข้อมูลที่นำเสนอในบทความนี้ จะเห็นได้ว่า Smart Factory ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเงินทุนมหาศาลเท่านั้น เพราะ SME ก็สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมตามขนาดและความต้องการของธุรกิจเช่นกัน 

สำหรับ SME ที่ต้องการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนสู่ Smart Factory ก่อนอื่น ต้องเริ่มจากการประเมินความพร้อมและความต้องการของธุรกิจตนเอง วิเคระห์ธุรกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้สิ่งที่ต้องการปรับเปลี่ยนระบบ จากนั้นจึงเลือกระดับเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่สุด ที่สำคัญ ต้องไม่ลืมเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร ด้วยการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องวางแผนการ Implement ร่วมกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็น Smart Factory อันเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ

อยากเริ่มต้นวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนสู่ Smart Factory สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้าน SME ของเราได้เลยวันนี้ที่ธนาคารกรุงเทพทุกสาขา/สำนักธุรกิจ แล้วก้าวสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนในโลกธุรกิจยุคใหม่ไปด้วยกัน

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มกำไร ลดต้นทุน ด้วยเทคโนโลยี AI. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2568 จาก https://www.dia.co.th/articles/improve-production-efficiency/

  2. การวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2568 จาก https://www.sas.com/th_th/insights/analytics/big-data-analytics.html

  3. Predictive Maintenance and Intelligent Sensors in Smart Factory: Review. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2568 จาก https://www.mdpi.com/1424-8220/21/4/1470


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่ SME ต้องรู้ เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมที่ SME ต้องรู้ เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน

Environmental KPIs คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ เผยแนวทางการเริ่มต้นใช้งาน และตัวอย่างตัวชี้วัดที่เหมาะสำหรับธุรกิจแต่ละประเภท เพื่อสร้างความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมContent…
pin
2 | 22/04/2025
AI-Powered SMEs: กลยุทธ์การใช้ AI ให้ธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด

AI-Powered SMEs: กลยุทธ์การใช้ AI ให้ธุรกิจโตแบบก้าวกระโดด

AI จิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ช่วยพลิกโฉมธุรกิจ SME ไทย ให้ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่การเติบโตแบบก้าวกระโดดในโลกที่หมุนเร็ว เทรนด์ใหม่ ๆ อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความท้าทาย…
pin
1 | 21/04/2025
โอกาสเติบโตของธุรกิจ Health & Wellness เมื่อคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพและความงามมากขึ้น

โอกาสเติบโตของธุรกิจ Health & Wellness เมื่อคนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพและความงามมากขึ้น

ธุรกิจ Health & Wellness กำลังเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน หลังจากผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 คนทั่วโลกเริ่มหันมาให้ความสนใจ…
pin
2 | 20/04/2025
รู้จัก Smart Factory วิธีปรับกระบวนการผลิตด้วยนวัตกรรมสุดล้ำ